ทางหลวงชนบท ฉช.3005

ถนนในจังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศไทย

ทางหลวงชนบท ฉช.3005 สายแยกทางหลวงหมายเลข 314 (กม.ที่ 13+540) – อำเภอบ้านโพธิ์ หรือ ถนนสายบ้านโพธิ์–หัวเนิน[1][2] เป็นทางหลวงชนบทที่เชื่อมระหว่างถนนสิริโสธร (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 314) กับถนนเทศบาล 3122 ดอนสีนนท์–บ้านโพธิ์ โดยเริ่มต้นจากตำบลคลองประเวศ ผ่านตำบลสนามจันทร์ และสิ้นสุดที่ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา

ทางหลวงชนบท ฉช.3005
แยก ทล.314 (กม.ที่ 13+540) – อำเภอบ้านโพธิ์
แผนที่
Thai Rural Road Chachoengsao 3005.jpg
ป้ายแสดงชื่อสายทาง
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว6.076 กิโลเมตร (3.775 ไมล์)
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันตก ถ.สิริโสธร ใน อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา
ปลายทางทิศตะวันออกถ.เทศบาล 3122 อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

ประวัติ แก้

ทางหลวงชนบท ฉช.3005 ไม่ปรากฏปีที่สร้างแน่ชัด แต่จากการสืบค้นพบว่าในช่วงปี พ.ศ. 2500 ที่มีการจัดตั้งสุขาภิบาลบ้านโพธิ์ (หรือเทศบาลตำบลบ้านโพธิ์ในปัจจุบัน) ยังไม่ปรากฏว่ามีทางหลวงสายดังกล่าวและสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง[3] ใน พ.ศ. 2532 ได้มีการเวนคืนพื้นที่สองข้างทางของถนนสิริโสธรเพื่อขยายช่องทางจราจร โดยประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ก็ยังไม่ปรากฏเส้นทางซึ่งปัจจุบันคือทางหลวงชนบท ฉช.3005 ในแผนที่แนบท้ายเช่นกัน[4]

ใน พ.ศ. 2540 ปรากฏทางหลวงชนบท ฉช.3005 ในแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาเวนคืนเพื่อสร้างระบบส่งน้ำในลุ่มน้ำบางปะกง ในชื่อทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3122 เชื่อมต่อจากเทศบาลตำบลบ้านโพธิ์ พร้อมกับสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง[5] แต่ใน พ.ศ. 2553 ปรากฏถนนเส้นดังกล่าวในแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาเวนคืนเพื่อขยายทางหลวงชนบทเชื่อมระหว่างถนนสิริโสธรกับถนนหลวงแพ่ง ในชื่อทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3304[6] และมีปรากฏในแผนที่แสดงเส้นทางควบคุม แขวงทางหลวงฉะเชิงเทรา ไม่ระบุปีของข้อมูล ว่าจุดเชื่อมต่อกับเส้นทางในความดูแลของกรมทางหลวงบริเวณตัวอำเภอบ้านโพธิ์ระบุข้อความว่า โยธา จึงสันนิษฐานว่าก่อนที่ทางหลวงชนบท ฉช.3005 จะมาอยู่ในดูแลของกรมทางหลวงชนบทซึ่งก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2545 เส้นทางดังกล่าวอาจจะอยู่ภายใต้การดูแลของกรมโยธาธิการมาก่อน[7]

รายละเอียดเส้นทาง แก้

 
วัดสนามจันทร์และเขตชุมชนต่อเนื่องจากสะพาน ซึ่งเป็นส่วนสุดท้ายของเส้นทาง ฉช.3005 ที่จะเชื่อมต่อกับถนนเทศบาล

ทางหลวงชนบท ฉช.3005 เป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจรสวนกัน ความกว้างช่องจราจรละ 3.5 เมตร ความกว้างไหล่ทางด้านละ 2.5 เมตร พื้นผิวแบบแอสฟอลต์คอนกรีต ระยะทาง 6.076 กิโลเมตร[8] เป็นถนนที่มีความสำคัญในด้านของการเชื่อมโยงระหว่างถนนสิริโสธร กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 331 ผ่านถนนเทศบาลตำบลบ้านโพธิ์ และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3304 ซึ่งเป็นถนนสายสำคัญด้านอุตสาหกรรมของจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยในระหว่างสายทางประกอบไปด้วยพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่อุตสาหกรรม เชื่อมต่อไปยังพื้นที่ที่มีโรงพยาบาล หน่วยงานราชการ และแหล่งชุมชนหนาแน่นตั้งอยู่[9]

