ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน

จิตแพทย์ชาวไทย
(เปลี่ยนทางจาก ทวีสิน วิษณุโยธิน)

นายแพทย์ ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน เป็นนายแพทย์ชาวไทย รู้จักในฐานะโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ​ หรือ ศบค. ทำหน้าที่สื่อสารต่อประชาชนในสภาวะสถานการณ์การระบาดทั่วของโคโรนาไวรัสในประเทศไทย พ.ศ. 2563 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการแพทย์[2]กรรมการแพทยสภาและกรรมการอิสระ ธนาคารออมสิน[3]อดีตอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก[4] เเละเคยดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน
ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ใน พ.ศ. 2563
อธิบดีกรมการแพทย์
เริ่มดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม 2567
(ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days)
ก่อนหน้าอัมพร เบ็ญจพลพิทักษ์
อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ดำรงตำแหน่ง
3 มกราคม 2567 – 30 กันยายน 2567
(0 ปี 271 วัน)
ก่อนหน้าธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์
ถัดไปสมฤกษ์ จึงสมาน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 มิถุนายน พ.ศ. 2508 (59 ปี)
จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย
เชื้อชาติไทย
คู่สมรสวิไลรัตน์ วิษณุโยธิน
บุตรธรรศ วิษณุโยธิน
ธนวินท์ วิษณุโยธิน
บุพการีเว้งกวง แซ่โต๋ว
เพ็ญนภา แซ่โต๋ว
การศึกษาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
อาชีพแพทย์
ลายมือชื่อ
ชื่อเล่นสิน (ชื่อเล่น)[1]

ประวัติ

แก้

ทวีศิลป์ เป็นชาวตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เกิดเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2508 บิดาชื่อ เว้งกวง แซ่โต๋ว มารดาชื่อ เพ็ญนภา มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน โดยเป็นลูกคนที่ 2 เป็นน้องชายนาย ทวีศักดิ์ วิษณุโยธิน เจ้าของธุรกิจเอบีพี กรุ๊ป และเป็นพี่ชาย นายแพทย์ทวีชัย วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา และ รศ.นพ.ทวีโชค วิษณุโยธิน หัวหน้าสาขาวิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และนางสาวระวีวรรณ วิษณุโยธิน ครอบครัวมีอาชีพค้าขาย เปิดร้านโชห่วยอยู่หน้าตลาดเทศบาล 2 จังหวัดนครราชสีมา บิดาประสบอุบัติเหตุจนต้องตัดขา ทุกคนในบ้านจึงช่วยทำงาน รวมถึงทวีศิลป์ที่ต้องช่วยเลี้ยงหมู พับถุงขาย กรอกน้ำกรด ทำขนมผิง ฯลฯ

เขาจบการศึกษาระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา ระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนบุญวัฒนา จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยเป็นการสอบโควตา[5] หลังจากเรียนจบแพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยขอนแก่นเมื่อปี 2532 เริ่มทำงานที่โรงพยาบาลจิตเวช นครราชสีมา เป็นเวลา 2 ปี หลังจากนั้นก็ได้เข้าเรียนที่สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา และได้เข้าทำงาน ณ ที่ดังกล่าว และทำหน้าที่สอนนักศึกษาแพทย์ไปด้วย

จนปี 2537 ก็ตัดสินใจไปเรียนต่อเพิ่มเติมที่ มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์แอทชิคาโก ชิคาโก สหรัฐอเมริกา ทางด้านประสาทจิตเวชศาสตร์[6] ช่วงที่อยู่ที่โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา เริ่มทำหน้าที่ตอบคำถามเรื่องจิตเวชผ่านสื่อต่าง ๆ เช่นรายการล้อมรั้วด้วยรักทางวิทยุ INN รายการโทรทัศน์หลายรายการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้เขาเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป

