น้ำมันลินซีด

(เปลี่ยนทางจาก น้ำมันแฟลกซ์)

น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์, น้ำมันแฟลกซ์, น้ำมันลินซีด หรือ น้ำมันเมล็ดฝ้าย (อังกฤษ: Linseed oil, flaxseed oil, flax oil) เป็นน้ำมันใสจนถึงออกเหลือง ที่ได้จากเมล็ดแฟลกซ์ (Linum usitatissimum) ซึ่งเป็นพืชวงศ์ลินิน (Linaceae) อันดับโนรา (Malpighiales) เมล็ดสามารถสกัดน้ำมันด้วยเครื่องสกัดกล (Expeller pressing) และบางครั้งตามสกัดด้วยตัวทำละลาย เป็นน้ำมันชักแห้งคือจะแข็งเมื่อถูกกับอากาศผ่านกระบวนการพอลิเมอไรเซชัน เพราะคุณสมบัตินี้ น้ำมันนี้อาจใช้โดยตนเองหรือผสมกับน้ำมันอื่น ๆ, กับยางไม้ หรือกับตัวทำละลาย ให้เป็นน้ำมันชักแห้งหรือน้ำมันขัดเงาเพื่อรักษาไม้ เป็นตัวผสานสารสีในสีน้ำมัน เป็นสารเพิ่มความเหลวหรือลดน้ำ (plasticizer) ในปูนอุดรอยรั่ว/สีโป๊ว/พัตตี และเพื่อผลิตเสื่อ/พรมน้ำมัน (linoleum) การใช้น้ำมันนี้ได้ลดลงภายในไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมาเพราะการเกิดเรซินสังเคราะห์แบบ alkyd ซึ่งมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกันแต่เก่าเป็นสีเหลืองน้อยกว่า[1]

น้ำมันนี้ทานได้ นิยมทานเป็นอาหารเสริมเพราะเป็นแหล่งกรดลิโนเลนิกอัลฟาซึ่งเป็นกรดไขมันโอเมกา-3 ในยุโรปบางส่วน ใช้ทานกับมันฝรั่งและควาร์ก (เป็นผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวอย่างหนึ่ง) โดยจัดว่าเป็นของอร่อย มีรสจัด และเสริมรสของควาร์กที่ปกติจืด[2]

ไตรกลีเซอไรด์ตัวอย่างในน้ำมันลินซีด เป็นไตรกลีเซอไรด์ประกอบด้วย กรดลิโนเลอิก, กรดลิโนเลนิกอัลฟา และ กรดโอเลอิก

คุณสมบัติทางเคมี แก้

น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์เป็นไตรกลีเซอไรด์เหมือนกับไขมันอื่น ๆ แต่พิเศษตรงที่มีกรดลิโนเลนิกอัลฟาเป็นจำนวนมาก ซึ่งทำปฏิกิริยาพิเศษกับออกซิเจนในอากาศ น้ำมันปกติมีกรดไขมันรวมทั้ง[3]

เพราะมีเอสเทอร์กรดไขมันไม่อิ่มตัวที่มีพันธะคู่ 2 คู่และ 3 คู่ในอัตราสูง น้ำมันจึงเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันเมื่อถูกกับอากาศได้ง่าย ซึ่งเป็นการ "ชักแห้ง" คือจะแข็งตัว กระบวนการนี้อาจคายความร้อน จึงสร้างปัญหาอัคคีภัยในบางกรณี เพื่อไม่ให้แห้งเร็วเกิน ผลิตภัณฑ์จากน้ำมันแฟลกซ์/ลินซีด (เช่น สีน้ำมันเป็นต้น) ควรบรรจุในภาชนะที่ผนึกสนิท

เหมือนกับน้ำมันชักแห้งบางอย่าง น้ำมันนี้เรืองแสงในรังสีอัลตราไวโอเลตเมื่อเสื่อม[4]

 
"ประเทศชาติของคุนต้องการแฟลกซ์... " โปสเตอร์สงครามโลกครั้งที่สองของสหรัฐชักชวนให้ผลิตน้ำมันแฟลกซ์เพื่อใช้ทำสี

