ทรรศนะคาทอลิกต่อบัญญัติสิบประการ

ทรรศนะคาทอลิกต่อบัญญัติสิบประการ (อังกฤษ: Ten Commandments in Catholic theology) เป็นการกำหนดบัญญัติสิบประการโดยพระสันตปาปา เพื่อเป็นแนวทางให้กับคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกทั่วโลก[1] โดยการกำหนดรูปแบบข้อบัญญัตินี้เรียกว่า คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก ซึ่งถือตามฉบับนักบุญออกัสติน[2] ใช้ในนิกายโรมันคาทอลิกทั่วโลก

บทบัญญัติ 10 ประการของนิกายโรมันคาทอลิก แก้

เราคือองค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าของท่าน

  1. จงนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้า พระเจ้าองค์เดียวของท่าน
  2. จงอย่าออกพระนามพระเจ้าโดยไม่สมเหตุ
  3. จงอย่าลืมฉลองวันพระเจ้าเป็นวันศักดิ์สิทธิ์
  4. จงนับถือบิดามารดา
  5. จงอย่าฆ่าคน
  6. จงอย่าผิดประเวณี
  7. จงอย่าลักขโมย
  8. จงอย่าพูดเท็จใส่ร้ายผู้อื่น
  9. จงอย่าปลงใจผิดประเวณี
  10. จงอย่ามักได้ทรัพย์สินของผู้อื่น

ข้อแตกต่างจากนิกายอื่น ๆ แก้

ห้ามทำรูปเคารพสำหรับตน แก้

เนื่องจากนิกายโรมันคาทอลิกมีรูปปั้นพระเยซู แม่พระ และนักบุญ เป็นจำนวนมาก เมื่อครั้งเกิดการปฏิรูปศาสนาช่วงการแตกแยกออกเป็นนิกายโปรเตสแตนต์ (ค.ศ. 1517-1648) พระศาสนคาทอลิกได้จัดเรียงบทบัญญัติ 10 ประการใหม่ ตามที่นักบุญออกัสตินแห่งฮิปโปใช้เมื่อช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 4 โดยนำข้อห้ามทำรูปเคารพสำหรับตน จากเดิมเป็นบัญญัติข้อที่ 2 ไปรวมและต่อท้ายจากข้อที่ 1 และไม่แสดงข้อความ[3][4] เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการตอบคำถามที่ว่า นิกายโรมันคาทอลิกมีรูปเคารพมากมาย แต่พระสันตปาปาระบุว่าเป็นเพียงรูปปั้นเพื่อการระลึกถึงเท่านั้น และยังให้ความเห็นอีกว่า การห้ามมีพระเจ้าอื่นใดนอกเหนือจากพระยาห์เวห์ก็เป็นกฎที่ห้ามสร้างรูปเคารพอยู่แล้ว แต่ศาสนิกคณะอื่น ๆ เช่น ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ (นิกายอีสเทิร์นออร์โธด็อกซ์) , (นิกายโปรเตสแตนต์) และศาสนาอิสลาม ให้ความเห็นว่าเป็นรูปเคารพที่องค์พระผู้เป็นเจ้าห้ามสร้างไว้ แต่พระศาสนจักรพยายามหลีกเลี่ยงการตอบคำถามนี้ต่อสาธารณะชนและกล่าวว่าผู้ที่ไม่เห็นด้วยก็เป็นฝ่ายโปรเตสแตน์ ซึ่งแปลว่าคัดค้าน และการที่ไม่แสดงข้อความนี้ ทำให้ ศาสนาคริสต์ฝ่ายโปรเตสแตนต์ (คริสตจักรลูเทอแรน) ตัดข้อ"ห้ามทำรูปเคารพสำหรับตน"ออกไปในที่สุด ซึ่งในคริสตจักรลูเทอแรนนี้ ปัจจุบันไม่มีข้อห้ามทำรูปเคารพสำหรับตนอีกด้วย ในภายหลังคริสตจักรแองกลิคันจึงใช้บัญญัติ 10 ประการตามพระศาสนจักร

