ปัจจัยกระทบ (อังกฤษ: impact factor) ปกติใช้คำย่อว่า IF หมายถึงการวัดการได้รับการอ้างอิงของวารสารวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อใช้เป็นตัวแทนที่บ่งชี้ความสำคัญและความน่าเชื่อถือของวารสารในสาขาวิชาการนั้นๆ

ภาพรวมโดยสังเขป แก้

ปัจจัยกระทบคิดค้นขึ้นโดยยูยีน การ์ฟิลด์ ผู้ก่อตั้ง สถาบันสารสนเทศวิทยาศาสตร์ (Institute for Scientific Information หรือ ISI) ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ บริษัททอมสันวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะทำการคำนวณหาปัจจัยผลกระทบการอ้างอิงของวารสารวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ที่บริษัททอมสันเป็นผู้จัดทำดัชนีประจำทุกปี โดยจะตีพิมพ์ปัจจัยและตัวชี้วัดใน "รายงานการอ้างอิงเอกสารวิชาการ" (Journal Citation Reports) ค่าที่เกี่ยวข้องบางตัวก็จะถูกคำนวณและตีพิมพ์โดยทอมสันเช่นกันใน:

  • ดัชนีข้างเคียง (immediacy index) : ตัวเลขเฉลี่ยการอ้างอิงของบทความวิชาการในปีนั้นๆ
  • วาระครึ่งชีวิตของวารสารที่ได้รับการอ้างอิง: ได้แก่อายุช่วงกึ่งกลางของบทความที่ถูกอ้างอิงใน รายงานการอ้างอิงวารสารวิชาการ ในแต่ละปี ตัวอย่างเช่น ถ้าวารสารมีวาระครึ่งชีวิตในปี พ.ศ. 2548 เท่ากับ 5 หมายความว่า การถูกอ้างอิงจากปี พ.ศ. 2544-2548 เท่ากับ 50% ของการถูกอ้างอิงทั้งหมดของวารสารนั้นในปี พ.ศ. 2548
  • ปัจจัยกระทบแบบกลุ่มรวมสำหรับประเภทวิชา: คำนวณโดยการนำเอาตัวเลขการถูกอ้างอิงทั้งหมดของวารสารตามประเภทวิชามานับร่วมกับจำนวนของบทความจากวารสารทุกฉบับในประเภทวิชานั้นๆ

การคำนวณ แก้

การคำนวณปัจจัยกระทบสำหรับวารสารวิชาการใช้ฐาน 3 ปี และสามารถพิจารณาให้เป็นตัวเลขเฉลี่ยจำนวนครั้งเป็นเวลาได้ถึง 2 รอบปีหลังจากที่บทความได้รับการตีพิมพ์ (รวมทั้งปีปฏิทินที่บทความนั้นได้รับการตีพิมพ์) ตัวอย่างเช่น ปัจจัยกระทบของปี พ.ศ. 2546 ของวารสารฉบับหนึ่งสามารถคำนวณได้ดังนี้

A = จำนวนครั้งที่วารสารที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2544-45 ได้ถูกอ้างอิงในวารสารวิชาการอื่นที่อยู่ในดัชนีระหว่างปี พ.ศ. 2546

B = จำนวนของ "รายการที่สามารถอ้างอิงได้" (ปกติได้แก่บทความ ปริทัศน์ รายงานการประชุมวิชาการ (proceedings) หรือบันทึกทางวิชาการ ไม่ใช่บทบรรณาธิการหรือจดหมายถึงบรรณาธิการ) ที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2443-44

ปัจจัยกระทบ ปี พ.ศ. 2546 = A/B (โปรดสังเกตว่าปี พ.ศ. 2546 ปัจจัยกระทบได้รับการตีพิมพ์จริงๆ ในปี พ.ศ. 2547 เนื่องการคำนวณไม่สามารถทำได้จนกว่าจะได้รับบทความที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. แล้วทั้งหมด)

วิธีง่ายๆ สำหรับคิดในเรื่องนี้ก็คือ วารสารวิชาการที่ถูกอ้างอิง 1 ครั้ง โดยเฉลี่ยสำหรับแต่ละบทความที่ตีพิมพ์แล้วจะมีค่า IF หรือปัจจัยกระทบเท่ากับ 1 ในสูตรข้างต้น

มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยในเรื่องนี้คือ: ISI แยกเอาบทความบางประเภท (เช่นประเภทข่าว การโต้ตอบและการแก้คำผิด) ออกจากตัวส่วน (ตัวหาร) วารสารใหม่ๆ ที่ถูกจัดเข้าดัชนีตั้งแต่ฉบับแรกที่ออก จะได้รับปัจจัยกระทบหลังจากเมื่อการเข้าระบบดัชนีครบเวลา 2 ปี ในกรณีเช่นนี้ การถูกอ้างอิงก่อนเล่มที่ 1 และจำนวนบทความที่ลงพิมพ์ในปีก่อนเล่มที่ 1 ถือว่ามีค่าเป็นศูนย์ วารสารที่เข้าระบบดัชนีโดยเริ่มที่เล่มที่นอกเหนือจากเล่มแรกจะไม่ได้รับการเผยแพร่ปัจจัยกระทบจนกว่าข้อมูลสมบูรณ์ทั้ง 3 ปีจะเป็นที่รับรู้ก่อน วารสารรายปีและวารสารรายผิดปกติอื่นๆ ซึ่งบางครั้งไม่มีบทความที่นับได้จะไม่มีผลต่อการนับ ปัจจัยกระทบสำหรับบางช่วงเวลาเฉพาะที่บางครั้งมีสาระตรงกับบางสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ เช่น ชีววิทยาโมเลกุล แต่ก็ไม่เข้าข่ายสำหรับวิชานั้นที่มีวาระการออกวารสารช้า เช่น สาขานิเวศวิทยา และสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ส่วนใหญ่ มีความเป็นไปได้ที่จะคำนวณปัจจัยกระทบสำหรับช่วงเวลาที่ต้องการบางช่วงและใช้เว็บไซต์แนะวิธีการ รายงานการอ้างอิงวารสาร (Journal Citation Reports) จะมีตารางบอกความสัมพันธ์ของลำดับปัจจัยกระทบของวารสารในแต่ละสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ เช่น อินทรียเคมี หรือ จิตเวชศาสตร์

ข้อโต้เถียง แก้

บางครั้งก็มีประโยชน์ที่ทำการเปรียบเทียบวารสารวิชาการและกลุ่มงานวิจัยที่ต่างประเภทกัน ตัวอย่างเช่น ผู้อุปถัมภ์งานวิจัยอาจประสงค์ที่จะเปรียบเทียบผลเพื่อประเมินผลิตภาพของโครงการวิจัย ในกรณีเช่นนี้ มาตรการเชิงวัตถุวิสัยในความสำคัญของวารสารที่ต่างประเภทกันย่อมมีความจำเป็น และปัจจัยกระทบ (หรือจำนวนการตีพิมพ์) ย่อมเป็นแหล่งเผยแพร่เพียงแหล่งเดียว อย่างไรก็ดี เราพึงต้องจดจำให้ดีว่าสาขาวิชาการที่แตกต่างกันย่อมมีความเป็นไปได้ที่จะมีความแตกต่างกันได้มากในแนวปฏิบัติที่ใช้ในการอ้างอิงและการเผยแพร่ ซึ่งจะมีผลกระทบไม่เพียงจำนวนการถูกอ้างอิงเท่านั้นแต่ยังมีผลต่อความรวดเร็วอีกด้วย บทความส่วนใหญ่ในสาขาวิชาต่างๆ จะอยู่มีช่วงที่ถูกอ้างอิงมากที่สุดหลังการตีพิมพ์ไม่นาน ในเกือบทุกกรณี การพิจารณาจัดลำดับของวารสารให้ตรงตามประเภทของผู้รู้เสมอกัน (peers) ที่ทำการตรวจแก้จะมีความเหมาะสมกว่าการใช้ปัจจัยกระทบที่ยัง "ดิบ" อยู่

