ฟูกูโอกะ (เมือง)
นครฟูกูโอกะ (ญี่ปุ่น: 福岡市; โรมาจิ: Fukuoka-shi) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดฟูกูโอกะ ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะคีวชู ประเทศญี่ปุ่น
ฟูกูโอกะ 福岡 | |
---|---|
福岡市 · นครฟูกูโอกะ | |
จากบนซ้าย: แผงขายอาหารในนากาซุ, ปราสาทฟูกูโอกะ, ศาลเจ้าฮาโกซากิ, ย่านเท็นจิน, เทศกาลฮากาตะ กิอง ยามากาซะ, ชายหาดกับฟูกูโอกะทาวเวอร์ | |
ที่ตั้งของฟูกูโอกะในจังหวัดฟูกูโอกะ | |
พิกัด: 33°35′N 130°24′E / 33.583°N 130.400°E | |
ประเทศ | ญี่ปุ่น |
ภูมิภาค | คีวชู |
จังหวัด | ฟูกูโอกะ |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | โซอิจิโร ทากาชิมะ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 340.03 ตร.กม. (131.29 ตร.ไมล์) |
ประชากร (พ.ย. 2014) | |
• ทั้งหมด | 1,520,783 คน |
• ความหนาแน่น | 4,450 คน/ตร.กม. (11,500 คน/ตร.ไมล์) |
เขตเวลา | UTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) |
- ต้นไม้ | การบูร |
- ดอกไม้ | ดอกชา |
- นก | Black-headed Gull |
เว็บไซต์ | www |
ในปี 2013 ฟูกูโอกะได้รับการจัดอันดับว่าเป็นเมืองน่าอยู่อันดับ 12 ของโลก จากนิตยสาร Monocle จากการที่ในเขตตัวเมืองมีพื้นที่สีเขียวจำนวนมาก [1] นอกจากนี้ฟูกูโอกะยังเป็นเมืองที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวที่สุดในเกาะคีวชู ซึ่งรองลงมาคือนครคิตะกีวชู และยังถือเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดทางตะวันตกจากเขตมหานครเคฮันชิง จากการที่เป็นเมืองขนาดใหญ่และมีความสำคัญ ทำให้ฟูกูโอกะได้รับสถานะเป็นนครใหญ่ที่รัฐกำหนด เมื่อ 1 เมษายน 1972 ด้วยประชากรในเขตเมืองและปริมณฑลรวมกว่า 2.5 ล้านคน (สำมะโนปี 2005) ซึ่งทั้งฟูกูโอกะ–คิตะกีวชู ต่างเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมหนัก ซึ่งเป็นรายได้หลักของเมือง
เมื่อกรกฎาคม 2011 ฟูกูโอกะมีฐานะเป็นเมืองใหญ่อันดับ 6 ของญี่ปุ่น ซึ่งแซงหน้านครใหญ่อย่างเกียวโต นับเป็นครั้งแรกที่เมืองทางตะวันตกของภาคคันไซ สามารถมีประชากรมากกว่าเกียวโต นับตั้งแต่ก่อตั้งเมืองเกียวโตเมื่อปี ค.ศ. 794 นอกจากนี้ ในฟูกูโอกะยังปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีที่บ่งชี้ว่าการสร้างชาติญี่ปุ่นเริ่มจากที่นี่
ประวัติศาสตร์
แก้ฟูกูโอกะบางครั้งถูกเรียกว่าท่าไดไซฟุ (大宰府) ไดไซฟุเป็นเขตศูนย์กลางการปกครองในปี 663 แต่นักประวัติศาสตร์ก็แย้งว่า เขตศูนย์กลางนี้ มีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์[2] บันทึกโบราณอย่าง โคจิกิ และ คันเอ็ง ตลอดจนหลักฐานทางโบราณคดีได้บ่งชี้ว่า พื้นที่แถบนี้เป็นสถานที่ที่มีความสำคัญมากในการสถาปนาชาติญี่ปุ่น นักวิชาการบางคนอ้างว่า[3] สถานที่นี้เป็นสถานที่แรกที่จักรพรรดิทรงตั้งรกราก เช่นเดียวกับทฤษฎีกำเนิดชาติญี่ปุ่นอื่น ๆ อีกมากมาย
