นกออก หรือ อินทรีทะเลท้องขาว (อังกฤษ: White-bellied Sea-eagle, White-bellied Fish-eagle, White-breasted Sea Eagle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Haliaeetus leucogaster) เป็นนกขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งจำพวกเหยี่ยวและอินทรี

นกออก
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix II (CITES)[2]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์ปีก
Aves
อันดับ: เหยี่ยว
Accipitriformes
วงศ์: เหยี่ยวและนกอินทรี
Accipitridae
สกุล: Haliaeetus
Haliaeetus
Gmelin, 1788
สปีชีส์: Haliaeetus leucogaster
ชื่อทวินาม
Haliaeetus leucogaster
Gmelin, 1788
ขอบเขตทั้งชนิดนี้กับอินทรีทะเลแซนฟอร์ดอยู่ในสีเขียว แต่ตัวหลังอยู่ในวงกลมสีน้ำเงินซีดกว่า
ชื่อพ้อง

Ichthyaetus blagrus Blyth, 1843

ลักษณะ

แก้

ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ตัวที่โตเต็มวัยแล้ว บริเวณหัว อก และลำตัวด้านล่างมีสีขาว ด้านบนมีสีน้ำตาลเทา หางและปีกเป็นสีเทาเข้ม ปลายหางมีสีขาว นกขนาดเล็กมีสีน้ำตาลทั้งตัว เมื่อมีอายุได้ราว 3 ปีจึงมีลักษณะดังกล่าว ขณะบินเห็นปีกค่อนข้างหักเป็นมุมเหนือลำตัว หางสีน้ำตาล ปลายหางสีขาวเป็นหางพลั่วชัดเจน

จัดเป็นนกขนาดใหญ่ เพราะมีขนาดความยาวลำตัวสูงสุดถึง 66 - 69 เซนติเมตร

พฤติกรรมและการสืบพันธุ์

แก้

นกออกมักอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ ชอบอยู่ตามชายฝั่งทะเล, ทะเลสาบหรือแม่น้ำขนาดใหญ่ ชอบหากินบริเวณใกล้เคียงกับที่ทำรังอยู่ และมักใช้รังเป็นที่สะสมอาหารด้วย ชอบทำรังใกล้ที่อยู่ของมนุษย์ ชอบส่งเสียงร้องในเวลาเช้าและเย็น หาอาหารหลักในน้ำ ได้แก่ ปลาและงูทะเล ด้วยการเกาะกิ่งไม้หรือร่อนกลางอากาศ คอยจ้องหาเหยื่อในน้ำ เมื่อพบจะบินลงโฉบด้วยกรงเล็บ จากนั้นจึงนำไปฉีกกินบนกิ่งไม้หรือรังที่พัก

เริ่มผสมพันธุ์ในช่วงฤดูหนาว ถึงฤดูร้อน ทำรังอยู่บนต้นไม้บนหน้าผาริมชายทะเลหรือใกล้แหล่งน้ำที่ใช้หากิน รังของนกออกเป็นแบบง่าย ๆ โดยนำกิ่งไม้มาซ้อนกัน มีขนาดใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.25 - 1.50 เมตร ลึก 50 - 70 เซนติเมตร ไข่มีสีขาว วางไข่ ครั้งละ 2 ฟอง ทั้งตัวผู้และตัวเมียต่างก็ช่วยกันฟักไข่ และเลี้ยงลูกอ่อน

การกระจายพันธุ์และสถานภาพ

แก้

พบในทวีปยุโรป, ออสเตรเลีย และทวีปเอเชีย สำหรับประเทศไทยพบอยู่ในจังหวัดที่อยู่บนชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกและภาคใต้

นกออกถือเป็นนกประจำถิ่นในประเทศไทย แต่ปริมาณในธรรมชาติพบไม่มากนัก จึงเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535[3] [4]

อ้างอิง

แก้
  1. IUCN Red List 2012.
  2. "Appendices | CITES". cites.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
  3. "นกออก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-26. สืบค้นเมื่อ 2010-06-02.
  4. รายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครองของไทย

ข้อมูลทั่วไป

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้