ปลาปักเป้าท้องตาข่าย

ปลาปักเป้าท้องตาข่าย
สถานะการอนุรักษ์

ไม่มีข้อมูล  (IUCN 3.1)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Tetraodontiformes
วงศ์: Tetraodontidae
สกุล: Pao
สปีชีส์: P.  palembangensis
ชื่อทวินาม
Pao palembangensis
(Bleeker, 1852)
ชื่อพ้อง
  • Tetraodon palembangensis Bleeker, 1852
  • Monotretus palembangensis (Bleeker, 1852)
  • Tetraodon pinguis Vaillant, 1902

ปลาปักเป้าท้องตาข่าย (อังกฤษ: Kingkong puffer, Humpback puffer; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pao palembangensis[1]) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในอันดับปลาปักเป้า ในวงศ์ปลาปักเป้าฟันสี่ซี่ (Tetraodontidae) มีลักษณะเด่น คือ หนังหนา หนามค่อนข้างใหญ่ และมีตาโตมาก สีลำตัวออกไปทางสีน้ำตาลแดง ใต้ท้องสีขาวและมีลวดลายคล้ายตาข่ายและจุดดำปกคลุมไปทั่ว อีกทั้งเวลาพองลมและพองได้กลมใหญ่มากคล้ายลูกบอล

จัดเป็นปลาปักเป้าอีกชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ โดยขนาดใหญ่ที่สุดพบยาวถึง 19.4 เซนติเมตร ในประเทศไทยพบได้เฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ โดยมีรายงานจากทะเลสาบสงขลา เป็นปลาที่พบชุกชุมในบางฤดูกาลบริเวณลำคลองรอบ ๆ ป่าพรุโต๊ะแดง ที่จังหวัดนราธิวาส และพบเรื่อยไปจนถึงมาเลเซียจนถึงอินโดนีเซีย โดยมีการตั้งชื่อสายพันธุ์ตามชื่อเมืองที่ค้นพบครั้งแรก คือ เมืองปาเล็มบัง ในเกาะสุมาตราใต้

ปลาปักเป้าท้องตาข่าย เป็นปลาปักเป้าอีกชนิดหนึ่งที่มีนิสัยไม่ก้าวร้าวดุร้าย อีกทั้งมีสีสันและลวดลายที่สวยงาม จึงเป็นปลาปักเป้าอีกชนิดหนึ่งที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม [2]

อ้างอิง แก้

  1. Kottelat, M. (2013): The Fishes of the Inland Waters of Southeast Asia: A Catalogue and Core Bibliography of the Fishes Known to Occur in Freshwaters, Mangroves and Estuaries. เก็บถาวร 2013-12-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Raffles Bulletin of Zoology, 2013, Supplement No. 27: 1–663.
  2. นิตยสารอควาเรี่ยมบิส Vol.1 issue 4 ฉบับเดือนตุลาคม 2010 คอลัมน์ เปิดกรุ...ปักเป้าน้ำจืด

แหล่งข้อมูลอื่น แก้