การใช้ แก้

การประยุกต์ใช้น้ำมันลินซีดโดยมากอาศัยคุณสมบัติชักแห้งของมัน คือวัสดุตอนแรกจะเหลวหรืออย่างน้อยก็อ่อน แต่หลังเวลาผ่านไปจะแข็งแต่ไม่เปราะ ความกันน้ำเพราะเป็นไฮโดรคาร์บอนก็เป็นประโยชน์ด้วย

เป็นสารผสานสี แก้

น้ำมันลินซีดมักใช้เป็นสารส่งสีในสีน้ำมัน และเป็นสารอำนวยการทาสี เพราะทำให้สีน้ำมันเหลวขึ้น ใส และเงาวาว มีในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งสกัดเย็น กลั่นกับแอลคาไล (alkali-refined) ฟอกแดด (sun-bleached) ตากแดดให้หนืด (sun-thickened) และกลายเป็นโพลิเมอร์ (polymerised, stand oil) การใช้สีน้ำมันก้าวหน้าอย่างสำคัญได้ก็เพราะเทคโนโลยีน้ำมันลินซีด

พัตตี แก้

พัตตีติดตั้งกระจก ซึ่งดั้งเดิมเป็นผงชอล์กผสมกับน้ำมันลินซีด ใช้เพื่อติดตั้งและผนึกกระจกกับหน้าต่างไม้ จะแข็งภายใน 2-3 อาทิตย์ที่ใช้แล้วสามารถทา/พ่นสีทับได้ ความทนทานของมันมาจากคุณสมบัติชักแห้งของน้ำมันลินซีด

น้ำมันขัดเงา แก้

เมื่อใช้เป็นน้ำมันขัดเงาสำหรับไม้ น้ำมันลินซีดแห้งช้า ๆ และหดตัวน้อยมากเมื่อแข็งตัว แต่ไม่ได้เคลือบผิวเหมือนกับน้ำมันวาร์นิช เพราะซึมเข้าไปในรูไม้ (อาจจะมองเห็นหรือไม่เห็น) เหลือแต่ผิวที่มัน ๆ ไม่ถึงกับเงาที่ยังแสดงอวดลายไม้ แม้จะเกิดรอยง่าย แต่ก็ซ่อมแซมได้ง่าย มีแต่การเคลือบขี้ผึ้งเท่านั้นที่อ่อนแอกว่า น้ำสามารถซึมผ่านเคลือบน้ำมันเพียงไม่กี่นาที และไอน้ำก็สามารถผ่านมันไปได้โดยเกือบไม่ติดขัดเลย[5]

เครื่องเฟอร์นิเจอร์กลางแจ้ง (เช่นในสวน) ที่ทาน้ำมันลินซีดอาจขึ้นราได้ ไม้ที่ทาน้ำมันอาจออกสีเหลือง ๆ และน่าจะสีเข้มขึ้นตามอายุการใช้งาน เพราะมันเข้าไปในรูไม้ น้ำมันจะช่วยป้องกันไม้ไม่ให้เกิดรอยเนื่องจาแรงบีบอัดได้บ้าง

น้ำมันลินซีดใช้ขัดเงาด้ามปืนดั้งเดิม แต่จะทำให้เงามากอาจต้องใช้เวลาเป็นเดือน ๆ การเคลือบเงาด้วยน้ำมันหลายชั้นเป็นวิธีดั้งเดิมเพื่อป้องกันไม้วิลโลว์ดิบ (วงศ์สนุ่น) และไม้ตีคริกเกต เพื่อให้ไม้เหลือความชุ่มชื้นบ้าง ไม้คริกเกตใหม่จะเคลือบด้วยน้ำมันลินซีดแล้วตีให้ทั่ว (ด้วยลูกบอลเก่าหรือค้อนพิเศษ) เพื่อให้ทนยิ่งขึ้น[6] น้ำมันลินซีดบ่อยครั้งยังใช้กับไม้คิวสำหรับบิลเลียดหรือพูล ใช้หล่อลื่นหรือป้องกันรีคอร์เดอร์ไม้ และใช้แทนเรซินสังเคราะห์เพื่อเคลือบกระดานโต้คลื่นไม้

