ฝอยทอง (โปรตุเกส: fios de ovos, ฟียุชดึโอวุช, "เส้นด้ายที่ทำจากไข่")[1] เป็นขนมโปรตุเกส ลักษณะเป็นเส้นฝอยสีทอง ทำจากไข่แดงของไข่เป็ด เคี่ยวในน้ำเดือดและน้ำตาลทราย ชาวโปรตุเกสใช้รับประทานกับขนมปัง กับอาหารมื้อหลักจำพวกเนื้อสัตว์ และใช้รับประทานกับขนมเค้ก[2] โดยมีกำเนิดจากเมืองอาไวรู (Aveiro) เมืองชายฝั่งทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศโปรตุเกส

ฝอยทอง
ฝอยทองในประเทศไทย
ประเภทของหวาน
แหล่งกำเนิดโปรตุเกส
ส่วนผสมหลักไข่ (ส่วนใหญ่ใช้ ไข่แดง), น้ำเชื่อม

ฝอยทองเป็นที่รู้จักในประเทศสเปนว่า อูเอโบอิลาโด (สเปน: huevo hilado "ไข่ที่ปั่นเป็นเส้นด้าย"), ในประเทศญี่ปุ่นว่า เครังโซเม็ง (ญี่ปุ่น: 鶏卵素麺 "เส้นไข่ไก่")[3], ในประเทศกัมพูชาว่า วาวี[4] ในประเทศมาเลเซียว่า จาลามัซ (มลายู: jala mas "ตาข่ายทอง")[5] และในมาลาบาร์เหนือ รัฐเกรละ ประเทศอินเดียว่า มุตตามาลา (มลยาฬัม: മുട്ടമാല "ฝอยไข่")

ประวัติ

แก้
 
ฝอยทองในเมืองฟุกุโอะกะ ประเทศญี่ปุ่น
 
ฝอยทอง ที่ซื้อจากร้านขายขนมในประเทศบราซิล

ประเทศไทย

แก้

ฝอยทองแพร่เข้ามาในประเทศไทย พร้อมกับทองหยิบและทองหยอด ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยมารีอา กียูมาร์ ดึ ปีญา (ท้าวทองกีบม้า, พ.ศ. 2202-2265) ลูกครึ่งโปรตุเกส-ญี่ปุ่น ภรรยาของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ท้าวทองกีบม้ามีหน้าที่เป็นหัวหน้าห้องเครื่องต้น เป็นผู้ทำอาหารเลี้ยงต้อนรับคณะราชทูตจากฝรั่งเศสที่มาเยือนกรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น

ทั้งนี้ฝอยทอง ปรากฏอยู่ใน กาพย์เห่ชมเครื่องคาว-หวาน บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่พระราชนิพนธ์ชมเชยฝีพระหัตถ์ในการแต่งเครื่องเสวยของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ความว่า[6]

ฝอยทอง เป็นยองใย เหมือนเส้นไหมไข่ของหวาน
คิดความยามเยาวมาลย์ เย็บชุนใช้ไหมทองจีนฯ

นอกจากนี้ในตำรับอาหารของหม่อมราชวงศ์เตื้อง สนิทวงศ์ ยังระบุถึงการทำขนมฝอยเงิน โดยมีกรรมวิธีเช่นเดียวกับการทำฝอยทองทุกประการ หากแต่ใข้ไข่ขาวแทนไข่แดง ทำให้มีลักษณะเป็นฝอยรูปรังนกขนาดพอคำ แล้วนำขนมไข่แมงดา (ทองหยอดขนาดเล็ก) ใส่ไว้กลางฝอยเงินรูปรังนก ได้เป็นอาหารหวานอีกชนิด เรียกว่า "ไข่ในรัง"[7]

ประเทศญี่ปุ่น

แก้

เครังโซเม็งเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นในยุคอาซูจิ–โมโมยามะ (ญี่ปุ่น: 安土桃山時代) ช่วงปี ค.ศ. 1568 – ค.ศ. 1600 (พ.ศ. 2111-2143) ที่จังหวัดนางาซากิ โดยพ่อค้าชาวโปรตุเกส[ต้องการอ้างอิง] หลังจากนั้นจึงแพร่หลายไปยังจังหวัดฟูกูโอกะ และเริ่มทำเพื่อจำหน่ายตามร้านขนมต่าง ๆ ในยุคเมจิ (ญี่ปุ่น: 明治時代โรมาจิMeiji-jidaiทับศัพท์: เมจิจิได) เมื่อ 342 ปีก่อน ร้านมัตสึยาริเอมงที่จังหวัดฟูกูโอกะได้ทำเครังโซเม็งขึ้นซึ่งเป็นขนมหวานที่เป็นเอกลักษณ์ประจำของร้าน โดยปัจจุบันนั้นได้ดำเนินงานโดยรุ่นที่ 13[ต้องการอ้างอิง]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ปั่นจักรยานอยุธยา..เสียค่าโง่ที่งานวัด". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-14. สืบค้นเมื่อ 2007-06-14.
  2. วรรณกับหมูปั่นข้ามฝัน... 2,000 วันรอบโลก, เล่ม 3 : ยุโรปโรแมนติก. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง, 2552. 296 หน้า. ISBN 978-974-614-720-2 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum , ตอน ตามหาฝอยทองที่โปรตุเกส
  3. Kyoto Foodie, Wagashi: Angel Hair Keiran Somen (Fios de Ovos). Accessed on July 7, 2009.
  4. Longteine De Monteiro (1998). The Elephant Walk Cookbook: Cambodian Cuisine from the Nationally Acclaimed Restaurant. Houghton Mifflin.
  5. It's sweet by any name, [1]. Accessed on May 05, 2014
  6. "ขนมไทย". สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. เตื้อง สนิทวงศ์, หม่อมราชวงศ์. ตำรับอาหาร. พระนคร : โรงพิมพ์วิจิตรศิลป, 2511, หน้า 151

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้