เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา

(เปลี่ยนทางจาก บาลา-ฮาลา)

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา เป็นพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งหนึ่งในประเทศไทย ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างของประเทศ เป็นผืนป่าที่ประกอบไปด้วยผืนป่าสองผืน คือ ป่าฮาลา ในพื้นที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา และอำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส และ ป่าบาลา ในพื้นที่อำเภอแว้ง และอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส แม้ป่าทั้งสองผืนนี้จะไม่ได้ติดเป็นป่าผืนเดียวกัน แต่ทว่าในปี พ.ศ. 2539 ได้มีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าร่วมกัน

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา
ไอยูซีเอ็นกลุ่ม 4 (เขตบริหารสิ่งแวดล้อม)
แผนที่แสดงที่ตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา
แผนที่แสดงที่ตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา
ตำแหน่งที่ตั้งในประเทศไทย
แผนที่แสดงที่ตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา
แผนที่แสดงที่ตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา (ประเทศไทย)
ที่ตั้งอำเภอเบตง จังหวัดยะลา อำเภอจะแนะ อำเภอแว้ง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
เมืองใกล้สุดจังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส
พื้นที่62,670 เฮกตาร์ (242.0 ตารางไมล์)
หน่วยราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

โดยคำว่า "บาลา" มาจากคำว่า "บาละห์" ที่แปลว่า "หลุด" หรือ "ปล่อย" มีที่มาจากช้างเชือกหนึ่งที่หนีเข้าป่าฝั่งอำเภอแว้ง และคำว่า "ฮาลา" หมายถึง "อพยพ" หมายถึง ผู้คนที่อพยพย้ายถิ่นฐานมาจากตัวเมืองปัตตานีในอดีต จนมาอาศัยอยู่เป็นชุมชนรอบ ๆ ชายป่า โดยป่าแห่งนี้อาจเรียกชื่อสลับกันได้ว่า บาลา-ฮาลา โดยผู้คนที่อยู่ในอำเภอแว้งจะเรียกว่า "บาลา-ฮาลา" แต่คนที่อาศัยในอำเภอเบตงจะเรียกว่า "ฮาลา-บาลา"

สภาพภูมิประเทศ แก้

มีพื้นที่ทั้งหมด 270,725 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ทิวเขาสันกาลาคีรี ต่อมาได้เพิ่มพื้นที่เป็น 391,689 ไร่ หรือ 626.70 ตารางกิโลเมตร สภาพป่าเป็นป่าดิบชื้นหรือป่าฝนเมืองร้อนที่อุดมสมบูรณ์มาก และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง มีความชื้นสูงตลอดทั้งปี มีลำน้ำไหลผ่าน ถือได้ว่าเป็นผืนป่าดิบชื้นที่กว้างขวางและใหญ่ที่สุดของคาบสมุทรมลายู จนได้ฉายาว่าเป็น "แอมะซอนแห่งอาเซียน"[1]

ทรัพยากรสัตว์ป่า แก้

ได้รับฉายาว่า"กระทิงบนผืนป่า "แอมะซอนแห่งอาเซียน"" ทั้งยังมีพื้นที่ติดกับป่าเบลุ่มทางตอนเหนือของมาเลเซีย โดยมีสัตว์ป่าอุดมสมบูรณ์

มีการสำรวจสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพบว่ามีทั้งหมด 54 ชนิด หลายชนิดเป็นสัตว์ป่าที่หายากใกล้สูญพันธุ์ เช่น กระทิง[1], เซียมมัง หรือชะนีดำใหญ่ ซึ่งเป็นไพรเมทจำพวกชะนีขนาดใหญ่ ที่แพร่พระจายพันธุ์ในคาบสมุทรมลายูจนถึงเกาะสุมาตรา โดยพบที่นี่เป็นเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย นอกจากนี้แล้วยังเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของนกเงือกจำนวน 10 ชนิด จากทั้งสิ้น 13 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย โดยเฉพาะนกเงือกกรามช้างปากเรียบ หนึ่งในชนิดของนกเงือกกรามช้าง ที่อพยพบินรวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ จำนวน 10–20 ตัว จากป่าห้วยขาแข้งในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก มายังที่นี่ในพื้นที่อำเภอเบตง ในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี โดยรวมจำนวนนกทั้งหมดแล้วมีประมาณ 500 และการสำรวจล่าสุดพบมากถึง 2,000 ตัว

นอกจากนี้ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา เป็นที่ตั้งของ ต้นกะพงขนาดใหญ่ที่มีเส้นรอบวงถึง 25 เมตร ในพื้นที่อำเภอสุคิริน ที่โอบอุ้มป้องกันทางพังทะลายของหน้าดิน ซึ่งเป็นการป้องกันอุทกภัยให้กับผู้คนที่อาศัยอยู่รอบผืนป่าได้และข่าวการค้นพบร่องรอยกระซู่และสัตว์ป่าหายากอีกหลายชนิดเมื่อปีพ.ศ. 2540

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 ทองนวล, จรูญ (2014-12-16). "Nation TV - เว็บไซต์สถานีข่าวอันดับ 1 ของเมืองไทย". เนชั่นทีวี. สืบค้นเมื่อ 2017-04-18.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

พิกัดภูมิศาสตร์: 5°47′43″N 101°49′42″E / 5.7952°N 101.8283°E / 5.7952; 101.8283