ทศพร มูลศาสตรสาทร
นายทศพร มูลศาสตรสาทร (ชื่อเล่น : ป๋อ) อดีตเอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมาปูตู สาธารณรัฐโมซัมบิก อดีตผู้ช่วยปลัดกระทรวงการต่างประเทศ อดีตกงสุลใหญ่ ณ เมืองดูไบ[1] อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์ 2 สมัย สังกัดพรรคความหวังใหม่
ทศพร มูลศาสตรสาทร | |
---|---|
ไฟล์:ทศพร มูลศาสตรสาทร.jpg | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม | |
ดำรงตำแหน่ง 24 ตุลาคม พ.ศ. 2540 – 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวลิต ยงใจยุทธ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504 อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ |
ประวัติ แก้
ทศพร เกิดเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504 เป็นบุตรของนายพิศาล มูลศาสตรสาทร อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย และอดีตรัฐมนตรี กับคุณหญิงมะลิ สำเร็จการศึกษาทางด้านสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโท สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยเวบสเตอร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา[2]
การทำงาน แก้
นายทศพร รับราชการสังกัดกระทรวงการต่างประเทศ เคยดำรงตำแหน่งต่างๆ ในกระทรวงการต่างประเทศ เช่น ผู้อำนวยการกอง นักการทูต และเป็นกงสุลใหญ่ ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[3] ต่อมาเป็นผู้ช่วยปลัดกระทรวง เอกอัครราชทูตประจำกระทรวงสำนักงานปลัดกระทรวง และเอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมาปูตู สาธารณรัฐโมซัมบิก ก่อนเกษียณอายุราชการ
งานการเมือง แก้
นายทศพร ได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งซ่อม พ.ศ. 2539 แทนนายพิศาล มูลศาสตรสาทร บิดา ซึ่งถึงแก่อนิจกรรม ต่อมาได้รับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดสุรินทร์ สังกัดพรรคความหวังใหม่ และเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[4] แทนนายพูนสวัสดิ์ มูลศาสตรสาทร ขณะนั้นเขามีอายุ 36 ปี
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์ เขต 1 สังกัดพรรคความหวังใหม่ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง หลังจากนั้นเขาจึงได้กลับเข้ารับราชการตามเดิม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2563 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[7]
อ้างอิง แก้
- ↑ สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองดูไบ
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกงสุลใหญ่ประจำเมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (นายทศพร มูลศาสตรสาทร)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนพิเศษ 100ง วันที่ 24 ตุลาคม 2540
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๑๙, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๓๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖๙, ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