พระครูสุวรรณปัญญารัต (เซ้ง, สกล ปญฺญาพโล)

พระครูสุวรรณปัญญารัต (เซ้ง, สกล ปญฺญาพโล) หรือนิยมเรียกว่า “หลวงพ่อเซ้ง วัดเกาะ” เป็นพระเถราจารย์จังหวัดสุพรรณบุรี อดีตรองเจ้าคณะอำเภอศรีประจันต์ อดีตเจ้าคณะตำบลบางงาม และอดีตเจ้าอาวาสวัดเกาะ ตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

พระครูสุวรรณปัญญารัต (เซ้ง, สกล ปญฺญาพโล)

(สกล พระมนตรี) (หลวงพ่อเซ้ง วัดเกาะ)
พระครูสุวรรณปัญญารัต (เซ้ง, สกล ปญฺญาพโล)
ส่วนบุคคล
เกิด2 เมษายน พ.ศ. 2480 (69 ปี)
มรณภาพ25 ธันวาคม พ.ศ. 2549
นิกายมหานิกาย
การศึกษา- พระธรรมวินัย
- พระธรรมเทศนา
- พระปริยัติธรรม (นักธรรมชั้นโท)
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดเกาะ ตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
บรรพชา11 พฤษภาคม พ.ศ. 2494
อุปสมบท7 มีนาคม พ.ศ. 2500
พรรษา50 พรรษา
ตำแหน่ง-อดีตรองเจ้าคณะอำเภอศรีประจันต์
-อดีตเจ้าคณะตำบลบางงาม
-อดีตเจ้าอาวาสวัดเกาะ

ชาติภูมิ

แก้

ชื่อ เซ้ง ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น สกล นามสกุล พระมนตรี ชาตะ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2480 (วันพฤหัสบดี แรม 6 ค่ำ เดือน 5 ปีฉลู) ณ บ้านดอนกระแต ตำบลบางงาม (ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลวังหว้า) อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

เป็นบุตรคนที่ 6 ในจำนวน 8 คน ของนายมาลี นางอบ นามสกุล พระมนตรี ครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกร[1]

บรรพชา

แก้

บรรพชาเป็นสามเณร วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 (วันพุธ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 8 ปีเถาะ) โดยมี พระครูเจริญ ปภาโส (ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูสุวรรณวิสุทธิ์) เจ้าอาวาสวัดธัญญวารี ตำบลไร่รถ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอดอนเจดีย์) จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์

บรรพชาแล้วศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรม อยู่ที่วัดเกาะ ตำบลบางงาม (ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลวังหว้า) อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

ต่อมาพระอธิการปุย ปุญฺญสิริ (เจ้าอาวาสวัดเกาะ) จึงพาไปฝากให้ศึกษาต่อที่วัดคูหาสวรรค์ (ศาลาสี่หน้า) ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี (ปัจจุบันอยู่ในแขวงคูหาสวรรค์ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร)[2] ศึกษาพระปริยัติธรรมยังสำนักเรียนวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ซึ่งอยู่ไม่ไกลกัน

อุปสมบท

แก้

วันที่ 7 มีนาคม พ.ศ.2500 อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดคูหาสวรรค์ (ศาลาสี่หน้า) ตำบลคูหาสวรรค์ อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี โดยมี

พระเมตตาวิหารีเถร (ปัด ธมฺมสโร) เจ้าคณะตำบลคูหาสวรรค์ เจ้าอาวาสวัดคูหาสวรรค์ อำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์

พระสุธรรมมุนี (ฟุ้ง ปุณฺณโก) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร (ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระธรรมเสนานี) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

พระอธิการปุย ปุญฺญสิริ เจ้าอาวาสวัดเกาะ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี (ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูวรนาถรังษี) เป็นพระอนุสาวนาจารย์

ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาว่า "ปญฺญาพโล" (อ่านว่า ปัน-ยา-พะ-โล)

อุปสมบทแล้วจำพรรษาอยู่วัดคูหาสวรรค์เป็นระยะเวลาหลายพรรษา ภายหลังพระเมตตาวิหารีเถร (ปัด ธมฺมสโร) มรณภาพ จึงย้ายไปอยู่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ ตามที่พระเมตตาวิหารีเถร (ปัด ธมฺมสโร) ฝากไว้กับสมเด็จพระวันรัต (ปุ่น ปุณฺณสิริ) จวบจนถึงปี พ.ศ. 2518[3] จึงกลับมาอยู่วัดเกาะ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่ออุปัฏฐากพระครูวรนาถรังษี (ปุย ปุญฺญสิริ) ผู้เป็นพระอาจารย์