การนำไปใช้ในทางที่ผิด แก้

  • ผู้ทบทวนหรือตรวจแก้ทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการประเมินอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะสถาบันที่สอนระดับระดับปริญญาเอกมักนิยมใช้รายชื่อปัจจัยกระทบของ ISI มาใช้ในการตัดสินผลทางวิชาการที่ออกมา ซึ่งวิธีนี้ก่อให้เกิดความลำเอียงที่ทำให้งานวิจัยบางประเภทได้รับการประเมินค่าต่ำกว่าความเป็นจริงโดยอัตโนมัติ และยังเป็นการบิดเบือนบทบาทโดยรวมของคณาจารย์ในภาควิชาที่เป็นผู้ให้การปรึกษาแนะนำมาโดยตลอด
  • ค่าสัมบูรณ์ของปัจจัยกระทบไม่มีความหมายในวิชาจุลชีววิทยา ในขณะที่มีความหมายมากในสาขาวิชาสมุทรศาสตร์ ค่าดังกล่าวบางครั้งถูกนำไปโฆษณาโดยสำนักพิมพ์ด้านวิทยาศาสตร์
  • การเปรียบเทียบปัจจัยกระทบระหว่างสาขาวิชาที่ต่างกันเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ แต่ก็ปรากฏว่ามีการเปรียบเทียบในลักษณะนี้อย่างกว้างขวางอยู่ ไม่เฉพาะวารสารวิชาการ ยังมีการใช้เปรียบเทียบนักวิทยาศาสตร์และสถาบันการศึกษาหรือสถาบันวิจัยอีกด้วย ตัวอย่างเช่น เป็นไปไม่ได้ที่จะกล่าวว่าภาควิชาที่เป็นเจ้าของวารสารวิชาการที่ได้ค่าปัจจัยกระทบ 2 ซึ่งต่ำนั้น ต่ำตามไปด้วย ซึ่งกรณีดังกล่าวนี้ใช้ไม่ได้เลยกับสาขาวิศวกรรมเครื่องกลซึ่งมีวารสารที่ได้ปัจจัยกระทบต่ำเพียง 2 ฉบับที่ได้ค่าต่ำที่ 2
  • นอกสาขาวิทยาศาสตร์ ปัจจัยกระทบมีความเหมาะสมก็เฉพาะสาขาที่มีรูปแบบหรือแนวการตีพิมพ์วารสารคล้ายกัน (เช่น สาขาเศรษฐศาสตร์) ซึ่งการตีพิมพ์งานวิจัยเกือบทั้งหมดอยู่ในรูปของบทความทางวิชาการที่อ้างอิงบทความในวารสารวิชาการอื่น ปัจจัยผลกระทบโดยนัยดังกล่าวจึงใช้ไม่ได้กับสาขาวรรณคดีซึ่งเป็นการตีพิมพ์ในรูปของหนังสือที่อ้างหนังสือด้วยกัน ดังนั้น ISI จึงไม่ตีพิมพ์และเผยแพร่ปัจจัยกระทบในสาขามนุษยศาสตร์

การพลิกแพลงและบิดเบือน แก้

วารสารวิชาการบางวารสารอาจยอมรับและใช้นโยบายบรรณาธิการของวารสารวิชาการที่ค่าของปัจจัยกระทบกำลังเพิ่มสูงขึ้น นโยบายบรรณาธิการของวารสารฉบับดังกล่าวอาจไม่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงคุณภาพของงานวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์นั้นเลยก็เป็นได้ บางครั้งวารสารอาจตีพิมพ์บทความวิชาการในจำนวนร้อยละที่มากขึ้นก็ได้ ทั้งๆ ที่บทความวิจัยไม่ได้ถูกอ้างอิงมามากกว่า 3 ปี บทความที่ได้ผ่านการทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันเกือบทั้งหมดได้ถูกอ้างอิงอย่างน้อย 1 ครั้งภายในเวลา 3 ปีที่ได้รับการตีพิมพ์ ดังนั้นบทความต่างๆ ที่ผ่านการทบทวนก็จะทำให้ค่าปัจจัยกระทบของวารสารสูงขึ้น เว็บไซต์ของทอมสันไซแอนติฟิก ได้ให้แนวทางสำหรับใช้ถอนวารสารดังกล่าวออกจากสายการจำหน่าย นักวิชาการประเภทที่กล่าวนี้ได้ชัดเจน[1]

การอ้างอิงตนเอง แก้

มีหลายวิธี โดยไม่นับวิธีจงใจอย่างเลวร้ายที่มีอยู่ ที่บทความวิชาการอ้างอิงวารสารฉบับเดียวกันเพื่อจงใจทำให้ค่าของปัจจัยกระทบเพิ่มขึ้น

บทบรรณาธิการไม่ถือเป็นบทความในวารสาร แต่เมื่ออ้างอิงถึง ซึ่งมักเป็นบทความในวารสารเดียวกัน จำนวนครั้งของการอ้างอิงก็จะเพิ่มจำนวนการถูกอ้างของบทความนั้นๆ และปรากฏการณ์ลักษณะนี้ยากต่อการประเมินเนื่องจากข้อแตกต่างระหว่างการวิพากษ์วิจารณ์ในบทบรรณาธิการกับบทความสั้นดั้งเดิมมีน้อยมาก "จดหมายถึงบรรณาธิการ" อาจเป็นได้ทั้งสองประเภท

