ท่าอากาศยานนานาชาติจูวันดา
ท่าอากาศยานนานาชาติจูวันดา (อินโดนีเซีย: Bandar Udara Internasional Juanda) (IATA: SUB, ICAO: WARR) เป็นสนามบินนานาชาติในตำบลเซอดาตี อำเภอซีโดอาร์โจ จังหวัดชวาตะวันออก เป็นหนึ่งในสนามบินหลักของประเทศอินโดนีเซีย อยู่ห่างจากตัวเมืองซูราบายา 12 กิโลเมตร (8 ไมล์) ดำเนินการโดยบริษัทอังกาซาปูรา ส่วนชื่อสนามบินตั้งตามชื่อจูวันดา การ์ตาวีจายา อดีตนายกรัฐมนตรีอินโดนีเซียผู้ริเริ่มการพัฒนาสนามบินแห่งนี้ ท่าอากาศยานนานาชาติจูวันดาเป็นหนึ่งในท่าอากาศยานที่หนาแน่นที่สุดในประเทศ ค.ศ. 2010 สนามบินมีสถิติผู้โดยสาร 11 ล้านคน บางชั่วโมงมีเที่ยวบินถึง 40-45 เที่ยวบิน[1] ในปี ค.ศ. 2013 สนามบินมีสถิติเที่ยวบิน 400 เที่ยวต่อวัน[2]
ท่าอากาศยานนานาชาติจูวันดา Bandar Udara Internasional Juanda | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลสำคัญ | |||||||||||
การใช้งาน | พาณิชย์ / การทหาร | ||||||||||
เจ้าของ | รัฐบาลอินโดนีเซีย | ||||||||||
ผู้ดำเนินงาน | อังกาซาปูราที่ 1 | ||||||||||
พื้นที่บริการ | ซูราบายา | ||||||||||
ที่ตั้ง | ซีโดอาร์โจ จังหวัดชวาตะวันออก ประเทศอินโดนีเซีย | ||||||||||
เปิดใช้งาน | 7 กุมภาพันธ์ 1964 | ||||||||||
ฐานการบิน | |||||||||||
เมืองสำคัญ | |||||||||||
เขตเวลา | เวลาอินโดนีเซียตะวันตก (UTC+07:00) | ||||||||||
เหนือระดับน้ำทะเล | 9 ฟุต / 3 เมตร | ||||||||||
พิกัด | 07°22′47″S 112°47′13″E / 7.37972°S 112.78694°E | ||||||||||
เว็บไซต์ | juanda-airport.com | ||||||||||
ภูมิภาคชวาในประเทศอินโดนีเซีย | |||||||||||
ทางวิ่ง | |||||||||||
| |||||||||||
สถิติ (2017) | |||||||||||
| |||||||||||
ปัจจุบัน เป็นฐานการบินหลักของสายการบินซิตีลิงก์, การูดาอินโดนีเซีย, อินโดนีเซียแอร์เอเชีย, ไลอ้อนแอร์ และซรีวีจายาแอร์ เช่นเดียวกันกับท่าอากาศยานนานาชาติซูการ์โน-ฮัตตา
ในปี ค.ศ. 2014 ได้รับการจัดอันดับเป็นสนามบินที่มีคุณภาพการให้บริการดีที่สุดในโลก โดยได้อันดับที่ 10 จาก 79 สนามบินในกลุ่มที่มีผู้โดยสาร 5-15 ล้านคนต่อปี[3] และในต้นปี ค.ศ. 2015 ได้ขยับขึ้นมาเป็นอันดับที่ 7[4]
ประวัติ
แก้เปิดใช้งานในปี ค.ศ. 1964 ในฐานะฐานทัพอากาศนาวี แทนที่ฐานทัพเดิมซึ่งอยู่ที่โมรกเริมบางัน ใกล้ท่าเรือตันจุงเปรัก ต่อมาได้กลายเป็นสนามบินพาณิชย์ และในวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 1990 ได้พัฒนาเป็นสนามบินนานาชาติ อย่างไรก็ตาม ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1987 เคยมีเที่ยวบินไปยังสิงคโปร์, ฮ่องกง, ไทเป และมะนิลา[5]
สถิติ
แก้ปี ค.ศ. | จำนวนผู้โดยสาร[6] | จำนวนสินค้า (ตัน) | จำนวนเที่ยวบิน |
---|---|---|---|
1999 | 2,137,353 | 40,549 | 52,284 |
2000 | 2,712,074 | 31,185 | 54,154 |
2001 | 3,301,435 | 37,767 | 62,141 |
2002 | 4,746,113 | 43,089 | 75,921 |
2003 | 6,584,711 | 42,910 | 82,779 |
2004 | 8,562,747 | 63,950 | 97,421 |
2005 | 8,217,415 | 66,647 | 99,485 |
2006 | 8,986,650 | 71,574 | 91.209 |
2007 | 8,823,228 | 58,815 | 87,687 |
2008 | 9,122,196 | 62,289 | 69,726 |
2009 | 10,562,906 | 62,357 | 76,754 |
2010 | 12,072,059 | 76,774 | 84,958 |
2011 | 13,778,287 | 95,146 | 103,846 |
2012 | 16,447,912 | 102,133 | 141,365 |
2013 | 17,683,955 | 121,935 | 155,421 |
2014 | 13,406,206 | 92,439 | 117,825 |
2015 | 18,911,256 | 130,398 | 166,208 |
อาคารผู้โดยสาร
แก้มี 2 อาคาร ได้แก่ อาคาร 1 รองรับเที่ยวบินภายในประเทศทั้งหมด ยกเว้นเที่ยวบินของสายการบินการูดาอินโดนีเซียและอินโดนีเซียแอร์เอเชีย, อาคาร 2 รองรับเที่ยวบินระหว่างประเทศทั้งหมด รวมไปถึงเที่ยวบินภายในประเทศของสายการบินการูดาอินโดนีเซียและอินโดนีเซียแอร์เอเชียด้วย
สมุดภาพ
แก้-
อาคารผู้โดยสาร 1 ชั้นที่สอง
-
Airbus A330-300 ของสายการบินคาเธ่ย์แปซิฟิค
-
Boeing 747 ของสายการบินซาอุดีแอร์ไลน์ เที่ยวบินไปมักกะฮ์
-
เครื่องบินของสายการบินวาลูแอร์ มาจากสิงคโปร์
อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.thejakartapost.com/news/2011/07/29/major-ri-airports-bursting-seams-inaca.html
- ↑ "Soekarwo : Bandara Juanda Butuh Double Runway". 9 January 2014.
- ↑ Feby Dwi Sutianto (April 24, 2015). "Layanan Bandara Ngurah Rai Terbaik No.7 Dunia".
- ↑ "Bandara Ngurah Rai Peringkat Ketiga Terbaik Dunia". June 6, 2015.
- ↑ "Juanda International Airport, Indonesia". สืบค้นเมื่อ April 29, 2015.
- ↑ PT (persero) ANGKASA PURA 1 เก็บถาวร 2016-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อินโดนีเซีย)