บูพิวาเคน
บูพิวาเคน[6] หรือ บิวพิวาเคน[7] (อักษรโรมัน: Bupivacaine) หรือชื่อการค้าเช่น มาร์เคน (Marcaine) เป็นยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่[4] ในการใช้เพื่อบล็อกเส้นประสาท จะฉีดบูพิวาเคนเข้าไปยังเส้นประสาทที่เลี้ยงบริเวณนั้น หรือเข้าไปยังพื้นที่อีพิดูรอล ซึ่งเรียกว่าแารบล็อกอีพิดูรอล[4] บิวพิวาเคนมีผลิตในรูปผสมกับอีพิเนฟรินเล็กน้อยเพื่อเพิ่มระยะเวลาออกฤทธิ์[4] ระยะเวลาเริ่มออกฤทธิ์ของยาอยู่ที่ไม่เกิน 15 นาที และออกฤทธิ์ไอ้ยาวนาน 2 ถึง 8 ชั่วโมง[4][5]
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
การอ่านออกเสียง | /bjuːˈpɪvəkeɪn/ |
ชื่อทางการค้า | Marcaine, Sensorcaine, Posimir, ฯลฯ |
AHFS/Drugs.com | โมโนกราฟ |
ข้อมูลทะเบียนยา |
|
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ | |
ช่องทางการรับยา | Parenteral, topical, implant |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย | |
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
ชีวประสิทธิผล | n/a |
การจับกับโปรตีน | 95% |
การเปลี่ยนแปลงยา | ตับ |
ระยะเริ่มออกฤทธิ์ | ใน 15 นาที[4] |
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ | 3.1 ช.ม. (ผู้ใหญ่)[4] 8.1 ช.ม. (เด็กแรกเกิด)[4] |
ระยะเวลาออกฤทธิ์ | 2 ถึง 8 ช.ม.[5] |
การขับออก | ไต, 4–10% |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS |
|
PubChem CID | |
IUPHAR/BPS | |
DrugBank | |
ChemSpider | |
UNII |
|
KEGG | |
ChEBI |
|
ChEMBL |
|
ECHA InfoCard | 100.048.993 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C18H28N2O |
มวลต่อโมล | 288.435 g·mol−1 |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
จุดหลอมเหลว | 107 ถึง 108 องศาเซลเซียส (225 ถึง 226 องศาฟาเรนไฮต์) |
| |
| |
7 (what is this?) (verify) | |
ผลข้างเคียงที่มีได้ ได้แก่ความง่วงซึม, กล้ามเนื้อกระตุก, หูอื้อ, การมองเห็นเปลี่ยน, ความดันเลือดต่ำ และการเต้นหัวใจผิดจังหวะ[4] มีข้อกังวลอยู่ว่าการฉีดยานี้เข้าข้อต่อจะทำให้เกิดปัญหากับกระดูกอ่อน[4] บูพิวาเคนจัดเป็นยาชาเฉพาะที่กลุ่มอามัยด์[4]
บูพิวาเคนค้นพบครั้งแรกในปี 1957[8] และเป็นหนึ่งในรายชื่อรายการยาหลักขององค์การอนามัยโลก[9] รวมถึงยังมีใช้เป็นยาทั่วไป[4][10]
ในทางการแพทย์ บูพิวาเคนนั้นมีข้อบ่งใช้สำหรับฉีดระงับความรู้สึกเฉพาะที่, บล็อกเส้นประสาทเพอริเฟอรอล, บล็อกเส้นประสาทซิมพาเธติก และบล็อกแบบอีพิดูรอลกับคอดอล (caudal) บางครั้งอาจใช้ร่วมกันอีพิเนฟรีนเพื่อป้องกันการดูดซึมเข้าระบบร่างกาย และช่วยเพิ่มระยะเวลาออกฤทธิ์ได้ สูตรยาแบบ 0.75% (เข้มข้นสูงสุด) นั้นมีไว้ใช้ในการบล็อกแบบเรโทรบัลบาร์[11] บูพิวาเคนถือเป็นยาชาเฉพาะที่ที่ใช้มากที่สุดในการระงับความรู้สึกทางอีพิดูรอลขณะทำการคลอด เช่นเดียวกับการควมคุมความปวดหลังการผ่าตัด[12] บูพิวาเคนสูตรลิโพโซมอล (Liposomal formulations) หรือจำหน่ายในชื่อ EXPAREL มีรายงานว่ามีประสิทธิภาพมากกว่าในการบรรเทาปวดเมื่อเทียบกับสารละลายบูพิวาเคนเปล่า ๆ[13][14]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Bupivacaine Use During Pregnancy". Drugs.com. 13 April 2020. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
- ↑ "Marcaine- bupivacaine hydrochloride injection, solution Marcaine with epinephrine- bupivacaine hydrochloride and epinephrine bitartrate injection, solution". DailyMed. สืบค้นเมื่อ 13 February 2021.