มองโกลรุกราน
แก้กุบไล ข่านแห่งจักรวรรดิมองโกล (ราชวงศ์หยวน) ได้เพ่งเล็งและสนใจในเกาะญี่ปุ่นที่เป็นประเทศปิด พระองค์เริ่มเตรียมการในปี ค.ศ. 1266 ทรงดำริว่าญี่ปุ่นไม่มีประสบการณ์ต่อโลกภายนอก จึงได้ส่งคณะราชทูตไปยังญี่ปุ่นเพื่อให้ยอมรับอำนาจของมองโกล ญี่ปุ่นขณะนั้นปกครองโดยตระกูลโฮโจ ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนโชกุนแห่งรัฐบาลโชกุนคามากูระ โดยโฮโจได้ปฏิเสธกลับไป กุบไลข่านส่งคณะราชทูตกลับไปอีกครั้งในปี 1268 ซึ่งครั้งนี้ โฮโจได้ปฏิเสธและประหารคณะราชทูต
ในปี 1274 กุบไลข่านส่งเรือรบ 900 ลำพร้อมไพร่พล 33,000 นายเข้าสู่ทางตอนเหนือของเกาะคีวชู ในจำนวนนี้ส่วนหนึ่งเป็นทหารจากโครยอที่เป็นรัฐบรรณาการของมองโกล การรุกรานครั้งแรกล้มเหลวจากพายุไต้ฝุ่น ฝ่ายมองโกล–โครยอสูญเสียไพร่พลแทบทั้งหมด
ภายหลังความพ่ายแพ้ในการรุกรานครั้งแรก กุบไลข่านล่งคณะราชทูตไปอีกเป็นครั้งที่สามในปี 1279 ซึ่งโฮโจก็ได้สั่งตัดหัวพวกเขาเหมือนครั้งก่อน ทำให้ในปี 1281 กุบไลข่านส่งเรือรบ 4,400 ลำพร้อมไพร่พล 140,000 นายบุกยังฟูกูโอกะ แต่ญี่ปุ่นเองก็เตรียมพร้อมรับมือเป็นอย่างดี หลังจากรบได้เพียงสองศึกและยังไม่มีทีท่าว่าฝ่ายใดจะเพลี่ยงพล้ำ พายุไต้ฝุ่นได้พัดเข้าที่เกาะคีวชูเป็นเวลาถึงสองวัน ทำลายกองเรือของมองโกลพินาศไปเกือบทั้งหมด ทหารมองโกลและโครยอเสียชีวิตกลางทะเลมากกว่าแสนนาย
พายุที่เกิดขึ้นระหว่างการรุกรานทั้งสองครั้งทำให้ญี่ปุ่นขนานนามพายุไต้ฝุ่นนี้ว่า คามิกาเซะ (วายุเทพ)
เขตการปกครอง
แก้นครฟูกูโอกะประกอบด้วย 7 เขตการปกครอง (กุ): | เขต | ประชากร | พื้นที่ | ความหนาแน่น |
---|---|---|---|---|
เมื่อ ส.ค. 2553 | ตร.กม. | คน/ตร.กม. | ||
เขตฮิงาชิ | 291,749 | 66.68 | 4 375.36 | |
เขตฮากาตะ | 212,108 | 31.47 | 6 740.01 | |
เขตชูโอ (เขตศูนย์กลาง) |
176,739 | 15.16 | 11,658.24 | |
เขตมินามิ | 248,901 | 30.98 | 8 034.25 | |
เขตโจนัง | 128,883 | 16.02 | 8 045.13 | |
เขตซาวาระ | 211,889 | 95.88 | 2 209.42 | |
เขตนิชิ | 190,288 | 83.81 | 2 270.47 |
ภูมิอากาศ
แก้ข้อมูลภูมิอากาศของนครฟูกูโอกะ (ค.ศ. 1971-2000) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 9.8 (49.6) |
10.5 (50.9) |
14.0 (57.2) |
19.2 (66.6) |
23.5 (74.3) |
26.5 (79.7) |
30.7 (87.3) |
31.6 (88.9) |
27.8 (82) |
23.0 (73.4) |
17.6 (63.7) |
12.5 (54.5) |
20.5 (68.9) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 6.4 (43.5) |
6.9 (44.4) |
9.9 (49.8) |
14.8 (58.6) |
19.1 (66.4) |
22.6 (72.7) |
26.9 (80.4) |
27.6 (81.7) |
23.9 (75) |
18.7 (65.7) |
13.4 (56.1) |
8.7 (47.7) |
16.6 (61.9) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 3.2 (37.8) |
3.5 (38.3) |
6.1 (43) |
10.7 (51.3) |
15.0 (59) |
19.4 (66.9) |
24.0 (75.2) |
24.5 (76.1) |
20.6 (69.1) |
14.7 (58.5) |
9.6 (49.3) |
5.2 (41.4) |
13.0 (55.4) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 72.1 (2.839) |
71.2 (2.803) |
108.7 (4.28) |
125.2 (4.929) |
138.9 (5.469) |
272.1 (10.713) |
266.4 (10.488) |
187.6 (7.386) |
175.0 (6.89) |
80.9 (3.185) |
80.5 (3.169) |
53.8 (2.118) |
1,632.4 (64.268) |
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว) | 2 (0.8) |
2 (0.8) |
1 (0.4) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
0 (0) |
5 (2) |
ความชื้นร้อยละ | 64 | 64 | 66 | 67 | 69 | 76 | 75 | 74 | 74 | 69 | 67 | 65 | 69.2 |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย | 11.0 | 10.1 | 12.9 | 11.0 | 10.7 | 12.4 | 11.9 | 10.4 | 10.9 | 7.3 | 9.7 | 10.3 | 128.6 |
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย | 6.8 | 5.5 | 1.5 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.0 | 0.2 | 3.4 | 17.4 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 99.9 | 114.3 | 149.7 | 177.2 | 195.0 | 147.6 | 182.7 | 199.3 | 157.8 | 174.9 | 133.2 | 116.9 | 1,848.5 |
แหล่งที่มา: สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น [4] |
เมืองพี่น้อง
แก้นครฟูกูโอกะ เป็นเมืองพี่น้องกับอีก 7 เมืองได้แก่
|
อ้างอิง
แก้- ↑ [https://archive.today/20100517063032/http://www.monocle.com/sections/affairs/Magazine-Articles/The-Worlds-top-25-most-liveable-cities/ เก็บถาวร 2010-05-17 ที่ archive.today The World's top 25 most liveable cities [Monocle]]
- ↑ Takehiko Furuta, 失われた九州王朝 (A lost Kyushu dynasty), Asahi publishing, 1993.
- ↑ The Truth of Descent from Heaven. Yukio Yokota. Accessed March 19, 2008.
- ↑ "気象庁 / 平年値(年・月ごとの値)". สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น.
- ↑ "Bordeaux - Rayonnement européen et mondial". Mairie de Bordeaux (ภาษาฝรั่งเศส). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-07. สืบค้นเมื่อ 2013-07-29.
- ↑ "Bordeaux-Atlas français de la coopération décentralisée et des autres actions extérieures". Délégation pour l’Action Extérieure des Collectivités Territoriales (Ministère des Affaires étrangères) (ภาษาฝรั่งเศส). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-07. สืบค้นเมื่อ 2013-07-29.
- ↑ "Guangzhou Sister Cities[via WaybackMachine.com]". Guangzhou Foreign Affairs Office. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-24. สืบค้นเมื่อ 2013-07-21.