วิทยฐานะ

แก้

งานปกครอง

แก้
  • พ.ศ. 2521 เป็นรองเจ้าอาวาสวัดเกาะ
  • พ.ศ. 2523 เป็นเจ้าอาวาสวัดเกาะ
  • พ.ศ. 2523 เป็นเจ้าคณะตำบลบางงาม
  • พ.ศ. 2534 เป็นรองเจ้าคณะอำเภอศรีประจันต์

สมณศักดิ์

แก้
  • พ.ศ. 2506 เป็นพระใบฎีกา ฐานานุกรมใน พระเมตตาวิหารีเถร (ปัด ธมฺมสโร) ที่ พระใบฎีกาสกล ปญฺญาพโล
  • พ.ศ. 2507 เป็นพระสมุห์ ฐานานุกรมใน พระเมตตาวิหารีเถร (ปัด ธมฺมสโร) ที่ พระสมุห์สกล ปญฺญาพโล
  • พ.ศ. 2526 เป็นพระครูใบฎีกา ฐานานุกรมใน พระเทพวุฒาจารย์ (เปลื้อง คงฺคสุวณฺโณ) ที่ พระครูใบฎีกาสกล ปญฺญาพโล
  • พ.ศ. 2529 เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบล ชั้นตรี ในราชทินนามที่ พระครูสุวรรณปัญญารัต[4]
  • พ.ศ. 2534 เป็นพระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะอำเภอ ชั้นโท ในราชทินนามเดิม
  • พ.ศ. 2541 เป็นพระครูสัญญาบัตร รองเจ้าคณะอำเภอ ชั้นเอก ในราชทินนามเดิม

อาพาธ - มรณภาพ

แก้

บั้นปลายชีวิต พระครูสุวรรณปัญญารัตมีสุขภาพไม่ดี มีอาการเจ็บป่วยเกี่ยวกับลำไส้ ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจันทรุเบกษา อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม กระทั่งวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2549 เวลา 02.14 น. ถึงแก่มรณภาพ ด้วยอาการอันสงบ สิริอายุ 69 ปี 50 พรรษา[2]

สิ่งเกี่ยวเนื่อง - อนุสรณ์

แก้
  • รูปเหมือนหลวงพ่อเซ้ง สร้างภายหลังพระครูสุวรรณปัญญารัต (เซ้ง, สกล ปญฺญาพโล) มรณภาพแล้ว ปัจจุบันประดิษฐานบนศาลาการเปรียญวรนาถรังษี วัดเกาะ
  • วันคล้ายวันมรณภาพ พระครูสุวรรณปัญญารัต (เซ้ง , สกล ปญฺญาพโล) มีพิธีบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปทาน และถวายภัตตาหารเพล วันที่ 25 ธันวาคม ของทุกปี[2] ที่วัดเกาะ

อ้างอิง

แก้
  1. พระครูภาวนาวิจิตร (สำรวย จารุวณฺโณ). (2557). ปญฺญาพลานุสรณ์ พระราชทานเพลิงศพ พระครูสุวรรณปัญญารัต (สกล ปญฺญาพโล). ม.ป.ท. : ม.ป.พ.
  2. 2.0 2.1 2.2 พีระศักดิ์ สุนทรวิภาต. (2563). ที่ระลึก 125 ปีชาตกาล 40 ปีมรณภาพ พระครูวรนาถรังษี (ปุย ปุญฺญสิริ). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: กุศลบุญการพิมพ์.
  3. พระปลัดสกล ปญฺญาพโล. (2523). ประวัติพระครูวรนาถรังษี (ปุย ปุญฺญสิริ). กรุงเทพฯ: อาทรการพิมพ์.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ , เล่ม 103, ตอน 20 ง, 7 กุมภาพันธ์ 2529, หน้า 26

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
ก่อนหน้า พระครูสุวรรณปัญญารัต (เซ้ง, สกล ปญฺญาพโล) ถัดไป
พระครูวรนาถรังษี (ปุย ปุญฺญสิริ)    
เจ้าอาวาสวัดเกาะ
(พ.ศ. 2523 — พ.ศ. 2549)
  พระครูปริยัติกิตติวงศ์ (ปกิตต์ ฐิตวํโส)
พระครูวรนาถรังษี (ปุย ปุญฺญสิริ)    
เจ้าคณะตำบลบางงาม
(พ.ศ. 2523 – พ.ศ. 2534)
  พระครูสุกิจวิบูล (สุทัศน์ โอปายิโก)
พระครูอาภัสศีลคุณ (ทวี อาภสฺสโร)    
รองเจ้าคณะอำเภอศรีประจันต์
(พ.ศ. 2534 – พ.ศ. 2549)
  พระครูโสภณสิทธิการ (วสันต์ อนุปตฺโต)