จนราวปี พ.ศ. 2546 – 2547 มีข้าราชการอาวุโส สังกัดกระทรวงสาธารณสุขให้ย้ายมาอยู่กับทางกระทรวงสาธารณสุข เริ่มจากการเป็นโฆษกกรมสุขภาพจิต แล้วขึ้นเป็นผู้อำนวยการสำนักสุขภาพจิตและสังคม พร้อมดำรงตำแหน่งโฆษกกระทรวงสาธารณสุข[7] ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ (2552-2556) และผู้อำนวยการสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ (2556-2560)

วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2560 ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2561 ดำรงตำแหน่ง สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข จากนั้นวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งโฆษก ศบค.[8]ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 ได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และเป็นแพทย์ที่ โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท กระทั่งวันที่ 6 ตุลาคม 2566 นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ลงนามในคำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 1454/2566 แต่งตั้งให้นายแพทย์ทวีศิลป์ เป็นรักษาราชการแทนอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2566 จนกว่าจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ[9] หลังจากเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติให้เห็นชอบนายแพทย์ทวีศิลป์ดำรงตำแหน่งแทนตำแหน่งที่ว่างเนื่องจากเกษียณอายุราชการ

ด้านชีวิตส่วนตัว สมรสกับวิไลรัตน์ วิษณุโยธิน เป็นกุมารแพทย์ มีบุตรด้วยกัน 2 คน ชื่อ ธรรศและธนวินท์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ได้รับพระราชทานเครื่องอิสริยาภรณ์ ดังนี้

ผลงาน

แก้

[ต้องการอ้างอิง]

U-life สายด่วนสุขภาพจิต ออกอากาศครั้งแรกทาง UBC ต่อมาเป็น TNN24 ปี2543-2554 โดยมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาในพระราชูปถัมภ์ฯ

Health Station รายการสดออกอากาศทาง ITV

อมยิ้ม ออกอากาศทาง ไทยทีวีช่อง3

ภาพยนตร์

แก้
ปี เรื่อง บทบาท หมายเหตุ อ้างอิง
2546 องค์บาก หมอศักดิ์ รับเชิญ [13]
2551 ช็อกโกแลต หมอรักษาเชน รับเชิญ [14]

อ้างอิง

แก้
  1. thansettakij.com
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 269 ง 27 กันยายน พ.ศ. 2567
  3. "ครม.อนุมัติแต่งตั้ง "หมอทวีศิลป์" นั่งบอร์ดธนาคารออมสิน". อมรินทร์ทีวี เอชดี ช่อง 34 - AMARIN TV HD. 2022-05-03.
  4. https://thestandard.co/cabinet-taweesin-thai-med/
  5. "ประวัติ "นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน" จากโฆษกกรมสุขภาพจิตสู่ โฆษกศบค. รับมือ โควิด-19". สนุก.คอม. 30 มีนาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)}}
  6. "วันวานก่อนวันนี้.."โฆษกโควิด" "นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน"". เดลินิวส์. 6 เมษายน 2563. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "ชีวิตบทหนึ่งของ น.พ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน". นิตยสารแม่และเด็ก M&C. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-06. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. ""นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน" กับบทท้าทาย นั่งเก้าอี้ "โฆษกศบค."". สยามรัฐ. 4 เมษายน 2563. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-06. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. สธ. เซ็นคำสั่งให้ บิ๊ก ขรก.11 ราย นั่ง “รักษาราชการแทน” รองปลัด-อธิบดี-เลขาฯ เริ่ม 9 ต.ค.นี้
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๕๐, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๘๕, ๒ มิถุนายน ๒๕๕๘
  13. เปิดภาพ 17 ปีแห่งความหลัง "หมอทวีศิลป์" เล่นหนังองค์บาก ฉากพูดประโยคคลาสสิก
  14. หล่อเหมือนเดิม! เผยภาพ “นพ.ทวีศิลป์” เคยแสดงภาพยนตร์เรื่อง “ช็อคโกแลต” ปี 2551