ธรรมจักษุ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
นิตยสารธรรมจักษุ เป็นนิตยสารทางพระพุทธศาสนาเล่มแรกของไทย โดยออกตีพิมพ์ครั้งแรกสุดเมื่อเดือนตุลาคม 2437 โดยการบุกเบิกของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระองค์ได้ทรงพยายามแปลพระสูตรต่างๆ ในพระไตรปิฎกที่ยังไม่เคยมีผู้ใดแปลมาก่อนมาเป็นภาษาไทย แล้วทยอยนำลงในนิตยสารธรรมจักษุ ในเวลาเดียวกัน ก็มีการอธิบายธรรมให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไปด้วย ทำให้นิตยสารธรรมจักษุกลายเป็นนิตยสารทางพระพุทธศาสนาเล่มแรกที่ไม่เพียงแต่จะนำเสนอเนื้อหาสาระทางพระพุทธศาสนาจากพระไตรปิฎก ซึ่งเดิมนั้น มีอยู่ในใบลาน เป็นภาษาบาลีเท่านั้น ยังเป็นนิตยสารทางพระพุทธศาสนาเล่มแรกที่กระตุ้นให้เกิดการประยุกต์หลัก พุทธธรรม มาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมร่วมสมัยอย่างกว้างขวางด้วย
คณะทำงานประจำนิตยสารธรรมจักษุในปัจจุบัน
แก้- คณะที่ปรึกษา
- น.อ.(พิเศษ)วีระ วัฒนนิรันดร์
- น.อ.(พิเศษ)วุฒิ อ่อนสมกิจ
- น.อ.ประยงค์ สุวรรณบุบผา
- นายพิพัฒน์ บุญยง
- นายสุชิน ทองหยวก
- รศ.สุเชาวน์ พลอยชุม
- คณะทำงาน
- แสง จันทร์งาม บรรณาธิการ
- ทองเลี่ยม มาละลา ผู้ช่วยบรรณาธิการ
- วิโรจน์ สายดนตรี ผู้ช่วยบรรณาธิการ
- พจนารถ สุพรรณกูล ผู้ช่วยบรรณาธิการ
- ณรงค์ เสริมสกุลวัฒน์ ผู้ช่วยบรรณาธิการ
- สงบ เทพเทียนทัศ ผู้ช่วยบรรณาธิการ
- ปราโมทย์ เพ็งโคตร ผู้ช่วยบรรณาธิการ
สำนักงานติดต่อ
แก้สำนักงานกองบรรณาธิการนิตยสารธรรมจักษุ ตึกแผนกผลประโยชน์ มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร