บ้านพร้าว หมู่ 8 ตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

บ้านพร้าว

Ban Phrao
ป้ายหมู่บ้านพร้าว ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2560
ป้ายหมู่บ้านพร้าว ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2560
บ้านพร้าวตั้งอยู่ในจังหวัดน่าน
บ้านพร้าว
บ้านพร้าว
พิกัด: 19°04′28″N 100°53′42″E / 19.07444°N 100.89500°E / 19.07444; 100.89500
ตำบลยม
อำเภอท่าวังผา
จังหวัดน่าน
ประเทศไทย
การปกครอง
 • ผู้ใหญ่บ้านนายสมนึก พรมวังขวา[1]
พื้นที่
 • พื้นที่ทั้งหมด8.38 ตร.กม. (3.24 ตร.ไมล์)
ประชากร
 • ทั้งหมด635 คน
 • ความหนาแน่น75.77 คน/ตร.กม. (196.2 คน/ตร.ไมล์)
 238 ครัวเรือน
รหัสไปรษณีย์55140

ประวัติการก่อตั้งหมู่บ้าน

แก้
 
รูปผู้คนในอดีตของบ้านพร้าว

 ความเป็นมาของบ้านพร้าว หรือบ้านป้าว (สันนิฐานว่าน่าจะมีต้นมะพร้าวขึ้นเยอะในตอนนั้น) ตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟัง สมัยก่อนมีคนเร่ร่อนหาที่อยู่อาศัยได้มีคนหลายจำพวก ได้มาพบปะกัน คือ คนไทยวน คนไทเขิน และคนไทลื้อ 4 ครอบครัว ได้พากันมาหาที่อยู่อาศัยสร้างหลักแหล่ง ได้มาพบปะกันที่ห้วยล้า ซึ่งมีความเหมาะสมที่จะสร้างบ้านเรือน เพราะสะดวกสบายดี ติดกับลำห้วยน้ำล้าและเหมาะสำหรับการเพาะปลูกพืช ทำการเกษตร จึงได้ตั้งรกราก สร้างบ้านแปงเมือง และทำมาหากิน ขึ้นราวประมาณปี พ.ศ. 2300 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระเจ้าอริยวงษ์ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 52 และองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์ติ๋นมหาวงศ์ ซึ่งครองนครน่าน ราวปี พ.ศ. 2297 - พ.ศ. 2311 และตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชที่ 2 หรือ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 31 แห่งอาณาจักรอยุธยา และเป็นพระองค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ. 2275 - พ.ศ. 2301

  • ทั้ง 4 ครอบครัว ได้แก่
    1. ครอบครัว พ่อเจ้าหลวงพรมวัง - แม่หลวงขวา
    2. ครอบครัว พ่อหลวงต๊ะ - แม่หลวงผัด
    3. ครอบครัว พ่อหลวงจันทร์ – แม่หลวงสุข
    4. ครอบครัว พ่อหลวงไชย - แม่หลวงเพชร

 ทั้ง 4 ครอบครัวได้อยู่รวมกันเป็น 2 หมู่บ้าน คือ บ้านป้าวเหนือ บ้านคาใต้ รวมเรียก บ้านป้าวบ้านคา ซึ่งมีทุ่งนากั้นเขตแดน ขณะนั้นไม่มีผู้ใหญ่บ้านปกครอง ปกติในการประชุมจะต้องเดินทางผ่านทุ่งนาไปประชุมร่วมกันกับหมู่บ้านไฮ่(บ้านสบบั่ว ในปัจจุบัน) ในทางศาสนาวัดวาอาราม ในวันศีลวันพระจะไปทำบุญร่วมกับบ้านไฮ่ ทุกครั้ง อยู่ต่อมาไม่นานทางบ้านป๊าว ก็มีประชากรเพิ่มมากขึ้น ทางราชการทางอำเภอได้มาแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้าน และการปกครองกันเองชาวบ้านพร้าว มีความปิติยินดีสุด ที่ทางอำเภอแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้าน ชาวบ้านพร้าวเป็นคนขยันในการทำมาหากิน มีความสมานสามัคคีรักกันช่วยเหลือซึ่งกันและกันมีความโอบอ้อมอารี ชอบค้าขายไล่วัวต่างขึ้นไปบ่อเกลือเอาเกลือมาขาย เอาผ้าทอไปแลกเกลือ แลกเปลี่ยนสินค้ามาขาย ประกอบอาชีพต่อไป

 ในสมัยก่อนไม่มีนามสกุล ในสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 มีการให้มีตั้งนามสกุล เหมือนกับประเทศอื่นๆ โดยให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2455 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 ได้มีการตั้งนามสกุลขึ้นทั่วประเทศไทย ซึ่งทางบ้านพร้าว ได้มีการประชุมในหมู่บ้านและให้ราษฎรในหมู่บ้านออกความคิดว่า จะเอานามสกุลอะไรช่วยออกความคิด ก็มีหลายคนออกข้อคิด ควรเอาชื่อพ่อชื่อแม่ทั้ง 4 ครอบครัวมาผสมพยัญชนะ มารวมกัน จึงเกิดมีนามสกุลคนเฉพาะบ้านพร้าว 4 นามสกุล

