บูมเมอแรง (ประเทศไทย)

ช่องการ์ตูนที่ออกอากาศแทนที่บูมเมอแรงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นี่เป็นเพียงข้อมูลบูมเมอแรงประเทศไทย สำหรับบูมเมอแรงข้อมูลศูนย์กลางดูที่ บูมเมอแรง (สถานีโทรทัศน์) บูมเมอแรง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดูที่ บูมเมอแรง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

บูมเมอแรง ประเทศไทย (อังกฤษ: 'Boomerang Thailand') หรือมักเรียกกันว่า ช่องบูม เป็นสถานีโทรทัศน์การ์ตูนของประเทศไทย ออกอากาศภาคภาษาไทยอย่างเต็มรูปแบบ ผลิตโดย บริษัท เอ็ม เทิร์นเนอร์ จำกัด (ในเครือ วอร์เนอร์บราเธอส์ดิสคัฟเวอรี) นำเสนอการ์ตูนที่เคยออกอากาศทางการ์ตูนเน็ตเวิร์คมาแล้ว มีรูปแบบมาจากบูมเมอแรง สหรัฐอเมริกา ออกอากาศผ่านดาวเทียมTHAICOM 6A ผ่านกล่องรับสัญญาณที่มีระบบถอดรหัสสัญญาณ เริ่มออกอากาศเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บูมเมอแรง ประเทศไทย
Boomerang
ตราสัญลักษณ์ที่เริ่มใช้ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2567
ชื่ออื่นBoomerang Thailand
ประเทศไทย
พื้นที่แพร่ภาพประเทศไทย
คำขวัญช่องการ์ตูนนานาชาติอันดับ 1 ช่องแรกที่ให้ทุกคนชมฟรี
สำนักงานใหญ่45/91-99 ซอยสายไหม 73 ถนนสายไหม แขวงสายไหม เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร 10220
แบบรายการ
ระบบภาพ1080p (กู๊ดทีวี)
720p (ทีวีดาวเทียม)
576p (ออนไลน์)
ความเป็นเจ้าของ
เจ้าของวอร์เนอร์บราเธอส์ดิสคัฟเวอรี
เอ็มวีทีวี ไทยแลนด์
เอ็มซีเอ็น (โกลบอล)
ประวัติ
เริ่มออกอากาศ14 สิงหาคม พ.ศ. 2556 (11 ปี)
ลิงก์
เว็บไซต์www.mvtv.co.th, boomerangthai.com
ออกอากาศ
เคเบิลทีวี
เคเบิลทีวีท้องถิ่นN/A
ทีวีดาวเทียม
พีเอสไอ
ซีแบนด์
เคยูแบนด์

ช่อง 89
ช่อง 89
กู๊ดทีวี
เคยูแบนด์

ช่อง 68
จีเอ็มเอ็มแซท
ซีแบนด์
เคยูแบนด์

ช่อง 89
ช่อง 89
อินโฟแซท
ซีแบนด์
เคยูแบนด์

ช่อง 89
ช่อง 45
กลุ่ม ติ๊ก แพลตฟอร์ม
ไอเดียแซท
ไทยแซท
เคเอสทีวี
ซีแบนด์
เคยูแบนด์




ช่อง 89
ช่อง 89
ไทยคม 63840 H 30000
12344 V 45000
สื่อสตรีมมิง
Ais Playช่อง 450
True IDช่อง 489
3BB Giga TVช่อง 306
แอปพลิเคชั่น MVTV บนiOS
Android
Android TV
Google TV
แอปพลิเคชัน BoomerangTH บนiOS
Android

ประวัติ

แก้

บูมเมอแรงประเทศไทยเป็นสถานีโทรทัศน์เครือข่ายของบูมเมอแรง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีต้นแบบมาจากบูมเมอแรง สหรัฐอเมริกา เป็นช่องการ์ตูนคลาสิกที่แยกออกมาจากช่อง การ์ตูนเน็ตเวิร์ค ออกอากาศในเขตประเทศไทย โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศฮ่องกง และส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม[1] มายังประเทศต่างๆในภูมิภาค

ในอดีตช่องการ์ตูนเน็ตเวิร์ค เคยฉายการ์ตูนคลาสิกในคริสต์ศตวรรษ 1960 - 1990 เหมือนที่ช่องบูมเมอแรงฉายในปัจจุบัน แต่ในปัจจุบัน การ์ตูนเน็ตเวิร์คได้นำการ์ตูนแอนิเมชั่นใหม่ ๆ เข้ามาฉาย จึงได้ตัดการ์ตูนคลาสิกเก่า ๆ ออก แต่การ์ตูนคลาสิกยังคงได้รับความนิยมจากผู้ชม จึงได้เพิ่มช่วง บูมเมอแรง เป็นช่วงพิเศษในช่องการ์ตูนเน็ตเวิร์ค ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2542 ซึ่งฉายการ์ตูนคลาสิกเก่า ๆ แต่เนื่องจากการ์ตูนนั้นมีมากมายหลายเรื่อง ไทม์ วอร์เนอร์ จึงเปิดช่องบูมเมอแรงเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2543 โดยนำช่วงพิเศษบูมเมอแรงในการ์ตูนเน็ตเวิร์คออกมาทำเป็นสถานีโทรทัศน์ช่องการ์ตูนช่องใหม่อย่างเต็มรูปแบบ

สำหรับบูมเมอแรงประเทศไทย ผลิตเองโดยทีมงานชาวไทย เป็นการ์ตูนเก่าที่เคยออกอากาศในช่องการ์ตูนเน็ตเวิร์ค ประเทศไทย ทางทรูวิชั่นส์มาแล้วทั้งสิ้น ดังนั้นการ์ตูนทั้งหมดได้ตั้งชื่อเรื่องเป็นภาษาไทยและพากย์ไทยไว้แล้ว ซึ่งจะแตกต่างกับ การ์ตูนเน็ตเวิร์คเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และบูมเมอแรงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ออกอากาศร่วมกันหลายประเทศ โดยรับสัญญาณภาพจากสถานีส่วนกลางจากฮ่องกงมาใส่เสียงพากย์ไทยเฉพาะในส่วนที่มีการพากย์ไว้ ส่วนที่ไม่ได้มีการพากย์ไว้จะเป็นภาษาอังกฤษ ตัวอักษรแสดงบนหน้าจอจะเป็นภาษาอังกฤษ

ช่องโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ได้เปลี่ยนระบบการส่งสัญญาณจากระบบเดิม MPEG-2/SD เป็นระบบ MPEG-4/HD เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564[2]

วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2566 มีการประกาศจะยุติการออกอากาศในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2566[3] ต่อมาวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566 บริษัท เอ็มวีทีวี ไทยแลนด์ และ วอร์เนอร์ บราเธอร์ส ดิสคัฟเวอรี่ ซื้อลิขสิทธิ์ช่องบูมเมอแรง ในงบ 200 ล้านบาท เพื่อให้ช่องบูมเมอแรงสามารถออกอากาศต่อไปได้[4]

วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2566 ช่องโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมระบบ C-Band ได้เปลี่ยนทรานสปอนเดอร์จาก 4120 h 30000 เป็น 3840 h 30000 และช่องโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมระบบ KU-Band ได้เปลี่ยน PID แต่ยังใช้ทรานสปอนเดอร์เดิม (12344 v 45000)

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ทางช่องบูมเมอแรง ได้ร่วมกับ DEX บริษัท เดกซ์ (ดรีม เอกซ์เพรส) ผู้ให้บริการธุรกิจคาแรคเตอร์เพื่อความบันเทิงครบวงจร ปรับโฉม ช่อง Boomerang ประเดิมส่งการ์ตูนเอเชียยอดฮิต พร้อมทุ่มงบกว่า 100 ล้านบาท[5]

วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567 ทางช่องบูมเมอแรงได้ปรับเปลี่ยนโลโก้รูปแบบใหม่ที่มีต้นแบบจาก บูมเมอแรง สหรัฐอเมริกา และ โลโก้ช่องมุมจอได้เปลื่ยนใหม่ในเวลา 00:05 น.

รูปแบบการออกอากาศ

แก้

รูปแบบการออกอากาศมีลักษณะเหมือนกับช่อง บูมเมอแรง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ เวลาการออกอากาศรายการละ 30 นาทีและบางส่วนเป็น 1 ชั่วโมง มีโฆษณาระหว่างรายการ 2-3 ครั้ง มีการ์ตูนทั้งเป็นตอนสั้นจบในตอนเดียวและตอนยาวจบทั้งเรื่อง บางช่วงจะมีการ์ตูนสั้นแทรกระหว่างช่วงเปลี่ยนรายการ นำตอนสั้นจากการ์ตูนมาออกอากาศ ไม่เกินตอนละ 5 นาที มีโฆษณาสินค้าและตัวอย่างรายการในระหว่างรายการและช่วงเปลี่ยนรายการ แสดงภาพไอเดนท์ของสถานี (อังกฤษ: Ident) ระหว่างโฆษณา ก่อนเข้ารายการ หลังจบรายการ และแจ้งรายการปัจจุบันและรายการถัดไป

รายการที่ออกอากาศ

แก้

การ์ตูนที่ออกอากาศในช่อง บูมเมอแรงประเทศไทย เป็นการ์ตูนเก่าที่เคยออกอากาศในช่องการ์ตูนเน็ตเวิร์คและส่วนใหญ่ไม่มีในผังออกอากาศช่องการ์ตูนเน็ตเวิร์คแล้ว แต่ยังมีบางเรื่องที่ยังมีการออกอากาศในช่องการ์ตูนเน็ตเวิร์กอยู่ เช่น เดอะ ทอมแอนด์เจอร์รี่ โชว์ (อังกฤษ: the Tom & Jerry show), อ็อกกี้กับแก๊งแมลงสาบ, เบบี้ ลูนนี่ย์ ตูนส์, เบ็นเท็น, หมาน้อยผู้กล้าหาญ, รหัสลับเด็กข้างบ้าน, ฟอสเตอร์ โฮม..บ้านของผองเพื่อนในจินตนาการ, แคมป์ ลาซโล ชาวเดอร์, การผจญภัยสุดอัศจรรย์ของแฟลปแจ็ค เป็นต้น

การ์ตูนที่ออกอากาศในปัจจุบัน

แก้

การ์ตูนที่เคยออกอากาศ

แก้
  • ทอมและผองเพื่อน - (อังกฤษ: Talking Tom And Friends)
  • ทอล์คกิ้ง ทอม ฮีโร่ - (อังกฤษ: Talking Tom Heroes)

รายการสาระความรู้ ที่ออกอากาศในปัจจุบัน

แก้
  • Boomerang Club
  • Boom Station
  • Tiny Recipes อาหารจานจิ๋ว

รายการสาระความรู้ ที่เคยออกอากาศ

แก้
  • ตู้เพลง Toons
  • Chowder’s Kitchen
  • Inventor Kids บ้านแห่งจินตนาการ
  • Science Lab แบบของเด็กช่างคิด
  • DIY Colab
  • DIY By Boom
  • Travel with Google Earth

รายการอื่น ที่เคยออกอากาศ

แก้
  • Play Box กล่องหรรษา
  • เรื่องกล้วยกล้วย

โลโก้

แก้
14 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 14 มีนาคม พ.ศ. 2567 15 มีนาคม พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน
   

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. http://www.lyngsat.com/asia3s.html
  2. "ช่อง Boomerang จะเปลี่ยนระบบการออกอากาศ จาก SD เป็น HD". Facebook.
  3. "แฟนการ์ตูนเศร้า! ช่องบูมเมอแรง (BOOMERANG) ประกาศยุติออกอากาศ 1 ก.ย.66". อมรินทร์ทีวี เอชดี ช่อง 34 - AMARIN TV HD. 2023-08-02.
  4. Kamonlak (2023-09-01). "Boomerang ประกาศฉายต่อ หลัง MVTV ทุ่มซื้อ 200 ล้าน เป็นของขวัญให้เด็กไทย". Thaiger ข่าวไทย.
  5. “Boomerang” เดินหน้าลุยงานสื่อโทรทัศน์เติมสูบ

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้