บรรณาธิการวารสารอาจแนะนำให้ผู้เขียนบทความอ้างบทความในวารสารเดียวกันกับที่ตนเป็นผู้เขียน ระดับของการปฏิบัติในลักณะนี้มีผลต่อการคำนวณค่าของปัจจัยกระทบรวมทั้งที่ปรากฏในรายงานการอ้างอิงในวารสารซึ่งก็ควรได้รับการตรวจสอบด้วย การอภิปรายเกี่ยวกับผลกระทบของการอ้างอิงตนเองสามารถดูได้จากเว็บไซต์ของ ISI ซึ่งจะบอกวิธีการแก้ไขไว้ให้ด้วยถ้าต้องการ อย่างไรก็ดี การอ้างอิงบทความในวารสารเดียวกันดังกล่าวกลับมีมากในวารสารที่เป็นสาขาวิชาพิเศษที่เฉพาะมากๆ ไม่ถือว่าเสียหายมากนัก แต่ถ้าเป็นการตั้งใจทำ ผลก็จะปรากฏให้เห็นได้ชัดเจนเอง เมื่อ 1) วารสารวิชาการฉบับนั้นเป็นวารสารที่มีปัจัยกระทบค่อนข้างต่ำ และ 2) วารสารนั้นตีพิมพ์บทความเพียงไม่กี่เรื่องต่อปี

ความเบ้ (skewness) แก้

บทบรรณาธิการของวารสารเนเจอร์แถลงไว้ว่า

"...ตัวอย่างเช่น เราได้วิเคราะห์การอ้างอิงของบทความต่างๆ แต่ละเรื่องใน เนจอร์ พบว่า 89% ของตัวเลขเมื่อปีที่แล้วเกิดจากการอ้างอิงของบทความของเราเพียง 25% บทความที่ถูกอ้างอิงใน เนเจอร์ จากปี พ.ศ. 2445-46 ส่วนใหญ่เกี่ยวกับเรื่องจีโนมของหนูซึ่งตีพิมพ์ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2545 บทความดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงการถึงจุดสุดยอดของการทุ่มเททำงานวิจัยอันยิ่งใหญ่ แต่กลับเป็นประเด็นสำคัญของการประชุมทางวิชาการมากกว่าที่จะเป็นการแสดงออกถึงการเข้าถึงอย่างลึกซึ้งที่ไม่ธรรมดา ถึงขณะนี้ บทความเรื่องนี้ได้ถูกอ้างอิงมากกว่า 1,000 ครั้ง ภายในช่วงปีแจงนับของ พ.ศ. 2545 ปีเดียว บทความนี้ได้รับการนำไปอ้างอิงมากถึง 522 รายการ บทความของเราที่ถูกอ้างอิงจากปี พ.ศ. 2545-46 ที่มากเป็นลำดับถัดมา (บทความเกี่ยวกับได้แก่การจัดองค์หน้าที่ของโปรโนมยีสต์) ได้รับการอ้างอิง 351 รายการในปีนั้น มีอ้างอิงเพียง 50 จาก 1,800 รายการที่ตีพิมพ์ในช่วง 2 ปีดังกล่าว ที่ได้รับการอ้างอิงในปี พ.ศ. 2547 บทความเกือบทั้งหมดของเราได้รับการอ้างอิงน้อยกว่า 20 รายการ..."

แถลงการณ์ข้างต้นเป็นการเน้นให้เห็นว่า ปัจจัยกระทบหมายอ้างอิงถึงจำนวนการถูกอ้างอิงโดยเฉลี่ยของแต่ละบทความ และนี่ไม่ใช่การกระจายแบบเกาส์เซียน แต่เป็นการกระจายแบบแบรดฟอร์ด บทความทางวิชาการเกือบทั้งหมดที่ตีพิมพ์ในวารสารที่มีปัจจัยกระทบสูงกลับได้รับการอ้างอิงน้อยกว่าที่ปัจจัยกระทบอาจส่อให้เห็น และบางบทความก็ไม่ได้ถูกนำไปอ้างอิงเลย ดังนั้น จึงไม่ควรถูกนำปัจจัยกระทบของวารสารที่เป็นแหล่งไปใช้แทนการวัดปัจจัยกระทบของตัวบทความในวารสาร

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอเนียร์ได้ประมาณว่าเมื่อนักวิทยาศาสตร์เขียนงานของตนและอ้างอิงบทความวิชาการของผู้อื่น มีเพียง 20% เท่านั้นที่อ่านบทความนั้นจริงๆ

