บริษัทรถไฟคีวชู

บริษัทรถไฟคีวชู (ญี่ปุ่น: 九州旅客鉄道株式会社โรมาจิKyūshū Ryokaku Tetsudō Kabushiki-gaisha) หรือเรียกโดยย่อว่า JR คีวชู (ญี่ปุ่น: JR九州โรมาจิJeiāru Kyūshū) เป็นหนึ่งในบริษัทของกลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น ให้บริการรถไฟระหว่างเมืองภายในเกาะคีวชู ประเทศญี่ปุ่น และให้บริการเรือเฟอร์รี่ข้ามช่องแคบสึชิมะ ระหว่างฟูกูโอกะและปูซาน ประเทศเกาหลีใต้ นอกจากนี้ยังดำเนินการโรงแรม ร้านอาหาร และร้านขายยาทั่วภูมิภาค[2] สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ เขตฮากาะตะ, นครฟูกูโอกะ[1]

บริษัทรถไฟคีวชู
九州旅客鉄道株式会社
ประเภทมหาชน บริษัทร่วมทุน
อุตสาหกรรมรถไฟ
ก่อนหน้าการรถไฟญี่ปุ่น (JNR)
ก่อตั้ง1 เมษายน พ.ศ. 2530 (จากการแตกออกเป็นบริษัทย่อยของ JNR)
สำนักงานใหญ่
3-25-21 ฮากาตะเอกิมาเอะ,
เขตฮากาตะ, จังหวัดฟูกูโอกะ
พื้นที่ให้บริการ
คีวชู
ผลิตภัณฑ์ซุโงะกะ (บัตรเติมเงิน)
บริการรถไฟขนส่งมวลชน
ขนส่งสินค้า
รถโดยสาร
การบริการอื่นๆ[1]
เจ้าของJRTT (1987-2016)
Public float (2016-)
พนักงาน
7,647 (ณ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2565) [1]
เว็บไซต์jrkyushu.co.jp

ประวัติ แก้

บริษัทรถไฟคีวชู ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2530 หลังจากการยุบการรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่นเป็นบริษัทย่อยหลายบริษัทเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินเดิม โดยรับผิดชอบในเส้นทางรถไฟเดิมของการรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่นในบริเวณพื้นที่เกาะคีวชู

หลังจากการปรับปรุงกิจการ บริษัทได้กระจายธุรกิจไปสู่กิจการใหม่ ๆ เช่น การเลี้ยงปลาและเห็ด และการขายรถยนต์ กิจการอื่น ๆ เช่น เรือข้ามฟากบีเทิล ที่เริ่มในปี พ.ศ. 2534 และเครือร้านเบเกอรี่ Train d'or ที่เริ่มในปี พ.ศ. 2535 นอกจากนี้ยังได้เปิดบริการรถไฟระดับพรีเมียมโดยการให้บริการรถไฟความเร็วสูง คีวชูชิงกันเซ็ง และรถไฟท่องเที่ยวแบบหรูหรา นานัตสึโบชิอินคีวชู[2]

บริษัทได้เปิดตัว ซุโงะกะ ซึ่งเป็นระบบตั๋วสมาร์ตการ์ด ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2552

จากการเปิดเผยของบริษัทรถไฟคีวชูในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559[2] การดำเนินงานที่ไม่ใช่ทางรถไฟคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 60% ของยอดขายของบริษัทและเป็นกำไรส่วนใหญ่ของบริษัท

เส้นทางรถไฟ แก้

ชิงกันเซ็ง แก้

สายหลัก แก้

สายอื่น ๆ แก้

ลิมิเต็ด เอ็กซเพรส และรถไฟท่องเที่ยว แก้

 
รถไฟนานัตสึโบชิอินคีวชู รุ่น DF200 หัวรถจักร DF200-7000 กันยายน พ.ศ. 2556

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "Company summary". JR Kyushu. สืบค้นเมื่อ 2023-06-30.
  2. 2.0 2.1 2.2 Kurimoto, Suguru (2015-03-26). "Japan rail company diversifies its way around disadvantages". Nikkei Asian Review. สืบค้นเมื่อ 2023-06-30.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

ข้อมูลเพิ่มเติม แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ JR Kyushu