นอกจากนี้ ทางหลวงชนบท ฉช.3005 ได้รับการใช้งานเป็นเส้นทางเลี่ยงช่วงเทศกาลสำหรับเดินทางสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยแบ่งเบาการจราจรของถนนสิริโสธรที่เชื่อมต่อระหว่างทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 ซึ่งเป็นเส้นทางหลักเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทางจังหวัดนครราชสีมา โดยถ่ายเทปริมาณการจราจรไปยังทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3304 ที่เชื่อมต่อไปยังทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 331 หรือใช้เส้นทางดังกล่าวเลี่ยงการจราจรที่หนาแน่นบริเวณทางแยกบางพระผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 315 เพื่อไปบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 บริเวณทางแยก พล.ร.11[10]

ปัจจุบันทางหลวงชนบท ฉช.3005 อยู่ในระหว่างการศึกษาเพื่อขยายช่องจราจรสำหรับเดินรถ จากเดิม 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจร ช่องจราจรละ 3.5 เมตร ไหล่ทางกว้างด้านละ 2.5 เมตร และเกาะกลางถนนแบบแบร์ริเออร์กว้าง 2.60 เมตร รวมความกว้างสายทางประมาณ 21.60 เมตร รวมถึงปรับปรุงความกว้างของสะพานข้ามคลอง และสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง สร้างจุดกลับรถระดับดิน และสร้างจุดตัดต่างระดับบริเวณถนนสิริโสธร เพื่อรองรับการเติบโตของชุมชนและจังหวัด เสริมศักยภาพในการขนส่งระหว่างจังหวัดให้มีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง โดยมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ที่เส้นทางพาดผ่านเพื่อนำไปประกอบการศึกษาและออกแบบให้มีความสมบูรณ์[9]

รายชื่อทางแยก แก้

เนื่องจากทางหลวงชนบท ฉช.3005 เป็นเส้นทางระยะสั้นที่เชื่อมต่อทางหลวงแผ่นดินสายรองและตัวอำเภอบ้านโพธิ์ ทำให้ประกอบไปด้วยจุดตัดทางแยกขนาดเล็กเท่านั้น ไม่มีทางแยกที่มีสัญญาณไฟจราจรในระหว่างแนวเส้นทาง[9]

รายชื่อทางแยกบน   ทางหลวงชนบท ฉช.3005 (บ้านโพธิ์–หัวเนิน) ทิศทาง: (ทล.314–บ้านโพธิ์)
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
  ถนนสายบ้านโพธิ์–หัวเนิน (ทล.314–บ้านโพธิ์)
ฉะเชิงเทรา 0+000 แยกหัวเนิน   ถนนสิริโสธร เข้าเมืองฉะเชิงเทรา   ถนนสิริโสธร ไปอำเภอบางปะกง บรรจบ   ถนนเทพรัตน และ   ถนนสุขุมวิท
1+400 ถนนท้องถิ่น อบต.คลองประเวศ ไปวัดกระทุ่ม ถนนท้องถิ่น อบต.ลาดขวาง ไปวัดหัวเนิน
3+324 สะพาน ข้ามคลองบางกนก
3+798 สะพาน ข้ามคลองสวนอ้อย
3+800 ไม่มี ซอยอุทิศ หมู่ที่ 3
4+240 ไม่มี ซอยหุบโปง หมู่ที่ 5, 6
4+578 สะพาน ข้ามคลองห้วยโรงหีบ
5+676 สะพานพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ข้ามแม่น้ำบางปะกง
6+076 ตรงไป: ถนนเทศบาล 3122 ไปอำเภอบ้านโพธิ์
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

สถานที่สำคัญ แก้

  • องค์การบริหารส่วนตำบลสนามจันทร์
  • ท่าเรือบ้านโพธิ์ (ท่าเรือขนถ่ายสินค้า)
  • สะพานพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
  • วัดสนามจันทร์
  • ที่ว่าการอำเภอบ้านโพธิ์
  • ห้องสมุดประชาชนอำเภอบ้านโพธิ์
  • งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลตำบลบ้านโพธิ์

สะพานพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) แก้

สะพานพระยาศรีสุนทรโวหาร
(น้อย อาจารยางกูร)
 
สะพานมองจากหน้าที่ว่าการอำเภอบ้านโพธิ์
พิกัด13°36′00″N 101°04′35″E / 13.5999°N 101.0765°E / 13.5999; 101.0765
เส้นทาง  ทางหลวงชนบท ฉช.3005 กม. 5+676
ข้ามแม่น้ำบางปะกง
ที่ตั้งตำบลบ้านโพธิ์และตำบลสนามจันทร์ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อทางการสะพานพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
ชื่ออื่นสะพานบ้านโพธิ์
ผู้ดูแลแขวงทางหลวงชนบทฉะเชิงเทรา กรมทางหลวงชนบท
เหนือน้ำสะพานทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 365
ท้ายน้ำสะพานทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3701
ข้อมูลจำเพาะ
ประเภทสะพานแบบคานคอนกรีตอัดแรงรูปตัวไอ
วัสดุคอนกรีตเสริมแรง
ความยาว400 เมตร (1,300 ฟุต)
ความกว้าง8 เมตร (26 ฟุต) พื้นผิวและทางเท้า
ที่ตั้ง
 

สะพานพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลบ้านโพธิ์และตำบลสนามจันทร์ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงชนบท ฉช.3005 ขนาด 2 ช่องจราจร ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของกรมทางหลวงชนบท

 
สะพานพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) มองจากถนนเทศบาลตำบลบ้านโพธิ์

ประวัติ แก้

สะพานพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้รับการผลักดันให้มีการก่อสร้างขึ้นโดยประชาชนในพื้นที่ เพื่ออำนวยความสะดวกในการสัญจรข้ามผ่านไปมาระหว่างสองฝั่งแม่น้ำบางปะกง หนึ่งในผู้ที่มีส่วนสำคัญคือ ชนินทร์ วัฒนสินธุ์ สมาชิกสภาจังหวัดฉะเชิงเทราเขตอำเภอบ้านโพธิ์ แต่มิได้มีการระบุระยะเวลาในการก่อสร้างแน่ชัด แต่เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จได้เชื่อมต่อระหว่างถนนที่ตัดใหม่เข้ามา ซึ่งปัจจุบันคือทางหลวงชนบท ฉช.3005[11]

สะพานนี้แต่เดิมไม่ได้ใช้ชื่อเหมือนดังปัจจุบัน แต่มีชื่อเรียกขานแตกต่างกันไป เช่น สะพานข้ามแม่น้ำบางปะกงจุดบ้านโพธิ์ สะพานข้ามแม่น้ำบางปะกงหน้าอำเภอบ้านโพธิ์ จนกระทั่งได้มีการตั้งชื่อเพื่อเป็นมงคลอนุสรณ์แด่พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ในเวลาต่อมา[12]

โครงสร้าง แก้

สะพานพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นสะพานแบบคอนกรีตเสริมแรงแบบคานคอนกรีตอัดแรงรูปตัวไอ (I-girder)[13] มีความยาว 400 เมตร ความกว้างพื้นผิวจราจรแบบแอสฟอลต์คอนกรีตขนาด 7 เมตร ความกว้างทางเท้า 1 เมตร รวมกว้าง 8 เมตร[14]

อ้างอิง แก้

  1. "ระทึก! พบระเบิด M-26 พร้อมใช้ ซุกพงหญ้าริมถนนฉะเชิงเทรา". www.thairath.co.th. 2015-11-27.
  2. "กระบะตกใจ จยย.ซิ่งลงสะพาน พุ่งข้ามเลนมาชนอย่างจัง ดับ1 เจ็บ1". www.khaosod.co.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านโพธิ์ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา" (PDF). ratchakitcha.soc.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อขยายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ สายบางปะกง - ฉะเชิงเทรา พ.ศ. ๒๕๓๒" (PDF). ratchakitcha.soc.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอบางคล้า อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอบ้านโพธิ์ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และอำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี พ.ศ. ๒๕๔๐" (PDF). ratchakitcha.soc.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลคลองประเวศ ตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ตำบลคลองสวน ตำบลเปร็ง อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ และแขวงขุมทอง เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๓" (PDF). ratchakitcha.soc.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. กรมทางหลวง, แขวงทางหลวงฉะเชิงเทรา. "แผนที่แสดงตำแหน่งจุดพักรถและบริการห้องน้ำสะอาด "จุดบริการทั่วไทย"และหมวดทางหลวงในสังกัดแขวงทางหลวงฉะเชิงเทรา จำนวน 6 จุด". www.facebook.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "แผนปฏิบัติการโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2566-2570" (PDF). www.eeco.or.th. p. ข - 7.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. 9.0 9.1 9.2 "ผุด! ถนนสาย ฉช.3005 แยก ทล.314-อ.บ้านโพธิ์". เดลินิวส์.
  10. "แน่นตลอดคืน! เส้นทางผ่านเมืองแปดริ้วสู่ภาคอีสาน หลังประชาชนแห่กลับบ้านเชื่อวันนี้แน่นอีก". mgronline.com. 2021-04-10.
  11. สุกปลั่ง, สุพจน์. "100 ปีอำเภอบ้านโพธิ์". ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดฉะเชิงเทรา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-08. สืบค้นเมื่อ 2023-06-08.
  12. "Home". พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร).{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. "โครงการจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสำรวจออกแบบ ถนนสาย ฉช.3005 แยก ทล.314 - อ.บ้านโพธิ์ อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา". www.xn--314--ffo0dimcagl7czaj9d5ghb2hd1czc6nma1dzitb7fra.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-06-06. สืบค้นเมื่อ 2023-06-08.
  14. สำนักบำรุงทาง กรมทางหลวงชนบท, กระทรวงคมนาคม. "บัญชีสะพานทางหลวงชนบท ประจำปีงบประมาณ 2564" (PDF). maintenance.drr.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-07-18. สืบค้นเมื่อ 2023-06-08.