อนึ่ง ช่างเครื่องดนตรีสาย (luthier) อาจใช้น้ำมันลินซีดเมื่อปรับปรุงซอมแซมกีตาร์ แมนโดลิน หรือแป้นวางนิ้วของเครื่องดนตรีสายอื่น ๆ คือ มักใช้น้ำมันแร่กลิ่นเลมอนเพื่อทำความสะอาด แล้วทาน้ำมันลินซีด (หรือน้ำมันชักแห้งอื่น ๆ) บาง ๆ เพื่อกันเปื้อนไม่ให้ไม้เสื่อมเร็ว

การชุบทอง แก้

ในการชุบ/แปะทอง น้ำมันลินซีดต้มใช้เป็นสารกันซึม (sizing) โดยทาผิววัสดุที่จะแปะทอง (เช่น แผ่นหนัง ผ้าใบ ดินเผา เป็นต้น) เพราะมันทนกว่าสารกันซึมที่ทำผสมน้ำ ทำให้ผิวเรียบ และเหนียวพอในช่วง 12-24 ชม. แรกหลังทาเพื่อให้ติดทองแผ่นกับผิวได้ดี

เสื่อน้ำมัน (linoleum) แก้

น้ำมันลินซีดใช้เพื่อประสานผงขี้เลื่อย ผงไม้ก๊อก หรือวัสดุเช่นกันอื่น ๆ เพื่อผลิตเสื่อน้ำมัน (linoleum) นักประดิษฐ์ชาวอังกฤษ (Frederick Walton) ได้ประดิษฐ์เสื่อน้ำมันขึ้นในปี 1860 (เรียกว่า linoleum หรือ lino) ซึ่งเป็นวัสดุปิดพื้นทั้งในบ้านและอุตสาหกรรมตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1870 จนถึง 1970 จนกระทั่งแทนด้วยกระเบื้องยางปูพื้น[7] แต่หลังจากคริสต์ทศวรรษ 1990 เสื่อน้ำมันก็เริ่มนิยมอีก เพราะจัดว่าดีต่อสิ่งแวดล้อมยิ่งกว่า[8] linoleum ให้ชื่อกับเทคนิคทำภาพพิมพ์คือ linocut (ภาพพิมพ์ยางแกะ) ซึ่งทำโดยแกะยางเป็นแบบที่ต้องการ ทาหมึก แล้วพิมพ์บนกระดาษหรือผ้า ผลที่ได้จะคล้ายกับภาพพิมพ์แกะไม้

อาหารและอาหารเสริม แก้

น้ำมันลินซีดสกัดเย็นดิบ ที่บ่อยครั้งเรียกว่าน้ำมันเมล็ดแฟลกซ์เมื่อใช้เป็นอาหาร ออกซิไดซ์และเหม็นหืนได้ง่ายถ้าไม่แช่เย็น และแม้เมื่อเก็บไว้ในที่เย็น คุณภาพสินค้าก็อยู่ได้เพียงแค่ไม่กี่อาทิตย์[9] น้ำมันที่เหม็นควรทิ้ง ปัญหานี้เป็นเรื่องสำคัญทางพาณิชย์ จึงอาจเติมสารต้านอนุมูลอิสระเพื่อป้องกันการเหม็นหืน[10]

น้ำมันทั่วไปไม่แนะนำให้ใช้ประกอบอาหาร แต่ก็มีงานศึกษาที่แสดงว่า กรดลิโนเลนิกอัลฟาเมื่อยังอยู่ในเมล็ดก็เสถียรพอใช้ประกอบอาหาร คือสามารถทนอุณหภูมิได้ 176.67 องศาเซลเซียสถึง 2 ชม.[11]

น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์เกรดอาหารจะสกัดเย็นโดยไม่ใช้ตัวทำละลาย ทำในที่ปราศจากออกซิเจน และวางขายเป็นน้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ที่ทานได้ (edible flaxseed oil) น้ำมันสดแช่เย็นที่ไม่ได้แปรรูปเพิ่มสามารถใช้เป็นอาหารเสริม เป็นอาหารพื้นเมืองของคนยุโรปบางกลุ่ม และจัดว่าเป็นของอร่อย มันมีระดับกรดไขมันโอเมกา-3 คือกรดลิโนเลนิกอัลฟา สูงสุดอย่างหนึ่งในบรรดาน้ำมันพืชทั้งหมด[12] น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ปกติมีกรดลิโนเลนิกอัลฟา (ALA) (C18:3 n-3) ระหว่าง 52-63% ผู้เพาะพันธุ์พืชได้พัฒนาเมล็ดแฟลกซ์ทั้งที่มีกรด ALA สูงกว่า (70%) และที่มีกรดน้อยมาก (< 3%)[13]

องค์การอาหารและยาสหรัฐให้สถานะ "ยอมรับโดยทั่วไปว่าปลอดภัย" (GRAS) สำหรับน้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ที่มีกรด ALA สูง[14]

สารอาหาร แก้

องค์ประกอบของน้ำมันเมล็ดแฟลกซ์
กรดไขมันปกติ %[15] % (ยุโรป)[16]
กรดปาลมิติก 6.0 4.0-6.0
Stearic acid 2.5 2.0-3.0
กรดอะราคิดิก 0.5 0-0.5
Palmitoleic acid - 0-0.5
กรดโอเลอิก 19.0 10.0-22.0
Eicosenoic acid - 0-0.6
กรดลิโนเลอิก 24.1 12.0-18.0
กรดลิโนเลนิกอัลฟา 47.4 56.0-71.0
อื่น ๆ 0.5 -

ส่วนสภาแฟลกซ์แห่งแคนาดาระบุว่ามีสารอาหาร[17] ต่อช้อนโต๊ะคือ 14 กรัม

น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ไม่มีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต หรือใยอาหาร

การใช้อื่น ๆ แก้

  • ผลิตภัณฑ์ดูแลสัตว์เลี้ยง
  • เพื่อดำรงสภาพ/รักษาจักรยาน เช่น เพื่อกันสนิมหรือเป็นน้ำมันหล่อลื่น
  • ใช้ทำเครื่องประดับบ้าน/เครื่องใช้ เช่นในการแต่งคิ้ว
  • ใช้ทาพื้นซึ่งทำด้วยดิน
  • อาหารสัตว์
  • น้ำมันหล่อลื่นในอุตสาหกรรม
  • ใช้แต่งผลิตภัณฑ์หนัง
  • ผ้าน้ำมัน
  • ใช้กับเครื่องตรวจจับอนุภาค/เครื่องตรวจหารังสี[18]
  • สิ่งทอ
  • ใช้รักษาไม้ (รวมทั้งเป็นสารออกฤทธิ์ในน้ำมันเดนิช) [ต้องการอ้างอิง]
  • ใช้เคลือบภาชนะหุงต้มในครัว

น้ำมันลินซีดแปรรูป แก้

น้ำมันสแตนด์ (stand oil)/น้ำมันลินซีดโพลีเมอร์ แก้

น้ำมันโพลีเมอร์ทำโดยให้ความร้อนแก่น้ำมันลินซีดใกล้ ๆ 300 °C เป็นเวลา 2-3 วัน ในที่ที่ไม่มีอากาศ ในสภาพเช่นนี้ เอสเตอร์ไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่จะกลายเป็น diene (ไฮโดรคาร์บอนที่มีพันธะคาร์บอนคู่ 2 คู่) แล้วเกิดปฏิกิริยา Diels-Alder reaction ทำให้โซ่โพลีเมอร์เชื่อมเข้าด้วยกัน (crosslink) ผลิตผลที่เหนียวมากนี้ สามารถใช้เคลือบผิวที่เมื่อแห้งแล้วยืดหยุ่นได้ดีกว่าน้ำมันลินซีดเอง ผิวเคลือบที่ได้จากน้ำมันเช่นนี้จะกลายเป็นสีเหลืองน้อยกว่าเมื่อใช้น้ำมันลินซีด

