ปัญญาจารย์ 3 (อังกฤษ: Ecclesiastes 3) เป็นบทที่ 3 ของหนังสือปัญญาจารย์ในคัมภีร์ฮีบรูหรือพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์[1][2] หนังสือปัญญาจารย์ประกอบด้วยคำพูดเชิงปรัชญาของตัวละครที่เรียกว่าปัญญาจารย์ (โคเฮเลท; "ผู้สอน"; "ผู้พูดต่อหน้าที่ชุมนุมชน") อาจประพันธ์ขึ้นในช่วงศตวรรษ 5 ถึง 2 ก่อนคริสตกาล[3] เพชิตตา, ทาร์กุม และทัลมุด ตลอดจนผู้อ่านชาวยิวและคริสต์ศาสนิกชนส่วนใหญ่ถือว่าผู้เขียนหนังสือปัญญาจารย์คือกษัตริย์ซาโลมอน[4]

ปัญญาจารย์ 3
ปัญญาจารย์ 2:10-26 ในหน้าขวา และปัญญาจารย์ 3:1-14 ในหน้าซ้ายของคัมภีร์ไบเบิลในภาษาฮีบรู (อ่านจากขวาไปซ้าย)
หนังสือหนังสือปัญญาจารย์
ภาคในคัมภีร์ฮีบรูเคทูวีม
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์21

ต้นฉบับ

แก้

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู บทแบ่งออกเป็น 22 วรรค

พยานต้นฉบับ

แก้

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[5][a] ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี ได้แก่ 4QQohb (4Q110; 30 ปีก่อนคริสตกาล – ค.ศ. 30; วรรคที่หลงเหลือ 8–15)[7][8][9]

ยังมีฉบับแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) บางสำเนาต้นฉบับที่หลงเหลือในเซปทัวจินต์ ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B;  B; ศตวรรษที่ 4) ฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus; S; BHK:  S; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A;  A; ศตวรรษที่ 5)[10] ต้นฉบับภาษากรีกอาจมาจากผลงานของ Aquila of Sinope และผู้ติดตาม[3]

โครงสร้าง

แก้

พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน (THSV11) แบ่งบทนี้ออกเป็น 3 ส่วน:

มีวาระสำหรับทุกสิ่ง (3:1–8)

แก้

ส่วนนี้กล่าวถึง 'มุมมองของพระอำนาจของพระเจ้าซึ่งให้ทั้งความปลอบประโลมแต่ก็ให้สติ' ให้ผู้อ่าน เพราะพระเจ้าทรงเป็นผู้ควบคุม แต่ก็ยังคงลึกลับ[11] บทบรรณาการของนิวซิตีอ้างถึงความเหล่านี้ว่าเป็น "กวีนิพนธ์ที่เก่าแก่ที่สุดและเป็นที่รู้จักมากที่สุดบทหนึ่งของโลก"[12]

ววรค 1

แก้
มีฤดูกาลสำหรับทุกสิ่ง
และมีวาระสำหรับเรื่องราวทุกอย่างภายใต้ฟ้าสวรรค์[13]

'ในชีวิตมีความหมาย' เพราะพระเจ้าทรงควบคุมดูแลฤดูกาลอยู่เสมอ (เปรียบเทียบกับสดุดี 31:15 : วันเวลาของข้าพระองค์อยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์)[11]

  • "ฤดูกาล" (ฮีบรู: זְמָ֑ן, zə-mān[14]): กล่าวถึง "เวลาที่ถูกกำหนด"[14]
  • "วาระ" (Hebrew: עת, ‘êṯ[14]): มีความหมายว่า 'โอกาส',[11] 'ช่วงเวลา/ฤดูกาล' หรือ 'พฤติการณ์แวดล้อม'[14]
  • "เรื่องราว": จากคำภาษาฮีบรู חֵפֶץ, chephets[14] อาจแปลเป็น "ความปีติยินดี" (เปรียบเทียบกับสดุดี 1:2 [14]

วรรค 2–8

แก้

วรรค 2-8 ให้รายการของวาระของกิจกรรมใหญ่ ๆ ตามแผนของพระเจ้า[15] อยู่ในรูปแบบกวีนิพนธ์ซึ่งในแต่ละวรรคมีคำภาษาฮีบรู 2 คำที่มีความหมายขัดแย้งกับคำภาษาฮีบรูอีก 2 คำ[16] ตัวอย่างเกี่ยวข้องกับร่างกาย จิตใจ และวิญญาณ[15] กวีนิพนธ์นี้ให้ภาพที่ชัดแจ้งให้กับข้อความในวรรค 1 "ว่าทุกการกระทำหรือทุกเหตุการณ์จะมาถึงเพื่อผ่านไป" โดยมีคำอธิบายในวรรค 11 ว่าพระเจ้าทรงทำให้สรรพสิ่ง "งดงามตามวาระของมัน"[17] บริบทของกวีนิพนธ์คือการขาดอิสรภาพในชีวิตมนุษย์ ซึ่งถูกควบคุมโดยข้อจำกัดภายนอกทางธรรมชาติ ตลอดจนการที่ไม่มีการควบคุมว่าเกิดหรือตายเมื่อใด ควบคู่ไปกับความไร้ความสามารถของมนุษย์ในการเข้าใจเรื่องลึกซึ่งในชีวิต ในขณะที่ก็เข้าใจว่าเป็น 'การยืนยันถือความงดงามของชีวิตที่พระเจ้าประทานให้กับเผ่าพันธุ์มนุษย์'[16]

