ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แสง จันทร์งาม (13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2470 - 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2561) พื้นเพเป็นชาวบ้านฮ่องเดื่อ ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มีเชื้อสายลาว เป็นนักศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัยรุ่นแรก และนับเป็นพระนักศึกษามหาวิทยาลัยสงฆ์รูปแรกที่มีความสามารถระดับบรรยายธรรมเป็นภาษาอังกฤษต่อหน้าชุมนุมชน โดยท่านแสดงปาฐกถาธรรมครั้งแรกตามคำแนะนำของ "พระศรีวิสุทธิญาณ" (อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ) ผู้เป็นอาจารย์ ที่หอประชุมมหามกุฏราชวิทยาลัย หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร หลังจากสำเร็จการศึกษาจาก มหามกุฏราชวิทยาลัย อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพได้สนับสนุนให้ท่านได้ทุนจาก มูลนิธิบริติช เคาน์ซิล ไปศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรภาษาอังกฤษระดับสูง ที่มหาวิทยาลัยลอนดอน ในประเทศอังกฤษและหลังจากสำเร็จการศึกษา ก็ได้ทุนการศึกษาจากมูลนิธิเอเซียเพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่ มหาวิทยาลัยมิชิแกนในสหรัฐอเมริกา

แสง จันทร์งาม

เกิด13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2470
จังหวัดขอนแก่น ประเทศสยาม
เสียชีวิต20 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 (91 ปี)
อาชีพนักวิชาการ
สัญชาติไทย ไทย

เกียรติคุณ แก้

ศาสตราจารย์ แสง จันทร์งามเป็นศิษย์ท่านอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ รุ่นแรกสุด และเป็นรุ่นพี่ของ อาจารย์วศิน อินทสระ, รศ.สุเชาวน์ พลอยชุม,ท่านเป็นนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงเอกอุจากนวนิยายอิงธรรมะหลายเรื่อง โดยเฉพาะลีลาวดี โดยใช้นามปากกาว่า ธรรมโฆษ เจริญรอยตามท่านอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพซึ่งสร้างชื่อจากการเขียนนวนิยายอิงธรรมะไปทั่วประเทศ ศ.เกียรติคุณแสง จันทร์งามเป็นศิษย์ใกล้ชิดอาจารย์สุชีพท่านหนึ่งในระยะแรกๆ ที่มีการรื้อฟื้นมหาวิทยาลัยสงฆ์ในสมัย อาจารย์ สุชีพ ปุญญานุภาพยังเป็นพระภิกษุ โดยท่านยังเป็นพระนักศึกษา ท่านอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพระหว่างนั้นยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระศรีวิสุทธิญาณได้ให้พระมหาแสง โฆสธมฺโม ร่วมเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจในที่ต่างๆ เช่น ประเทศศรีลังกา ประเทศอินเดีย ประเทศพม่า และประเทศมาเลเซีย ท่านศ.แสง จันทร์งามจึงซึมซับเอาวิธีคิดและวิธีการทำงานของท่านอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพไว้ไม่ใช่น้อย

ความสามารถทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนาของท่านอาจารย์แสงทำให้ท่านได้รับการยกย่องไปทั่วในหมู่พระสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกาชาวพุทธว่าเป็น เพชรน้ำเอกทางพระพุทธศาสนาแห่งเมืองเหนือ ตามรอยอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ บ้างก็ยกย่องท่านเป็น นักวิชาการทางพระพุทธศาสนาหมายเลข 1 แห่งล้านนาไทย นับเป็นนักบรรยายธรรมทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดท่านหนึ่งของประเทศไทยในปัจจุบัน

  • ได้รับพระราชทานเสมาทองคำ พ.ศ. 2529 ประเภทผู้บำเพ็ญประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาดีเด่นด้วยการเขียน
  • ได้รับรางวัลครูบาศรีวิชัยประเภทผู้บำเพ็ญประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาดีเด่นประจำภาคเหนือ พ.ศ. 2536
  • ได้รับวุฒิบัตรเชิดชูเกียรติคุณจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2548
  • ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่นแห่งชาติ สาขาพัฒนาสังคม ปี พ.ศ. 2550 จากสำนักนายกรัฐมนตรี
  • ได้รับรางวัลศิลปินมรดกอีสาน สาขาวรรณศิลป์ จากเรื่อง ลีลาวดี ปี พ.ศ. 2551 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ได้รับรางวัลนราธิป ของสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2551 (เข้ารับรางวัลในวันที่ 31 มกราคม 2552)
  • ได้รับรางวัลพุทธคุณูปการ ชั้นกาญจนเกียรติคุณ ประจำปี 2552 จาก คณะกรรมการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ชีวิตครอบครัว แก้

 
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แสง จันทร์งาม ได้รับรางวัลศิลปินมรดกอีสาน สาขาวรรณศิลป์

ชีวิตครอบครัวสมรสกับคุณสะสม จันทร์งาม มีบุตร-ธิดารวม 2 คน

เสียชีวิต แก้

ศาสตราจารย์แสง เสียชีวิตเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 อายุได้ 91 ปี

ประวัติการศึกษา ควรระบุปีบวช และปีสึก เช่นเดียวกับของ อ.วศิน อินทสระ แก้

ตำแหน่งทางวิชาการ แก้

หน้าที่การงาน แก้

ผลงานทางวิชาการ แก้

ศาสตราจารย์เกียรติคุณแสง จันทร์งามมีผลงานที่เป็นบทความทางวิชาการเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 100 เรื่องกระจัดกระจายอยู่ตามนิตยสารทางพระพุทธศาสนา, หนังสือพิมพ์รายวันและหนังสือที่พิมพ์ในโอกาสพิเศษต่างๆ มีผลงานตีพิมพ์ด้านพระพุทธศาสนาเป็นรูปเล่มจำนวนมาก อาทิ:-

ประเภทตำรา

ประเภทนิยายอิงหลักธรรม

  • ลีลาวดี ภาค 1, 2, 3
  • ธรรมธารา
  • ตะวันออก-ตะวันตก
  • พบพระ
  • ธรรมลีลา

ประเภทนิทาน

  • นิทานปรัชญาชีวิต
  • นิทานคติธรรม
  • เรียนภาษาอังกฤษด้วยนิทานสนุก
  • ธรรมหรรษา

ประเภทสารคดีธรรมะ

  • ปรากฏการณ์ทางจิต
  • เกร็ดธรรม
  • Buddhism and Thai people
  • รังษีธรรม
  • ประทีปธรรม
  • สร้างอำนาจจิตวิทยา
  • ความเชื่อพิสดารของคน
  • อริยสัจ 4
  • พระพุทธศาสนาในล้านนาไทย
  • จิตและการทำงานของจิต

ประเภทปริศนาธรรม

  • นักโทษประหาร
  • โรงพยาบาลใหญ่เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
  2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๕, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