แม้น้ำมันถั่วเหลืองก็แปรรูปผ่านกระบวนการเช่นนี้ได้เหมือนกัน แต่จะแปรรูปช้ากว่า แต่น้ำมันตังอิ๊ว (tung oil) จะแปรรูปได้เร็วกว่าภายในเวลาเป็นนาที ๆ ที่อุณหภูมิ 260 °C[19]

น้ำมันลินซีดต้ม แก้

น้ำมันลินซีดต้ม (boiled linseed oil) เป็นน้ำมันที่ผสมน้ำมันลินซีดดิบ น้ำมันลินซีดโพลีเมอร์ และสารทำแห้งโลหะ (ซึ่งเป็นตัวเร่งให้แห้ง)[19] ในสมัยกลาง น้ำมันลินซีดจะต้มกับตะกั่วออกไซด์ (lead oxide, ตะกั่วเหลือง) กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า น้ำมันลินซีดต้ม[20] [ต้องการเลขหน้า] ตะกั่วออกไซด์ที่เป็นแอลคาไลน์ จะโปรโหมตกระบวนการพอลิเมอไรเซชัน (คือการชักแห้ง) ของน้ำมันลินซีดเมื่อเกิดปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ และการให้ความร้อนจะช่วยให้แห้งเร็วขึ้น

น้ำมันลินซีดดิบ แก้

น้ำมันลินซีดดิบก็คือน้ำมันเปล่า ๆ ที่ไม่ได้แปรรูป ไม่ได้เติมสารทำแห้งหรือทินเนอร์ ซึ่งโดยมากใช้เป็นอาหารสัตว์หรือทำเป็นน้ำมันต้ม มันไม่แข็งดีพอหรือเร็วพอเพื่อจัดเป็นน้ำมันชักแห้ง (drying oil)[21] น้ำมันลินซีดดิบบ่อยครั้งใช้ทาไม้คริกเกตเพื่อเพิ่มแรงเสียดผิวซึ่งช่วยให้คุมลูกบอลได้ดีกว่า[22] และยังใช้ทาสายพานหนังแบนเพื่อให้ลื่นน้อยลง

การติดไฟเอง แก้

ผ้าขี้ริ้วชุ่มน้ำมันลินซีดวางเป็นกองจัดว่าเสี่ยงอัคคีภัยเพราะมันให้พื้นที่ขนาดใหญ่สำหรับกระบวนการออกซิเดชันของน้ำมันซึ่งอาจเกิดเร็วมาก เป็นปฏิกิริยาคายความร้อน ซึ่งยิ่งเกิดเร็วยิ่งขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น เมื่อความร้อนที่สะสมเกินอัตราการระบายความร้อนสู่สิ่งแวดล้อม อุณหภูมิก็จะสูงขึ้นและอาจร้อนพอให้ผ้าขี้ริ้วติดไฟเอง[23]

ในปี 1991 ตึก 38 ชั้นคือ One Meridian Plaza ในนครฟิลาเดลเฟียเสียหายอย่างรุนแรงโดยมีเจ้าหน้าที่ดับเพลิง 3 ท่านเสียชีวิตในอัคคีภัยที่เชื่อว่าเกิดจากผ้าขี้ริ้วชุ่มน้ำมันลินซีด[24] ต่อมาต้องทุบตึกทิ้ง เป็นตึกสูงเป็นอันดับ 3 ในโลกที่ถูกทำลายจนถึงปี 1999 และอันดับ 7 จนถึงปี 2006[25]

