สมเด็จพระอนุชนโรดม อรุณรัศมี
สมเด็จราชบุตรี พระอนุช นโรดม อรุณรัศมี (เขมร: សម្តេចរាជបុត្រីព្រះអនុជ នរោត្តម អរុណរស្មី; ประสูติ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2498) เป็นนักการเมืองชาวกัมพูชา และเป็นพระราชธิดาองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ กับหม่อมมะนีวัน พานีวง บาทบริจาริกาชาวลาว
นโรดม อรุณรัศมี | |
---|---|
สมเด็จราชบุตรีพระอนุช[ก] | |
ประสูติ | 2 ตุลาคม พ.ศ. 2498 พนมเปญ อาณาจักรกัมพูชา |
พระสวามี | หม่อมราชวงศ์สีสุวัตถิ์ สิริรัฐ (หย่า) แก้ว พุทธรัศมี |
พระบุตร | หม่อมราชวงศ์สีสุวัตถิ์ นาเกีย หม่อมราชวงศ์สีสุวัตถิ์ นนโท หม่อมราชวงศ์สีสุวัตถิ์ สิริกิต นาตาลี หม่อมเจ้านโรดม รัศมีปนิตา หม่อมเจ้านโรดม รัศมีเขมมุนี |
ราชวงศ์ | ตรอซ็อกผแอม (สายราชสกุลนโรดม) |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ |
พระมารดา | มะนีวัน พานีวง |
ศาสนา | พุทธ |
ประวัติ
แก้สมเด็จพระอนุชนโรดม อรุณรัศมี ประสูติเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2498 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เป็นพระราชธิดาพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ กับหม่อมมะนีวัน พานีวง หม่อมชาวลาวจากเมืองเวียงจันทน์ ประเทศลาว โดยพระชนกของพระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ โปรดหม่อมชาวลาวนางนี้มาก จึงได้พระราชนิพนธ์เพลง บุปผาเวียงจันทน์ พระราชทานแด่ชนนีของพระองค์ และถือเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ที่มีชื่อเสียงมากเพลงหนึ่ง[1]
สมเด็จพระอนุชนโรดม อรุณรัศมี ทรงสำเร็จการศึกษาจาก Petit Lycée Descartes ในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา และโรงเรียนคาทอลิกมาร์แตเดอีในแกบ นอกจากภาษาเขมรแล้ว พระองค์สามารถรับสั่งเป็นภาษาลาว ภาษาไทย ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอังกฤษได้
สมเด็จพระอนุชนโรดม อรุณรัศมี เคยเป็นพระราชอาคันตุกะพิเศษของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในการจัดโครงการสัมมนาดนตรีของไทยและกัมพูชา เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2537 ณ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย[2]
พระองค์ได้เล่นการเมืองในพรรคฟุนซินเปก (FUNCINPEC)[3]
สมรส
แก้สมเด็จพระอนุชนโรดม อรุณรัศมี เสกสมรสกับนักองค์ราชวงศ์สีสุวัตถิ์ สิริรัฐ ภายหลังได้หย่ากัน และได้เสกสมรสอีกครั้งกับนายแก้ว พุทธรัศมี มีโอรส-ธิดาด้วยกัน 5 พระองค์ ได้แก่[4][5]
- หม่อมราชวงศ์สีสุวัตถิ์ สิริรัฐ มีพระโอรสสองพระองค์ และพระธิดาพระองค์เดียว ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์สีสุวัตถิ์ นาเกีย (4 สิงหาคม พ.ศ. 2518)
- หม่อมราชวงศ์สีสุวัตถิ์ นันโท (16 มิถุนายน พ.ศ. 2520)
- หม่อมราชวงศ์สีสุวัตถิ์ สิริกิต (9 ตุลาคม พ.ศ. 2522) สมรสแล้วกับชาลส์ เมลวิน ไฮด์ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2547[6]
- แก้ว พุทธรัศมี มีพระโอรสและพระธิดาอย่างละคน ได้แก่
- หม่อมเจ้านโรดม รัศมีปนิตา
- หม่อมเจ้านโรดม รัศมีเขมมุนี
พระอิสริยยศและราชอิสริยาภรณ์
แก้เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ได้พระราชทานพระอิสริยยศที่ "พระองค์มจะ (พระองค์เจ้า) ราชบุตรีพระอนุช" ("Preah Ang Machas Reach Botrei Preah Anoch") และได้รับกาารเฉลิมพระอิสริยยศอีกครั้งโดยพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ เป็น "สมเด็จราชบุตรีพระอนุช" ("Somdech Reach Botrei Preah Anoch") ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2547 สมเด็จพระอนุชนโรดม อรุณรัศมีทรงได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างๆ หลายประเภท โดยทรงได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์สมเด็จพระมหากษัตริยานี สีสุวัตถิ์ กุสุมะ นารีรัตน์ สิริวัฒนา, เครื่องอิสริยยศมุนีสาราภัณฑ์ชั้นที่ 4 (Commander of the Royal Order of Monisaraphon) และอื่น ๆ
เชิงอรรถ
แก้- หมายเหตุ
ก ลำดับสกุลยศของราชสำนักกัมพูชา "สมเด็จพระราชบุตร/บุตรี" คือพระราชโอรสธิดาของพระเจ้าแผ่นดินกับพระอัครชายา เทียบได้กับ "เจ้าฟ้าชั้นโท หรือชั้นสมเด็จ" ของราชสำนักไทย[7] และ "พระอนุช" เป็นราชาศัพท์เขมร แปลว่า "น้องชาย/น้องสาว"[8]
- อ้างอิง
- ↑ คึกฤทธิ์ ปราโมช. ถกเขมร. ก้าวหน้า : พระนคร, พิมพ์ครั้งที่ 3, ตุลาคม 2506. หน้า 208
- ↑ "วงมโหรีปี่พาทย์ Khmer Orchestra จาก.สุรินทร์ .สู่..การบรรเลงเพลงที่ .อยุธยา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2010-10-04.
- ↑ "Nationality questions generate debate" เก็บถาวร 2008-05-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Angus Reid Global Monitor.
- ↑ Preah Ang Mechas Norodom Arun Rasmy
- ↑ Vong Sokheng (18 October 2007). "Royalists nominate princess for PM slot". Phnom Penh Post. สืบค้นเมื่อ 23 March 2015.
- ↑ "A Cambodian princess marries". The Star. Saturday January 15, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-11. สืบค้นเมื่อ 2010-10-10.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ ยรรยงค์ สิกขะฤทธิ์ (2559). การศึกษาเปรียบเทียบราชาศัพท์ในภาษาไทยและภาษาเขมรจากมุมมองข้ามสมัย (PDF). คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 395.
- ↑ ยรรยงค์ สิกขะฤทธิ์ (2559). การศึกษาเปรียบเทียบราชาศัพท์ในภาษาไทยและภาษาเขมรจากมุมมองข้ามสมัย (PDF). คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 5.