การใช้ในการจ้างงานทางวิทยาศาสตร์ แก้

แม้การสร้างปัจจัยกระทบเดิมนั้นจะทำขึ้นเพื่อใช้วัดความมีชื่อเสียงของวารสารวิชาการเชิงวัตถุวิสัย แต่ในปัจจุบันได้นำมาประยุกต์กับการวัดผลิตภาพของนักวิทยาศาสตร์ที่มาสมัครงานกันมากขึ้นเป็นลำดับ วิธีที่กำลังใช้อยู่ในขณะนี้ก็คือการใช้ตรวจสอบปัจจัยกระทบของวารสารที่ตีพิมพ์บทความของนักวิทยาศาสตร์ผู้สมัครงาน วิธีนี้เป็นที่นิยมของผู้บริหารวิชาการ เพราะโดยทั่วไปแล้วผู้บริหารมักไม่รู้จักสาขาวิชาที่ผู้สมัครลึกซึ้งพอ และไม่รู้ว่าวารสารที่ตีพิมพ์บทความของผู้สมัครงานดีจริงหรือไม่ ปัจจัยกระทบจึงสามารถช่วยการพิจารณาตัดสินใจจ้างได้

มาตรการอื่นที่ใช้ในการวัด แก้

ขั้นตอนวิธีการเพจแรงก์ แก้

เมื่อปี พ.ศ. 2519 กาเบรียล ปินสกี และ ฟรานซิส นารินแนะให้ใช้ปัจจัยกระทบเวียนกลับ (recursive impact factor) สำหรับบทความวิชาการที่มีปัจจัยกระทบที่มีน้ำหนักมาก ปัจจัยกระทบเวียนกลับดังกล่าวคล้ายคลึงกับขั้นตอนวิธีเพจแรงก์ (PageRank algorithm) ที่ใช้กับโปรแกรมค้นหาของกูเกิล แม้บทความดั้งเดิมของปินสกี และ นารินจะใช้การเข้าถึงปัญหาด้วยการใช้ "ดุลการค้า" ที่ว่าวารสารที่มีค่าปัจจัยกระทบสูงสุดก็เพราะถูกอ้างอิงมากที่สุด แต่วารสารนั้นเองกลับอ้างอิงวารสารอื่นน้อยมากหรือเกือบไม่มีเลย ผู้เขียนบทความขยายผลที่ต่อเนื่องจากบทความที่ได้ปัจจัยกระทบสูงสุดดังกล่าวจำนวนหลายคน ได้เสนอให้ใช้วิธีการเข้าสู่การวางอันดับวารสารวิชาการให้มีความสัมพันธ์กันด้วย เมื่อ พ.ศ. 2549 โยฮาน โบลเลน มาร์โก เอ. โรดิเกสและเฮอร์เบิร์ต แวน เดอ โซมเพลในแนะให้ใช้ขั้นตอนวิธีเพจแรงก์เช่นกัน บทความของกลุ่มนี้เป็นดังตารางข้างล่างนี้:

ปัจจัยกระทบ ISI เพจแรงก์ รวม
1 52.28 ANNU REV IMMUNOL 16.78 เนเจอร์ (Nature) 51.97 เนเจอร์
2 37.65 ANNU REV BIOCHEM 16.39 วารสารสาขาชีวเคมี 48.78 ไซแอนซ์
3 36.83 PHYSIOL REV 16.38 ไซแอนซ์ (Science) 19.84 วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์
4 35.04 NAT REV MOL CELL BIO 14.49 Proceedings of the National Academy of Sciences 15.34 เซลล์ (Cell)
5 34.83 วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ 8.41 Physical Review Letters 14.88 Proceedings of the National Academy of Sciences
6 30.98 เนเจอร์ 5.76 เซลล์ 10.62 วารสารสาขาชีวเคมี
7 30.55 เนเจอร์เมดิซีน (Nature Medicine) 5.70 วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ 8.49 Journal of the American Medical Association
8 29.78 ไซแอนซ์ 4.67 วารสารสมาคมเคมีอเมริกัน 7.78 The Lancet
9 28.18 NAT IMMUNOL 4.46 J IMMUNOL 7.56 NAT GENET
10 28.17 REV MOD PHYS 4.28 Applied Physics Letters 6.53 เนเจอร์เมดิซีน

