นากยักษ์
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Mustelidae
วงศ์ย่อย: Lutrinae
สกุล: Pteronura
Gray, 1837
สปีชีส์: Pteronura brasiliensis
ชื่อทวินาม
Pteronura brasiliensis
(Gmelin, 1788)
ชนิดย่อย
  • P. b. brasiliensis (Gmelin, 1788)
  • P. b. paraguensis (Schinz, 1821)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์

นากยักษ์ (อังกฤษ: giant otter; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pteronura brasiliensis) เป็นนากชนิดหนึ่ง จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Pteronura แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย (ดูในตาราง)[2]

ลักษณะ

แก้

จัดอยู่ในวงศ์เพียงพอน (Mustelidae) เป็นนากที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยมีขนาดลำตัวยาวได้ถึง 1.5–1.7 เมตร และน้ำหนักกว่า 26–32 กิโลกรัม ในตัวผู้ ขณะที่ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย มีขนสีน้ำตาลเข้ม โดยมีขนที่สั้นกว่านากชนิดอื่น ๆ ใต้ท้องตั้งแต่ช่วงคอและหน้าอกมีขนสีขาวขึ้นแซม ซึ่งจะแตกต่างออกไปตามแต่ตัว อันเป็นเอกลักษณะเฉพาะตัว

ถิ่นที่อยู่

แก้

นากยักษ์กระจายพันธุ์ในพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ในป่าดิบชื้นทวีปอเมริกาใต้ เช่น ลุ่มแม่น้ำแอมะซอนและพื้นที่ชุ่มน้ำปังตานัล

พฤติกรรม

แก้

มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ สมาชิกในครอบครัวประกอบไปด้วย พ่อ, แม่ และลูก รวมกันแล้วประมาณ 12 ตัว ซึ่งแม่นากจะสอนลูกว่ายน้ำและหากิน หากินโดยกินปลาและสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เช่น ปูหรือกุ้ง เป็นอาหาร โดยแต่ละฝูงจะมีอาณาบริเวณหากินที่ชัดเจน และมีเสียงร้องที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่ม แต่นากยักษ์ก็ยังตกเป็นเหยื่อของสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่า โดยเฉพาะนากวัยอ่อน เช่น จระเข้เคย์แมน, เสือจากัวร์ หรืองูอนาคอนดา ซึ่งนากยักษ์ขนาดโตเต็มที่สามารถฆ่าจระเข้เคย์แมน รวมถึงงูอนาคอนดาได้ แต่จะไม่กิน ลูกนากใช้เวลาประมาณ 2-3 ปีกว่าจะโตเต็มที่[3]

สถานะ

แก้

นากยักษ์เป็นสัตว์ที่อยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ โดยระหว่าง ค.ศ. 1950–1960 มีปริมาณลดลงอย่างรวดเร็ว และตกอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ใน ค.ศ. 1999 มีจำนวนประชากรประมาณ 5,000 ตัวในป่าของกายอานา ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งที่อยู่แหล่งสุดท้ายในธรรมชาติ ถือเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งที่ใกล้สูญพันธุ์ในภูมิภาคเขตร้อน โดยถูกคุกคามถิ่นอยู่อาศัย และในสถานที่เลี้ยง นากยักษ์ก็เป็นสัตว์ที่เลี้ยงให้รอดได้ยาก โดยใน ค.ศ. 2003 มีจำนวนประชากรในสถานที่เลี้ยงโดยมนุษย์เพียงแค่ 60 ตัวเท่านั้น[4][5][6]

อ้างอิง

แก้
  1. Duplaix, N., Waldemarin, H.F., Groenedijk, J., Munis, M., Valesco, M. & Botello, J.C. (2008). Pteronura brasiliensis. In: IUCN 2008. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 6 March 2009. Database entry includes justification for why this species is endangered
  2. จาก itis.gov
  3. "สารคดี BBC : มนต์เสน่ห์แห่งอเมริกาใต้ ตอนที่ 3 คลิป 1/2". ช่อง 7. 16 December 2014. สืบค้นเมื่อ 17 December 2014.
  4. Raising Sancho made me cry.[ลิงก์เสีย]
  5. d Londono, G. Corredor; Munoz, N. Tigreros (2006). "Reproduction, behaviour and biology of the Giant river otter (Pteronura brasiliensis) at Cali Zoo". International Zoo Yearbook 40: 360–371. doi:10.1111/j.1748-1090.2006.00360.x.
  6. Giant Otter". Meet Our Animals. Philadelphia Zoo. http://www2.philadelphiazoo.org/zoo/Meet-Our-Animals/Mammals/Carnivores/Giant-River-Otter.htm เก็บถาวร 2007-10-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 2007-11-06.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Pteronura brasiliensis ที่วิกิสปีชีส์