- ↑ "Sensorcaine MPF- bupivacaine hydrochloride injection, solution". DailyMed. สืบค้นเมื่อ 13 February 2021.
- ↑ 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 "Bupivacaine Hydrochloride". The American Society of Health-System Pharmacists. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-30. สืบค้นเมื่อ August 1, 2015.
- ↑ 5.0 5.1 Whimster DS (1997). Cambridge textbook of accident and emergency medicine. Cambridge: Cambridge University Press. p. 194. ISBN 9780521433792. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-05.
- ↑ ปฐมพร, ปิ่นอ่อน; ปัญจสวัสดิ์วงศ์, ยอดยิ่ง; เชาวน์สุวรรณ, ศิริวรรณ (2014). "การศึกษาผลของการสกัดเส้นประสาทของหนังศีรษะด้วยยาชาบูพิวาเคนความเข้มข้นร้อยละ 0.5 ต่อผลลัพธ์ระหว่างและหลังผ่าตัดสมอง: การศึกษาแบบสุ่ม ไปข้างหน้า แบบมีกลุ่มควบคุมและบดบังวิธีการศึกษาต่อผู้ป่วยและผู้ประเมินผลการวิจัย". วิสัญญีสาร. 40 (3): 193–204. สืบค้นเมื่อ 2023-06-11.
- ↑ ชินะโชติ, ฐิติมา; เหลืองนทีเทพ, อังคณา; รักษาเกียรติศักดิ์, มานี (2012). "การฉีดบิวพิวาเคน 0.25% ในบริเวณ periarticular สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการระงับปวดภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าในผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดยาขัดขวางการทำงานของเส้นประสาทฟีเมอรัลและการฉีดมอร์ฟีนเข้าในช่องไขสันหลัง". วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์. 95 (12): 1536–1542. สืบค้นเมื่อ 2023-06-11.
- ↑ Egan TD (2013). Pharmacology and physiology for anesthesia : foundations and clinical application. Philadelphia, PA: Elsevier/Saunders. p. 291. ISBN 9781437716795. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-12.
- ↑ World Health Organization (2021). World Health Organization model list of essential medicines: 22nd list (2021). Geneva: World Health Organization. hdl:10665/345533. WHO/MHP/HPS/EML/2021.02.
- ↑ Hamilton R (2015). Tarascon Pocket Pharmacopoeia 2015 Deluxe Lab-Coat Edition. Jones & Bartlett Learning. p. 22. ISBN 9781284057560.
- ↑ Lexicomp. "Bupivacaine (Lexi-Drugs)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-10. สืบค้นเมื่อ 20 April 2014.
- ↑ Miller RD (November 2, 2006). Basics of Anesthesia. Churchill Livingstone.
- ↑ Ma TT, Wang YH, Jiang YF, Peng CB, Yan C, Liu ZG, Xu WX (June 2017). "Liposomal bupivacaine versus traditional bupivacaine for pain control after total hip arthroplasty: A meta-analysis". Medicine. 96 (25): e7190. doi:10.1097/MD.0000000000007190. PMC 5484209. PMID 28640101.
- ↑ Mont MA, Beaver WB, Dysart SH, Barrington JW, Del Gaizo DJ (January 2018). "Local Infiltration Analgesia With Liposomal Bupivacaine Improves Pain Scores and Reduces Opioid Use After Total Knee Arthroplasty: Results of a Randomized Controlled Trial". The Journal of Arthroplasty. 33 (1): 90–96. doi:10.1016/j.arth.2017.07.024. PMID 28802777.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- "Bupivacaine". Drug Information Portal. U.S. National Library of Medicine.