พระเจ้ามุนมู
พระเจ้ามุนมู (เกาหลี: 문무왕, ค. 661 – 681[1]) เป็นกษัตริย์องค์ที่ 30 แห่งอาณาจักรชิลลา พระองค์มักจะถูกมองว่าเป็นกษัตริย์องค์แรกในยุคอาณาจักรรวมชิลลา พระเจ้ามุนมูเป็นพระราชโอรสของพระเจ้ามูยอล กษัตริย์องค์ที่ 29 และพระราชินีมุนมย็อง ซึ่งเป็นน้องสาวของจอมพลคิม ยูชิน ในรัชสมัยของพระราชบิดา พระองค์ดำรงตำแหน่งเป็นปาจินชัน ซึ่งรับผิดชอบกิจการทางทะเล และมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาความสัมพันธ์ทางการทูตของราชอาณาจักรกับราชวงศ์ถังของจีน พระองค์มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายบ็อพมิน และใช้พระนามว่า มุนมู เมื่อพระองค์สืบราชสันตติวงศ์ต่อจากพระราชบิดา หลังจากที่พระองค์สวรรคตแล้ว พระองค์ก็ได้รับพระสมัญญาว่าราชามังกร[2]
พระเจ้ามุนมู | |||||
---|---|---|---|---|---|
พระราชาแห่งชิลลา องค์ที่ 30 | |||||
ครองราชย์ | ค.ศ. 661 - 21 กรกฎาคม ค.ศ. 681 | ||||
ราชาภิเษก | ค.ศ. 661 | ||||
ราชาภิเษก | ค.ศ. 661 | ||||
ก่อนหน้า | มูยอล | ||||
ถัดไป | ซินมุน | ||||
ประสูติ | ค.ศ. 626 องค์ชายคิมบ๊อพมิน | ||||
สวรรคต | 21 กรกฎาคม ค.ศ. 681 | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ชิลลา | ||||
พระราชบิดา | พระเจ้ามูยอลแห่งซิลลา | ||||
พระราชมารดา | พระมเหสีมุนมยอง | ||||
ช่วงเวลา | |||||
เหตุการณ์สำคัญ |
|
พระเจ้ามุนมู | |
ชื่อเกิด | |
---|---|
ฮันกึล | 김법민 |
ฮันจา | 金法敏 |
อาร์อาร์ | Kim Beopmin |
เอ็มอาร์ | Kim vǒbmin |
พระเจ้ามุนมู | |
---|---|
ฮันกึล | 김법민 |
ฮันจา | 金法敏 |
อักษรโรมันฉบับปรับปรุง | Munmu Wang |
รวมสามอาณาจักร
แก้พระเจ้ามุนมูขึ้นครองราชบัลลังก์ท่ามกลางความขัดแย้งอันยาวนานกับอาณาจักรแพ็กเจและอาณาจักรโคกูรยอ ไม่นานหลังจากที่นายพลคเยแบ็กและอาณาจักรแพ็กเจพ่ายแพ้ที่ซาบีกับนายพลคิม ยูชิน ซึ่งเป็นพระปิตุลา (ลุง) ฝ่ายพระราชมารดาของพระองค์ในปี ค.ศ. 660 ในการต่อสู้ ชิลลาได้รับความช่วยเหลืออย่างมากจากราชวงศ์ถัง
พระองค์พยายามเอาชนะอาณาจักรโคกูรยอมาครั้งหนึ่งแต่ล้มเหลวในปี ค.ศ. 661 ในที่สุดในปี ค.ศ. 667 พระองค์ก็สั่งโจมตีอีกครั้งซึ่งนำไปสู่การพ่ายแพ้และการล่มสลายของอาณาจักรโคกูรยอในปี ค.ศ. 668 หลังจากที่กลุ่มต่อต้านกลุ่มเล็ก ๆ ถูกกำจัดออกไป พระเจ้ามุนมูกลายเป็นกษัตริย์องค์แรกที่ได้เห็นคาบสมุทรเกาหลีรวมกันอย่างสมบูรณ์
อ้างอิง
แก้- ↑ Il-yeon: Samguk Yusa: Legends and History of the Three Kingdoms of Ancient Korea, translated by Tae-Hung Ha and Grafton K. Mintz. Book Two, page 79. Silk Pagoda (2006). ISBN 1-59654-348-5
- ↑ Keith Pratt and Richard Rutt. Korea: A Historical and Cultural Dictionary. Routledge. P.298.