ในศาสนายูดาห์ ซึ่งเดิมโมเสสได้รับแผ่นศิลาพระโอวาทจากพระยาห์เวห์บนภูเขาซีนาย โดยหลักฐานใหม่ค้นพบว่า ตามความจริงแล้วแผ่นศิลาได้กำหนดข้อบัญญัติ 10 ประการนี้เป็นรายบรรทัด ซึ่งเป็นสารบบบัญญัติที่พบได้ในแบบนิกายโปรเตสแตนต์ นิกายออร์ทอดอกซ์ และศาสนายูดาห์ใช้ในปัจจุบัน จึงสรุปได้ว่า ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (สมัยก่อนการปฏิรูปศาสนา) และศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ (ส่วนใหญ่) เรียงสารบบข้อบทบัญญัติเป็นแบบเดียวกัน[5] คือแบบเซปตัวจินต์ แต่เมื่อมีการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ จึงทำให้นิกายโรมันคาทอลิก โยกย้ายพระบัญญัติใหม่ตามรูปแบบของนักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป เพื่อให้เกิดความแตกต่างและเป็นผลจากการเมืองศาสนาในกรุงโรมสมัยนั้น

การค้นพบซากเมือง Dura-Europos synagogue นอกจากจะมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์แล้ว ยังมีความสำคัญทางศาสนาอย่างมาก เพราะการค้นพบศาลาธรรมของศาสนายูดาห์ที่คาดอายุว่าอยู่ในช่วง ค.ศ.200 ที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ พบว่าปรากฏภาพจิตรกรรมบรรยายเรื่องราวในพันธสัญญาเดิม ทั้งโมเสส เอสเธอร์ อยู่รอบศาลาธรรมและแท่นบูชา อันเป็นการสะท้อนให้เห้นมุมมองของคำว่า "รูปเคารพ" ในทัศนะชาวยิวโบราณนั้น ไม่ใช่การห้ามมีรูปภาพทางศาสนาทุกชนิดอยู่ในวิหารหรือศาลาธรรมเหมือนกับศาสนาอิสลาม ที่อนุญาตเฉพาะการมีตัวหนังสือเท่านั้น

ห้ามโลภ แก้

พระบัญญัติรูปแบบของนักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป ข้อ "อย่าปลงใจผิดประเวณีและอย่ามักได้ทรัพย์สินของผู้อื่น" แต่เดิมถูกรวมไว้ในข้อ 10 คือ"ห้าม​โลภ​" แต่เมื่อมีการย้ายข้อ "ห้ามทำรูปเคารพสำหรับตน" ไปข้อ 1 ทำให้เกิดช่วงว่างที่ทำให้บัญญัติ 10 ประการไม่ครบ 10 ข้อ เหลือเพียง 9 ข้อ แต่ด้วยทั่วโลกได้รู้จักบัญญัติ 10 ประการก่อนแล้วและเกรงว่าทั่วโลกจะไม่ให้การยอมรับ จึงจำเป็นต้องแยกข้อ "ห้ามโลภ" ออกเป็นสองข้อ และเลื่อนข้อจากเดิม 3-9 ไปเป็นข้อ 2-8 และระบุข้อ 9 ว่า "อย่าปลงใจผิดประเวณี" และข้อ 10 ว่า "อย่ามักได้ทรัพย์สินของผู้อื่น"[6][7] โดยนักบุญออกัสตินให้ความเห็นว่า ความโลภแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือโลภในของของเพื่อนบ้าน เช่น ภรรยา และโลภในสิ่งที่เป็นสิ่งของหรือทรัพย์ของเพื่อนบ้าน เช่น บ้านเรือน ทาส โค ลา สิ่งของต่าง ๆ โดยรูปแบบคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิกอ้างอิงตามรูปแบบของนักบุญออกัสตินแห่งฮิปโปและในหนังสือเฉลยธรรมบัญญัติ จึงทำให้เกิดความแตกต่างไปจากรูปแบบเซปตัวจินต์ที่อ้างอิงตามแผ่นศิลาพระโอวาทของโมเสสและในหนังสืออพยพ และเมื่อมีการแปลมาเป็นภาษาไทยจึงเปลี่ยนบริบทจาก ห้ามโลภ เป็น อย่าปลงใจและอย่ามักได้

อ้างอิง แก้