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. Jones, Frank N. (2003). "Alkyd Resins". doi:10.1002/14356007.a01_409. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  2. "'Rezept Kartoffeln mit Leinoel'".
  3. Vereshagin, AG; Novitskaya, GV (1965). "The triglyceride composition of linseed oil" (PDF). Journal of the American Oil Chemists' Society. 42: 970–974. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-04-07. สืบค้นเมื่อ 2019-01-04.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  4. de la Rie, E René (1982). "Fluorescence of Paint and Varnish Layers (Part II)". Studies in Conservation. 27 (2): 65–69.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  5. Flexner, Bob (2005). Understanding Wood Finishing. Reader's Digest Association. p. 75.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  6. Laver, James. "Preparing Your Cricket Bat - Knocking In". ABC of Cricket. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-28.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  7. Diller, S; Diller, J (2004). Craftsman's Construction Installation Encyclopedia. Craftsman Book Company. p. 503.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  8. Rayfield, Julie K (1994). The Office Interior Design Guide: An Introduction for Facility and Design Professionals. John Wiley & Sons. p. 209.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  9. "Flax Seed Oil". Busy Women's Fitness. สืบค้นเมื่อ 2008-01-24.
  10. D. Berab; D. Lahirib & A. Naga (June 2006). "Studies on a natural antioxidant for stabilization of edible oil and comparison with synthetic antioxidants". Journal of Food Engineering. 74 (4): 542–545. doi:10.1016/j.jfoodeng.2005.03.042.
  11. "Oxidative stability of flaxseed lipids during baking". สืบค้นเมื่อ 2013-01-29.
  12. Muir, Alister D (2003). Flax, The genus Linum. Taylor & Francis Ltd. p. 298.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  13. Thompson, Lilian U.; Cunnane, Stephen C., บ.ก. (2003). Flaxseed in human nutrition (2nd ed.). AOCS Press. pp. 8–11. ISBN 1-893997-38-3.
  14. "U.S. FDA/CFSAN Agency Response Letter GRAS Notice No. GRN 00256". U.S. FDA/CFSAN. สืบค้นเมื่อ 2013-01-29.
  15. "Linseed" (PDF). Interactive European Network for Industrial Crops and their Applications. 2002-10-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-05-27. สืบค้นเมื่อ 2008-01-24.
  16. Deutsche Gesellschaft für Fettwissenschaft (see 'Leinöl Europa': Fettsäurezusammensetzung wichtiger pflanzlicher und tierischer Speisefette und -öle เก็บถาวร 2008-12-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (PDF)
  17. "Flax - A Healthy Food". Flax Council of Canada. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-06. สืบค้นเมื่อ 2008-01-24.
  18. Goldberg, Leah (2008-10-26). "Measuring Rate Capability of a Bakelite-Trigger RPC Coated with Linseed Oil". American Physical Society. Bibcode:2008APS..DNP.DA033G.
  19. 19.0 19.1 Poth, Ulrich (2002). Drying Oils and Related Products. Ullmann's Encyclopedia of Industrial Chemistry. Weinheim, Germany: Wiley-VCH. doi:10.1002/14356007.a09_055.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  20. Merrifield, Mary P. (2012). Medieval and Renaissance Treatises on the Arts of Painting: Original Texts. Dover Publications, Inc. ISBN 0486142248.
  21. Franks, George (1999). Classic Wood Finishing (2nd ed.). Sterling. p. 96. ISBN 0806970634.
  22. "Caring for your Bat". Gunn & Moore.
  23. Ettling, Bruce V.; Adams, Mark F. (1971). "Spontaneous combustion of linseed oil in sawdust". Fire Technology. 7 (3): 225. doi:10.1007/BF02590415.
  24. Routley, J. Gordon; Jennings, Charles; Chubb, Mark (February 1991), "Highrise Office Building Fire One Meridian Plaza Philadelphia, Pennsylvania" (PDF), Report USFA-TR-049, Federal Emergency Management Agency, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-02-24, สืบค้นเมื่อ 2019-01-04
  25. Ash, Russell (2006). The Top 10 of Everything 2007. New York: Sterling Publishing Company. p. 86. ISBN 978-0-600-61557-6.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้