ปีเอโตร กาวัลลีนี

เปียโตร คาวาลลินิ (อังกฤษ: Pietro Cavallini) (ราว ค.ศ. 1250 - ราว ค.ศ. 1330) เป็นจิตรกรศิลปะกอธิคของยุคกลางของคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ 14 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมและออกแบบงานโมเสก ประวัติชีวิตของคาวาลลินิไม่เป็นที่ทราบกันเท่าใดนัก แต่ที่ทราบคือทำงานอยู่ที่กรุงโรม

ปีเอโตร กาวัลลีนี

งานชิ้นแรกที่สำคัญของคาวาลลินิคืองานโมเสกชุดสำหรับมหาวิหารเซนต์พอลนอกกำแพงในกรุงโรมที่เป็นเรื่องราวจาก with stories from the พันธสัญญาเดิม และ พันธสัญญาใหม่ที่สร้างระหว่าง ค.ศ. 1277 ถึง ค.ศ. 1285 แต่มาถูกทำลายไปในเพลิงไหม้ในปี ค.ศ. 1823

งาน “การตัดสินครั้งสุดท้าย” สำหรับวัดซานตาซิซิเลียอินทราสเทเวเรในกรุงโรมที่เขียนราวปี ค.ศ. 1293 ถือกันว่าเป็นงานชิ้นเอกของคาวาลลินิที่แสดงให้เห็นถึงลักษณการเขียนที่เรียกว่า “ธรรมชาตินิยมแบบโรมัน” (Roman naturalism) ความเป็นธรรมชาติที่เห็นในภาพมีอิทธิพลต่อศิลปินที่ทำงานในเมืองอื่นๆ ในอิตาลีเช่นฟลอเรนซ์และเซียนา

ในตระกูลการเขียนภาพแบบเซียนาอิทธิพลจากลักษณะการเขียนของศิลปะโรมันรวมกับลักษณะการเขียนแบบศิลปะไบแซนไทน์ดั้งเดิมของเซียนาและอิทธิพลจากศิลปะกอธิคจากทางตอนเหนือก็ทำให้งานที่ออกมามีลักษณะเป็นธรรมชาติและเป็นต้นตอของศิลปะตระกูลที่เรียกว่าศิลปะกอธิคนานาชาติ

ในฟลอเรนซ์อิทธิพลของลักษณะการเขียนของศิลปะโรมันที่มาผสานกับลักษณะการเขียนแบบศิลปะไบแซนไทน์ดั้งเดิมของฟลอเรนซ์ทำให้เกิดศิลปะที่มีลักษณะที่มีความใหญ่โต เป็นธรรมชาติ และมีความสง่างาม ซึ่งเป็นลักษณะที่แตกต่างเป็นอย่างมากจากการเขียนภาพแบบกอธิคที่ราบและเต็มไปด้วยการตกแต่งแบบวิจิตรของศิลปะกอธิคนานาชาติและศิลปะไบแซนไทน์

ความเป็นธรรมชาตินี้เห็นได้ชัดในงานภายในมหาวิหารเซนต์ฟรานซิสแห่งอาซิซิ ที่สร้างขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 เพื่อเป็นเกียรติแก่ฟรานซิสแห่งอาซิซิผู้ที่เพิ่งได้รับการสถาปนาให้เป็นนักบุญ ภาพที่ตกแต่งภายในมหาวิหารเป็นภาพที่เขียนแบบการเขียนของโรมัน ผู้ที่เขียนภาพส่วนใหญ่ก็สามารถบอกได้ว่าเป็นผู้ใดและอย่างน้อยก็มีจิตรกรผู้หนึ่งที่มาจากโรม ลักษณะการเขียนภาพของจิตรกรที่ว่านี้คล้ายกับลักษณะการเขียนของจอตโต ดี บอนโดเนผู้ได้ชื่อว่าเป็นผู้เขียนภาพนี้แต่เดิม แต่ความเห็นใหม่ของนักวิชาการส่วนใหญ่ในปัจจุบันไม่เชื่อว่าเป็นงานของจอตโต

งานของจอตโตในชาเปลสโครวินยีที่ปาดัวแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลเป็นอันมากของการเขียนแบบธรรมชาติแบบประดิษฐ์ของโรมันซึ่งเป็นลักษณะการเขียนเฉพาะตัวที่มามีอิทธิพลต่อการเขียนภาพของจิตรกรชาวฟลอเรนซ์ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาต่อมา

ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1308 คาวาลลินิก็ไปทำงานที่เนเปิลส์ในราชสำนักของ สมเด็จพระเจ้าชาร์ลที่ 2 แห่งอองชู ส่วนใหญ่ที่วัดซานโดเมนนิโคมายอเร (ค.ศ. 1308) และวัดซานตามาเรีย ดอนนาเรจินา (ค.ศ. 1317) พร้อมกับจิตรกรโรมันฟิลิปโป รูซูติ คาวาลลินิกลับมากรุงโรมก่อนปี ค.ศ. 1325 และเริ่มงานตกแต่งภายนอกมหาวิหารเซนต์พอลนอกกำแพง ในปี ค.ศ. 1321 ด้วยงานโมเซอิกแบบไบแซนไทน์

ลูกศิษย์ของคาวาลลินิก็รวมทั้งจิโอวานนิ ดิ บาร์โทโลมเมโอ (Giovanni di Bartolommeo)

ผลงาน

แก้
  • “จาเอลและทิสเซอรัน” สีน้ำ
  • “ฉากชีวิตพระแม่มารี” (ค.ศ. 1291) โมเสอิก บาซิลิกาซานตามาเรียทราสเทเวเร เป็นงานที่ได้รับการสรรเสริญว่าเป็นงานที่แสดงลักษณะที่เหมือนจริงและมีทัศนมิติ งานเขียนในวัดนี้ก็รวมทั้ง
    • “การประสูติของพระแม่มารี”
    • “การประกาศของเทพ”
    • “การประสูติของพระเยซู”
    • “การชื่นชมของแมไจ”
    • “การนำพระเยซูเข้าวัด”
    • “การนำพระเยซูเข้าวัด”
    • “การสิ้นพระชนของพระแม่มารี”
  • “การตัดสินครั้งสุดท้าย” (ค.ศ. 1295-1300) ส่วนหนึ่งของจิตรกรรมฝาผนังในวัดซานตาซิซิเลียอินทราสเทเวเรในกรุงโรม

งานจิตรกรรมฝาผนังบนมุขตะวันออกของวัดซานจอร์โจอัลเวลาโบรในกรุงโรมเชื่อกันว่าเป็นงานเขียนของคาวาลลินิเนื่องจากมีลักษณะการเขียนที่คล้ายคลึงกับงานเขียนของคาวาลลินิที่ทราสเทเวเร

งานโมเสกบนมุขตะวันออกของวัดซานคริโซโจโนในดิสตริคท์ทราสเทเวเรเป็นภาพพระแม่มารีกับนักบุญเซบาสเตียนและนักบุญคริโซโจโนก็เชื่อกันว่าเป็นงานของคาวาลลินิ

อ้างอิง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เปียโตร คาวาลลินิ