ปราสาทฮิเมจิ

(เปลี่ยนทางจาก ปราสาทฮิเมะจิ)

ปราสาทฮิเมจิ (ญี่ปุ่น: 姫路城โรมาจิHimeji-jo; อังกฤษ: Himeji Castle) เป็นปราสาทญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในเมืองฮิเมจิ จังหวัดเฮียวโงะ เป็นสิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งที่เหลือรอดมาจากการทิ้งระเบิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชิง พ.ศ. 2538 ปราสาทฮิเมจิได้รับการยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกและสมบัติประจำชาติญี่ปุ่นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2536 ถือว่าเป็น 1 ใน 3 ปราสาทที่งดงามที่สุดในญี่ปุ่น โดยอีก 2 แห่งคือ ปราสาทมัตสึโมโตะ และปราสาทคูมาโมโตะ และยังเป็นปราสาทที่มีผู้มาเยี่ยมชมมากที่สุดในญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นนิยมเรียกในชื่อว่า "ปราสาทนกกระสาขาว" หรือ ฮากุระโจ[1] ซึ่งมีที่มาจากพื้นผิวปราสาทภายนอกซึ่งมีสีขาวสว่าง ในปัจจุบันปราสาทฮิเมจิได้ขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติประจำชาติญี่ปุ่นและมรดกโลก

ฮิเมจิโจ *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ฮิเมจิโจ
พิกัด34°49′N 134°41′E / 34.817°N 134.683°E / 34.817; 134.683พิกัดภูมิศาสตร์: 34°49′N 134°41′E / 34.817°N 134.683°E / 34.817; 134.683
ประเทศเมืองฮิเมจิ
จังหวัดเฮียวโงะ
 ญี่ปุ่น
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(i) (iv)
อ้างอิง661
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2536 (คณะกรรมการสมัยที่ 17)
พื้นที่107 ha (260 เอเคอร์)
พื้นที่กันชน143 ha (350 เอเคอร์)
ปราสาทฮิเมจิตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
ปราสาทฮิเมจิ
ที่ตั้งของปราสาทฮิเมจิ ในประเทศญี่ปุ่น
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก
ภาพมุมกว้างของลานหน้าปราสาท เห็นทิวทัศน์เมืองฮิเมจิอยู่เบื้องหลัง
ปราสาทฮิเมจิในปลายฤดูใบไม้ผลิ
ปราสาทฮิเมจิ

สถาปัตยกรรม แก้

ปราสาทฮิเมจิเป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์ของปราสาทญี่ปุ่น ด้วยมีลักษณะสถาปัตยกรรมและยุทโธปกรณ์ครบตามแบบของปราสาทญี่ปุ่น ทั้งฐานหินสูง กำแพงสีขาว และอาคารต่างๆในบริเวณปราสาทถือได้ว่าเป็นมาตรฐานตามแบบของปราสาทญี่ปุ่น และรอบๆปราสาทยังมีเครื่องป้องกันอีกมากมาย เช่น ช่องใส่ปืนใหญ่ รูสำหรับโยนหินออกนอกปราสาท

จุดเด่นของปราสาทอย่างหนึ่งคือ ทางเดินสู่อาคารหลักซึ่งสลับซับซ้อนราวกับเขาวงกต ทั้งประตูและกำแพงต่างๆในปราสาทได้รับการออกแบบมาอย่างดีเพื่อป้องกันศัตรูไม่ให้บุกรุกเข้าถึงโดยง่าย โดยทางเดินมีลักษณะเป็นวงก้นหอยรอบๆอาคารหลัก และระหว่างทางก็จะพบทางตันอีกมากมาย ระหว่างที่ศัตรูกำลังหลงทางอยู่นี้ก็จะถูกโจมตีจากข้างบนอาคารหลักได้โดยสะดวก แต่อย่างไรก็ตาม ปราสาทฮิเมจิก็ยังไม่เคยถูกโจมตีในลักษณะนี้เลย ระบบการป้องกันต่างๆจึงยังไม่เคยถูกใช้งาน