ตารางข้างต้นแสดงให้เห็นวารสารวิชาการที่อยู่ใน 10 อันดับที่จัดโดยปัจจัยกระทบ ISI, เพจแรงก์ และโดยระบบที่ปรับรวมแล้ว (ข้อมูล พ.ศ. 2546) เนเจอร์ และ ไซแอนซ์ ซึ่งได้รับการนั้น แต่เมื่อเข้าระบบรวมก็จะออกมาที่อันดับสูงสุดดังที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์อาจเป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นความแตกต่างของลำดับ คือ 5 และ 7 ในระบบ ISI และเพจแรงก์ตามลำดับ ได้ขึ้นเป็นอันดับ 3 เมื่อคำนวณด้วยระบบรวม

ปัจจัยไอเก็น (Eigenfactor) นับเป็นเพจแรงก์อีกประเภทหนึ่งที่ใช้วัดบทบาทและอิทธิพลของวารสารวิชาการ สามารถดูการจัดอันดับโดยปัจจัยไอเก็นดังกล่าวนี้ได้ที่เว็บไซต์ eigenfactor.org[2]

ดัชนีเอช: ผลกระทบของนักวิทยาศาสตร์รายบุคคล แก้

ปัจจัยกระทบเพื่อใช้กับตัวนักวิทยาศาสตร์ได้แก่ ดัชนีเอช (H-index) หรือ "เลขเฮิร์ส" (Hirsch number) ของนักวิทยาศาสตร์และประวัติการถูกอ้างอิง โดยถ้านักวิทยาศาสตร์ตีพิมพ์บทความจำนวน n เรื่องและหลายๆ เรื่องได้รับการอ้างอิงรวมได้ n ครั้ง ดัชนีเอชของนักวิทยาศาสตร์ผู้นั้นจะได้ค่าเท่ากับ n ดัชนีเอชมุ่งไปที่ผลกระทบของตัวนักวิทยาศาสตร์มากกว่าตัววารสาร บทความว่าด้วย ดัชนีเอชได้ปรากฏในวารสารเนเจอร์ฉบับเมื่อเร็วๆ นี้ โปรแกรมออนไลน์ของดัชนีเอชอาจดูได้จาก calculate a scientist's H-index[3]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-11. สืบค้นเมื่อ 2007-09-14.
  2. http://www.eigenfactor.org/
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-01-20. สืบค้นเมื่อ 2007-09-16.
  1. Eugen Garfield (June 1998). "Der Impact Faktor und seine richtige Anwendung". Der Unfallchirurg 101 (6) : 413-414.
  2. P.O. Seglen. Why the impact factor of journals should not be used for evaluating research. (1997) BMJ 314 (7079) :498-502. Entrez PubMed 9056804.
  3. S.A. Marashi. On the identity of “citers”: are papers promptly recognized by other investigators? (2005) Med. Hypotheses 65, 822. Entrez PubMed 15990244.
  4. a b Fassoulaki A, Papilas K, Paraskeva A, Patris K (2002). "Impact factor bias and proposed adjustments for its determination". Acta anaesthesiologica Scandinavica 46 (7) : 902-5. DOI:10.1034/j.1399-6576.2002.460723.x. PMID 12139549.
  5. Richard Monastersky. "The Number That's Devouring Science", The Chronicle of Higher Education, October 14 2005.
  6. (2005) "Not-so-deep impact" (editorial). Nature 435 (7045) : 1003-4. DOI:10.1038/4351003a. PMID 15973362.
  7. M. V. Simkin and V. P. Roychowdhury (2003). "Read before you cite!". Complex Syst. 14: 269.
  8. Gabriel Pinski and Francis Narin (1976). "Citation influence for journal aggregates of scientific publications: Theory with application to literature of physics". Information Processing & Management 12: 297-312.
  9. S. J. Liebowitz and J. P. Palmer. (1984). "Assessing the relative impacts of economics journals". Journal of Economic Literature 22: 77-88.
  10. I. Palacios-Huerta and O. Volij (2004). "The measurement of intellectual influence". Econometrica 72: 963-977.
  11. Y. K. Kodrzycki and P. D. Yu (2006). "New approaches to ranking economics journals". B. E. Journal of Economics Analysis and Policy 5.
  12. Johan Bollen, Marko A. Rodriguez, and Herbert Van de Sompel. (December 2006). "Journal Status". Scientometrics 69 (3).
  13. C. T. Bergstrom. (May 2007). "Eigenfactor: Measuring the value and prestige of scholarly journals". C&RL News 68 (5).

แหล่งข้อมูลอื่น แก้