2a עת ללדת [et la·ledet] วาระให้กำเนิด ו [we] (= "และ") עת למות [et la·mut] วาระตาย
2b עת לטעת [et la·ṭa·‘aṯ] วาระเพาะปลูก ו [we] (= "และ") עת לעקור נטוע [et la·‘ă·qōr nā·ṭū·a‘] วาระถอนสิ่งที่ปลูกทิ้ง
3a עת להרוג [et la·hă·rōḡ] วาระฆ่า ו [we] (= "และ") עת לרפוא [et lir·pō·w] วาระรักษาให้หาย
3b עת לפרוץ [et lip·rōtz] วาระรื้อทลายลง ו [we] (= "และ") עת לבנות [et liḇ·nōṯ] วาระก่อสร้างขึ้น
4a עת לבכות [et liḇ·kōṯ] วาระร้องไห้ ו [we] (= "และ") עת לשחוק [et liś·ḥōq] วาระหัวเราะ
4b עת ספוד [et sə·pōḏ] วาระไว้ทุกข์ ו [we] (= "และ") עת רקוד [et rə·qōḏ]] วาระเต้นรำ
5a עת להשליך אבנים [et lə·hashə·lîḵ ’ă·ḇā·nîm] วาระโยนหินทิ้ง ו [we] (= "และ") עת כנוס אבנים [et kə·nōs ’ă·ḇā·nîm] วาระเก็บรวบรวมหิน
5b עת לחבוק [et la·ḥă·ḇōq] วาระสวมกอด ו [we] (= "และ") עת לרחק מחבק [et lir·ḥōq mê·ḥa·bêq] วาระงดเว้นการสวมกอด
6a עת לבקש [et lə·ḇa·qêš] วาระแสวงหา ו [we] (= "และ") עת לאבד [et lə·’a·bêḏ] วาระทำหาย
6b עת לשמור [et liš·mōr] วาระเก็บรักษาไว้ ו [we] (= "และ") עת להשליך [et lə·hashə·lîḵ] วาระโยนทิ้งไป
7a עת לקרוע [et liq·rō·w·a‘] วาระฉีกขาด ו [we] (= "และ") עת לתפור [et liṯ·pōr] วาระเย็บ
7b עת לחשות [et la·ḥă·shōṯ] วาระนิ่งเงียบ ו [we] (= "และ") עת לדבר [et lə·ḏa·bêr] วาระพูด
8a עת לאהב [et le·’ĕ·hōḇ] วาระรัก ו [we] (= "และ") עת לשנא [et liś·nō] วาระเกลียด
8b עת מלחמה [et mil·khā·māh] วาระสงคราม ו [we] (= "และ") עת שלום [et shā·lōm] วาระสันติ

ภารกิจที่พระเจ้าประทานให้มนุษย์ง (วรรค 9-15)

แก้

วรรค 11

แก้
พระองค์ทรงกระทำให้สรรพสิ่งงดงามตามวาระของมัน
พระองค์ทรงบรรจุนิรันดร์กาลไว้ในจิตใจมนุษย์ด้วย
แต่มนุษย์ยังค้นไม่พบว่า พระเจ้าทรงกระทำอะไรไว้ตั้งแต่ปฐมกาลจนกาลสุดท้าย[18]

การพิพากษาและอนาคตขึ้นอยู่กับพระเจ้า (วรรค 16-22)

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. หนังสือปัญญาจารย์ทั้งเล่มหายไปจากฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex) ตั้งแต่การจลาจลต่อต้านชาวยิวในอะเลปโปในปี ค.ศ. 1947[6]

อ้างอิง

แก้
  1. Halley 1965, p. 275.
  2. Holman Illustrated Bible Handbook. Holman Bible Publishers, Nashville, Tennessee. 2012.
  3. 3.0 3.1 Weeks 2007, p. 423.
  4.   Jastrow, Morris; Margoliouth, David Samuel (1901–1906). "Ecclesiastes, Book of". ใน Singer, Isidore; และคณะ (บ.ก.). The Jewish Encyclopedia. New York: Funk & Wagnalls.
  5. Würthwein 1995, pp. 35–37.
  6. P. W. Skehan (2003), "BIBLE (TEXTS)", New Catholic Encyclopedia, vol. 2 (2nd ed.), Gale, pp. 355–362
  7. Ulrich, Eugene, บ.ก. (2010). The Biblical Qumran Scrolls: Transcriptions and Textual Variants. Brill. pp. 746. ISBN 9789004181830. สืบค้นเมื่อ May 15, 2017.
  8. Dead sea scrolls - Ecclesiastes. Quote: 4QQohb 1:1-14
  9. Fitzmyer, Joseph A. (2008). A Guide to the Dead Sea Scrolls and Related Literature. Grand Rapids, MI: William B. Eerdmans Publishing Company. p. 43. ISBN 9780802862419. สืบค้นเมื่อ February 15, 2019. Quote: 4QQohb 1:10-15.
  10. Würthwein 1995, pp. 73–74.
  11. 11.0 11.1 11.2 Eaton 1994, p. 612.
  12. Editor's Letter: November 2018. Brian Hieggelke. NewCity, October 25, 2018.
  13. ปัญญาจารย์ 3:1 THSV11
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 14.5 Hebrew Text Analysis: Ecclesiastes 3:12. Biblehub.com
  15. 15.0 15.1 Stedman, Ray C. (1999) Is This All There Is to Life? Answer from Ecclesiastes. Grand Rapids, Michigan: Discovery House Publishers. First published as "Solomon's Secret". Portland, Oregon: Multnomah Press. 1985.
  16. 16.0 16.1 Chilton et al 2008 pp. 292–293
  17. Weeks 2007, p. 424.
  18. ปัญญาจารย์ 3:11 THSV11

บรรณานุกรม

แก้

อ่านเพิ่มเติม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้