  • ต้นตระกูลนามสกุลบรรพบุรุษของบ้านพร้าวมี 4 นามสกุล ดังนี้
    1. พ่อเจ้าหลวงพรมวัง – แม่หลวงขวา : ต้นนามสกุล พรมวังขวา
    2. พ่อหลวงต๊ะ - แม่หลวงผัด : ต้นนามสกุล ต๊ะผัด
    3. พ่อหลวงจันทร์ – แม่หลวงสุข : ต้นนามสกุล จันทร์สุข
    4. พ่อหลวงไชย - แม่หลวงเพชร : ต้นนามสกุล ไชยเพชร , ไชยเพ็ชร

ประชากร

แก้

กลุ่มชาติพันธุ์

แก้

ประชากรในบ้านพร้าว ประกอบด้วย 2 กลุ่มชาติพันธุ์

  1. ไทยวนเชียงแสน
  2. ไทลื้อ

ประชากร

แก้

ประชากรบ้านพร้าว[2]มีทั้งหมด 637 คน แบ่งได้ดังนี้

  • ชาย 312 คน
  • หญิง 325 คน
  • ครัวเรือน 224 หลังคาเรือน

อาณาเขต

แก้
 
แผนที่แสดงอาณาเขตบ้านพร้าว

ทำเนียบผู้ใหญ่บ้านและสมาชิก อบต.

แก้
  • รายนามผู้ใหญ่บ้าน บ้านพร้าว หมู่ 8 ตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2450 - ปัจจุบัน
ลำดับ รายนาม ปีที่ปกครอง ระยะเวลาปกครอง หมายเหตุ
1 นายเมืองคำ พรมวังขวา พ.ศ. 2450 - 2458 8 ปี
2 นายขัน ไชยเพ็ชร พ.ศ. 2458 - 2467 9 ปี
3 นายเสาร์ ไชยเพ็ชร พ.ศ. 2467 - 2478 10 ปี
4 นายอิ่นแก้ว ต๊ะผัด พ.ศ. 2478 - 2491 13 ปี
5 นายบุญถึง อิ่นอ้าย พ.ศ. 2491 - 2498 7 ปี
6 นายหมวกคำ ต๊ะผัด พ.ศ. 2498 - 2505 7 ปี
7 นายคำมุง จันทร์สุข พ.ศ. 2505 - 2520 15 ปี
8 นายดำรงค์ พรมวังขวา พ.ศ. 2520 - 2528 7 ปี
9 นายเสวียน อิ่นอ้าย พ.ศ. 2528 - 2543 15 ปี ครั้งที่ 1
10 นายวิโรจน์ จันทร์สุข พ.ศ. 2543 - 2548 5 ปี
11 นายเสวียน อิ่นอ้าย พ.ศ. 2548 - 2553 5 ปี ครั้งที่ 2
12 นายวิโรจน์ ใบยา พ.ศ. 2553 - 2556 3 ปี
13 นายเพ็ชร พรมวังขวา พ.ศ. 2556 - 2562 6 ปี
14 นายสมนึก พรมวังขวา พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน -
  • รายนามสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลยม บ้านพร้าว หมู่ 8 ตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 - ปัจจุบัน
ลำดับ รายนาม ช่วงเวลาที่ดำรงตำแหน่ง รวมระยะเวลา หมายเหตุ
1 นายวิโรจน์ ใบยา พ.ศ. 2541 - 2544 3 ปี ครั้งที่ 1
นายสมรวย จันทร์สุข พ.ศ. 2541 - 2544 3 ปี
2 นายวิโรจน์ ใบยา พ.ศ. 2544 - 2548 4 ปี ครั้งที่ 2
นายสมิตร พรมวังขวา พ.ศ. 2544 - 2548 4 ปี ครั้งที่ 1
3 นายสิมล ถาวงค์ พ.ศ. 2548 - 2552 4 ปี
นายสมิตร พรมวังขวา พ.ศ. 2548 - 2552 4 ปี ครั้งที่ 2
4 นายสมพล แสนนิทา พ.ศ. 2552 - 2564 12 ปี
นายธีระ ธรรมสละ พ.ศ. 2552 - 2564 12 ปี ครั้งที่ 1
5 นายธีระ ธรรมสละ พ.ศ. 2564 - 2568 4 ปี ครั้งที่ 2

สถานที่สำคัญ

แก้

บ้านพร้าว มีสถานที่สำคัญ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ดังนี้

 
วัดสันติการาม (วัดพร้าว)
  1. วัดสันติการาม (วัดบ้านพร้าว)
  2. พระเจ้าทันใจศรีแสนสุข
  3. พระธาตุลอมตั้ง (สะดือเมืองยม)
  4. เสาหลักเมืองยม
  5. โรงเรียนบ้านพร้าว
  6. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยม บ้านพร้าว
  7. อ่างเก็บน้ำฝ่ายห้วยลม
  8. อ่างเก็บน้ำฝ่ายต้นม่วง

อ้างอิง

แก้
  1. ข้อมูลรายชื่อผู้ใหญ่บ้านจาก เว็บไซด์กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
  2. http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/views/showVillageData.php?rcode=55060604&statType=1&year=63
  3. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน