โรโบคาร์โพลี หน่วยกู้ภัยผู้พิทักษ์

โรโบคาร์โพลี่ หน่วยกู้ภัยผู้พิทักษ์ (เกาหลี: 로보카 폴리 อังกฤษ: Robocar Poli) เป็นการ์ตูนแอนิเมชันในประเทศเกาหลีใต้ ถูกสร้างโดย RoiVisual การ์ตูนถูกเปิดตัวครั้งแรกในช่องอีบีเอส (Educational Broadcasting System/EBS) ในปี 2011 และออกอากาศเป็น 4 ซีซั่น โรโบคาร์ โพลี่ ประกอบด้วย 104 ตอน 11นาที

โรโบคาร์โพลี หน่วยกู้ภัยผู้พิทักษ์
เป็นที่รู้จักกันในชื่อPiyoPiyo Friends[1] Robo Poli[2]
ประเภท
สร้างโดยลี ดง-วู (RoiVisual)
เสียงของมาร์ก ทอมป์สัน, เรเบกกา โซเลอร์ และคนอื่น ๆ[3]
ผู้ประพันธ์ดนตรีแก่นเรื่องชิน ซึง-จุน
ประเทศแหล่งกำเนิด
  • เกาหลีใต้
ภาษาต้นฉบับเกาหลี
จำนวนฤดูกาล5
จำนวนตอน130
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตEom Jun-yeong
ผู้อำนวยการสร้าง
  • คิม ซ็อน-กู
  • ปาร์ค จ็อง-มิน
  • นัม ฮัน-กิล
  • คิม แร-กยอง
  • ปาร์ค จ็อง-มิน
ความยาวตอนประมาณ 11 นาทีต่อตอน
บริษัทผู้ผลิต
ออกอากาศ
เครือข่ายอีบีเอส
ออกอากาศ28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011 (2011-02-28) –
ปัจจุบัน
การแสดงที่เกี่ยวข้อง
  • Traffic Safety with Poli
  • Fire Safety with Roy
  • Daily Life Safety with Amber
  • Song-Song Museum (ภาคแยก)

เนื้อเรื่องย่อ แก้

ในเมืองบรูมส์ทาวน์ เมืองเล็กๆ ที่มีทีมหน่วยกู้ภัยที่มีความสามารถ มักจะมีอุบัติเหตุเช่นรถยนต์ที่เลื่อนออกจากหน้าผาท่ามกลางสายฝน รถถูกชนกัน หรือเด็กติดอยู่บ้านที่ถูกไฟไหม้ ในทุกๆตอน ทีมกู้ภัยของเมืองช่วยชีวิตผู้คนจากปัญหา ในตอนท้ายของแต่ละตอน ทีมกู้ภัยขอแนะนำตัวละครที่ตกอยู่ในอันตรายและดูเด็ก ๆ

ตัวละครหลัก แก้

ตัวละครหลัก
ไทย อังกฤษ เกาหลี
โพลี Poli 폴리
ตัวละครหลักของเรื่อง ชื่อตัวละครเป็นหุ่นยนต์ รถตำรวจสีน้ำเงินและขาว ที่สามารถแปลงร่างเป็นหุ่นยนต์ได้ เขามีความประพฤติที่ดีมากและไม่ยอมแพ้ง่ายๆ เขามีซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ตำรวจเสมอ และรักษาความปลอดภัยของถนนในเมืองและปกป้องชีวิตและทรัพย์สิน
แอมเบอร์ Amber 엠버
หุ่นยนต์รถพยาบาล สีชมพูและขาว เธอเป็นคนที่จิตใจดี และแสดงการเสียสละอย่างมาก เธอสนับสนุนภารกิจหน่วยกู้ภัย ให้การวินิจฉัยและการปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับตัวละครที่ประสบอุบัติเหตุ
รอย Roy 로이
หุ่นยนต์รถดับเพลิง สีแดงและเหลือง เขาเป็นสมาชิกที่แข็งแกร่งที่สุดของทีมหน่วยกู้ภัย และรับผิดชอบการตรวจสอบอุบัติเหตุด้านความปลอดภัย ดับไฟและช่วยชีวิต เขามีอุปกรณ์มากมายที่ด้านหลังของเขาเพื่อช่วยทีม
เฮลลี Helly 헬리
หุ่นยนต์เฮลิคอปเตอร์ สีเขียวและขาว
จิน Jin
สมาชิกมนุษย์ของทีมกู้ภัย เธอมีผมสีบลอนด์ยาว (แต่ผมเปียสั้น) และสวมชุดสีส้มแดงเข้ม เธออธิบายว่าเป็นนักประดิษฐ์อัจฉริยะ
ตัวละครสมทบ
คุณปู่มัสตี้ Musty 머스티
รถรุ่นลินคอล์นมาร์ค VIII สีน้ำเงินและขาว ที่เป็นชรา ผู้มีภักดีและสงบ เขาเป็นนายกเทศมนตรีของบรูมส์ทาวน์และเป็นปู่ของมินิ
เคพ Cape
เป็นรถแท็กซี่ สีเหลืองและขาว
โพสตี้ Posty 포스티
เป็นรถบุรุษไปรษณีย์ สีน้ำเงินและแดง
สปูกกี้ Spooky 스푸키
เป็นตระกูลเครน สีเขียวเข้มและขาว
คลีนนี่ Cleany 클리니
เป็นรถทำความสะอาดและถังขยะ สีเขียวและส้ม
สคูลบี School B 스쿨비
เป็นรถโรงเรียน สีเหลืองและดำ
ดัมโป Dumpoo 덤푸
เป็นรถบรรทุกดิน สีเหลืองและฟ้า
บรูเนอร์ Bruner 브루너
เป็นรถเกลี่ยดิน สีเหลืองและส้ม
แม็กซ์ Max 맥스
เป็นรถบดดิน สีเหลืองแดง
โปค Poke 포크
เป็นรถแบคโฮ สีเขียวเข้มและเหลือง
มิคกี Micky 미키
เป็นรถโม่ปูน สีเขียวเข้มและส้ม
เทอร์รี่ Terry
เป็นรถบรรทุกขนส่ง สีขาวและสีน้ำเงิน
ไททัน Titan 타이탄
เป็นรถบรรทุกดินคันใหญ่ สีเขียวและเหลือง
เลฟี เลกี เลตี Lefy – Leky – Lety 레키 – 레티 – 레피
เป็นเครน พี่น้องฝาแฝดสาม (เลกีสีเหลือง – เลตีสีส้ม – เลฟีสีฟ้า)
วีลเลอร์ Mr. Wheeler 휠러
เจ้าของร้านยางรถ เธอมีผมขาวหงอก (แต่แว่นตา) ชุดสีขาวและดำ
บิวล์เดอร์ Builder 빌더
เจ้าของงานก่อสร้าง เธอมีหมวกเหลือง (แต่แว่นตา) ชุดสีเหลืองและสีเทา
สเตซี่ Stacy 스테이시
สาวปั้มพลังงาน เธอมีผมหมวก (แต่ผมยาว) ชุดสีแดงเข้ม
ตัวละครรับเชิญที่ยังมีบทบาท
วูปเปอร์ Woopers 후퍼
เป็นรถบัสคันใหญ่ เพื่อนใหม่เข้าเมืองบรูมทาว สีแดงและขาว
ทรัคเอ็กซ์ Truck X 트럭 X
เข้าเมืองบรูมทาวเป็นปลอมตัวเป็นรถส่งของเล่นพาไปจับเด็ก สีน้ำเงินและฟ้า (แต่มีแว่นตา)
เจนนี่ Jenny 제니
หลานสาวของวีลเลอร์ ที่อยู่ต่างประเทศ เธอมีผมโบว์สีชมพู (แต่ผมสั้นสีเหลือง) ชุดสีฟ้าและสีไข่

อ้างอิง แก้

  1. "'Global Animation Project 2009' kicks off". สืบค้นเมื่อ 19 March 2013. For the section of full-length animation, two works such as 'the Hen that Went outside the Yard (MK Pictures) and PiyoPiyo Friends (Roivisual) have been chosen.
  2. "Robo Poli (Children) 2018–Present". TV Passport. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 February 2018.
  3. "Press Conference Korea Indonesia Film Festival (KIFF) 2015 – Facebook". facebook.com. สืบค้นเมื่อ 5 April 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้