ประวัติ แก้

เมื่อปี 1346 อากามัตสึ ซาดาโนริ ได้วางแผนที่จะสร้างปราสาทขึ้นที่เชิงเขาฮิเมจิที่ซึ่งอากามัตสึ โนริมุระ ได้สร้างวัดโชเมียวขึ้น หลังจากอากามัตสึเสียชีวิตในสงครามคากิตสึ ตระกูลยามานะได้เข้าครอบครองปราสาท แต่หลังจากสงครามโอนิน ตระกูลอากามัตสึก็ยึดปราสาทกลับมาได้อีกครั้ง

ปี 1580 โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ ได้เข้ามาเป็นผู้ปกครองปราสาท และมีการสร้างหออาคารหลักสูง 3 ชั้น ดำเนินการโดยคูโรดะ โยชิตากะ

หลังจากสงครามเซกิงาฮาราปี ค.ศ. 1601 โทกูงาวะ อิเอยาซุได้ยกปราสาทฮิเมจิให้แก่อิเกดะ เทรูมาซะ อิเกดะได้ดำเนินการต่อเติมปราสาทเป็นเวลา 8 ปี จนเป็นรูปลักษณ์อย่างที่เห็นในปัจจุบัน ส่วนต่อเติมส่วนสุดท้าย คือ วงเวียนด้านตะวันตก เสร็จสมบูรณ์เมื่อปี 1618

เมื่อสิ้นสุดยุคเอโดะ ปราสาทฮิเมจิเป็นหนึ่งในสมบัติชิ้นสุดท้ายของไดเมียวโทซามะ ขณะนั้นปราสาทถูกปกครองโดยทายาทของซากาอิ ทาดาซูมิ จนกระทั่งเมื่อเข้าสู่ยุคเมจิใน ค.ศ. 1868 รัฐบาลใหม่ของญี่ปุ่นได้ส่งกองกำลังภายใต้การบังคับบัญชาของทายาทของอิเกดะ เทรูมาซะ เข้าบุกปราสาท และขับไล่ผู้ปกครองออกไป

ปราสาทฮิเมจิถูกทิ้งระเบิดใน ค.ศ. 1945 เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง แม้ว่าพื้นที่โดยรอบส่วนใหญ่จะถูกเผาทำลาย แต่ปราสาทยังคงตั้งอยู่ได้โดยแทบไม่เสียหาย

ตำนานเล่าขาน แก้

 
บ่อน้ำที่สิงสถิตย์ของวิญญาณโอกิกุ

ปราสาทฮิเมจิ ยังเป็นสถานที่ ๆ เป็นที่รู้จักกันดีในตำนานพื้นบ้านเกี่ยวกับผีที่ขึ้นชื่อ เรื่อง "ผีนับจาน" หรือซารายาชิกิ คือ เรื่องราวของโอกิกุ สาวใช้ของซามูไรผู้หนึ่งที่ทำจานล้ำค่าของตระกูลซามูไรแตก จึงถูกลงโทษด้วยการโยนร่างลงในบ่อน้ำ โดยในเวลาค่ำคืนจะมีผู้ได้ยินเสียงผู้หญิงโหยหวนดังมาจากบ่อน้ำเป็นเสียงนับจานช้า ๆ จนครบเก้าใบ ซึ่งบ่อน้ำนี้ยังปรากฏมาจนถึงทุกวันนี้ แต่อย่างไรก็ตามตำนานนี้ยังมีการเล่าขานในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป[2]

มรดกโลกทางวัฒนธรรม แก้

ปราสาทฮิเมจิขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 17 เมื่อ พ.ศ. 2536 ที่เมืองการ์ตาเฮนา ประเทศโคลอมเบีย ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้

  • (i) - เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
  • (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้