ปัญญาจารย์ 2 (อังกฤษ: Ecclesiastes 2) เป็นบทที่ 2 ของหนังสือปัญญาจารย์ในคัมภีร์ฮีบรูหรือพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์[1][2] หนังสือปัญญาจารย์ประกอบด้วยคำพูดเชิงปรัชญาของตัวละครที่เรียกว่าปัญญาจารย์ (โคเฮเลท; "ผู้สอน"; "ผู้พูดต่อหน้าที่ชุมนุมชน") อาจประพันธ์ขึ้นในช่วงศตวรรษ 5 ถึง 2 ก่อนคริสตกาล[3] เพชิตตา, ทาร์กุม และทัลมุด ตลอดจนผู้อ่านชาวยิวและคริสต์ศาสนิกชนส่วนใหญ่ถือว่าผู้เขียนหนังสือปัญญาจารย์คือกษัตริย์ซาโลมอน[4]

ปัญญาจารย์ 2
หนังสือปัญญาจารย์ในภาษาฮีบรู ภาษาแอราเมอิก และภาษาอาหรับจากประเทศเยเมน, ราวปี ค.ศ. 1480. หอสมุดอังกฤษ ms. Or 2375.
หนังสือหนังสือปัญญาจารย์
ภาคในคัมภีร์ฮีบรูเคทูวีม
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์21

บทที่ 2 ของหนังสือปัญญาจารย์มีเนื่อความต่อเนื่องจากบันทึกในวรรค 12-18 ของบทที่ 1 โดยเพิ่มข้อสังเกตเกี่ยวกับความพยายามของมนุษย์ในชีวิตซึ่งเกี่ยวข้องกับคำถามในปัญญาจารย์ 1 1:3 ที่ว่า มนุษย์ได้ประโยชน์อะไรจากการตรากตรำทุกอย่างของเขา ซึ่งเขาตรากตรำภายใต้ดวงอาทิตย์นั้น และความทุกข์กับความสุขของชีวิตในแง่ของประทานจากพระเจ้า[5]

ต้นฉบับ

แก้

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู บทแบ่งออกเป็น 26 วรรค

พยานต้นฉบับ

แก้

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[6][a] ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี ได้แก่ 4QQohb (4Q110; 30 ปีก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 30; วรรคที่หลงเหลือ 8–15)[8][9][10]

ยังมีฉบับแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) บางสำเนาต้นฉบับที่หลงเหลือในเซปทัวจินต์ ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B;  B; ศตวรรษที่ 4) ฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus; S; BHK:  S; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A;  A; ศตวรรษที่ 5)[11] ต้นฉบับภาษากรีกอาจมาจากผลงานของ Aquila of Sinope และผู้ติดตาม[3]

ความอนิจจังเนื่องจากการตามใจตนเอง (วรรค 1–11)

แก้

วรรค 2

แก้
ข้าพเจ้าพูดถึงการหัวเราะว่า "บ้าๆ บอๆ" และกล่าวถึงความสนุกสนานว่า "มีประโยชน์อะไร?"[12]

มีเนื้อความที่คล้ายกับในสุภาษิต 14:13 ที่ว่า แม้ในขณะหัวเราะ ใจก็อาจเศร้าหมอง และความยินดีก็อาจมีปลายทางเป็นความโศกสลด[13]

วรรค 11

แก้
แล้วข้าพเจ้าหันมาดูทุกสิ่งที่มือข้าพเจ้าทำ และผลของการตรากตรำที่ข้าพเจ้าทำลงไปด้วยความเหน็ดเหนื่อย และดูเถิด ทุกอย่างก็อนิจจังคือ กินลมกินแล้ง และไม่มีประโยชน์อะไรภายใต้ดวงอาทิตย์[14]

ความสรุปสะท้อนถึงคำกล่าวในปัญญาจารย์ 2:1 -2[15]

  • "กินลมกินแล้ง" : หรือ 'เหมือนวิ่งไล่ตามลม'[5][16]

ชะตากรรมที่แน่นอนของทุกสิ่ง (วรรค 12–23)

แก้

พระเจ้าผู้มีพระทัยกว้าง (วรรค 24–26)

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. หนังสือปัญญาจารย์ทั้งเล่มหายไปจากฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex) ตั้งแต่การจลาจลต่อต้านชาวยิวในอะเลปโปในปี ค.ศ. 1947[7]

อ้างอิง

แก้
  1. Halley 1965, p. 275.
  2. Holman Illustrated Bible Handbook. Holman Bible Publishers, Nashville, Tennessee. 2012.
  3. 3.0 3.1 Weeks 2007, p. 423.
  4.   Jastrow, Morris; Margoliouth, David Samuel (1901–1906). "Ecclesiastes, Book of". ใน Singer, Isidore; และคณะ (บ.ก.). The Jewish Encyclopedia. New York: Funk & Wagnalls.
  5. 5.0 5.1 Weeks 2007, p. 424.
  6. Würthwein 1995, pp. 35–37.
  7. P. W. Skehan (2003), "BIBLE (TEXTS)", New Catholic Encyclopedia, vol. 2 (2nd ed.), Gale, pp. 355–362
  8. Ulrich, Eugene, บ.ก. (2010). The Biblical Qumran Scrolls: Transcriptions and Textual Variants. Brill. pp. 746. ISBN 9789004181830. สืบค้นเมื่อ May 15, 2017.
  9. Dead sea scrolls - Ecclesiastes. Quote: 4QQohb 1:1-14
  10. Fitzmyer, Joseph A. (2008). A Guide to the Dead Sea Scrolls and Related Literature. Grand Rapids, MI: William B. Eerdmans Publishing Company. p. 43. ISBN 9780802862419. สืบค้นเมื่อ February 15, 2019. Quote: 4QQohb 1:10-15.
  11. Würthwein 1995, pp. 73–74.
  12. ปัญญาจารย์ 2:2 THSV11
  13. สุภาษิต 14:13 THSV11; เชิงอรรถาของปัญญาจารย์ 2:2 ในคัมภีร์ไบเบิลเยรูซาเล็ม (ค.ศ. 1966)
  14. ปัญญาจารย์ 2:11 THSV11
  15. Eaton 1994, p. 611.
  16. ปัญญาจารย์ 2:11 TH1940 และ TNCV

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้