ถนนหนังสือสายคาบูล

ถนนหนังสือสายคาบูล เป็นหนังสือสารคดีเกี่ยวกับชีวิตของคนขายหนังสือผู้หนึ่งและครอบครัวในกรุงคาบูล ประเทศอัฟกานิสถาน หนังสือเขียนโดยนักข่าวชาวนอร์เวย์ชื่อ ออสเน ซอแยร์สตัด (Åsne Seierstad) โดยผู้เขียนได้เขียนถึงสภาพชีวิตโดยทั่ว ๆ ไปของคนในครอบครัวนี้จากการที่ได้เข้าไปอาศัยอยู่ร่วมชายคาเดียวกันในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

ถนนหนังสือสายคาบูล  
ผู้ประพันธ์ออสเน ซอแยร์สตัด
(Åsne Seierstad)
ชื่อเรื่องต้นฉบับBokhandleren i Kabul
ผู้แปลจิระนันท์ พิตรปรีชา
ประเทศนอร์เวย์ นอร์เวย์
ภาษานอร์เวย์
ประเภทสารคดี
สำนักพิมพ์สำนักพิมพ์มติชน (แปลไทย)
วันที่พิมพ์พ.ศ. 2550 (แปลไทย)
หน้า279 หน้า
ISBN978-974-323-905-2 (แปลไทย)
OCLC850821234

ภูมิหลัง แก้

ออสเน ซอแยร์สตัด เดินทางเข้าสู่อัฟกานิสถานสองสัปดาห์หลังเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายนและติดตามพันธมิตรฝ่ายเหนือไปยังคาบูลซึ่งเธอใช้เวลาอยู่ที่นั่นสามเดือน โดยปลอมตัวด้วยการสวมบุรเกาะอ์ เธออาศัยอยู่กับคนขายหนังสือและครอบครัวของเขาในกรุงคาบูล ซึ่งทำให้เธอมีโอกาสพิเศษที่จะบรรยายชีวิตตามที่ชาวอัฟกันธรรมดาเห็น

แก่นเรื่อง แก้

นอกจากการบอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์ในอัฟกานิสถานเมื่อมีการก่อตั้งระบอบประชาธิปไตยแล้ว ซอแยร์สตัดยังเน้นที่เงื่อนไขของสตรีชาวอัฟกันที่ยังคงใช้ชีวิตส่วนใหญ่ภายใต้การปกครองของผู้ชาย–ประเพณีของอัฟกานิสถานอนุญาตให้สามีมีภรรยาหลายคน และมีการแต่งงานแบบคลุมถุงชน เธอยังกล่าวถึงความขัดแย้งระหว่างความเป็นตะวันตกกับอิสลามดั้งเดิม และให้เรื่องราวที่เข้าถึงประวัติศาสตร์ยุคใกล้ที่ซับซ้อนของอัฟกานิสถานภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต ตอลิบาน และระบอบประชาธิปไตยที่สนับสนุนโดยพันธมิตร

ความขัดแย้ง แก้

หลังจากที่ได้รับเสียงวิจารณ์วิจารณ์จากทั่วโลก คำพรรณาในหนังสือหลายส่วนถูกโต้แย้งโดยซูรอแย รออิส ซึ่งเป็นภรรยาคนที่สองของครอบครัวคนขายหนังสือในเรื่อง และได้ฟ้องผู้เขียนในนอร์เวย์ในข้อหาหมิ่นประมาท

เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ซอแยร์สตัดถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานหมิ่นประมาทและ “ปฏิบัติงานข่าวโดยประมาทและได้รับคำสั่งให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ซูรอแย รออิส ภริยาของชาห์ มุฮัมมัด รออิส”[1][2]

ซอแยร์สตัดชนะการอุทธรณ์ซึ่งกลับผลการพิจารณาคดีครั้งก่อน และเธอได้ชี้แจงให้บรรณาธิการและผู้จัดพิมพ์ของสำนักพิมพ์คัปเปลัน ดัมม์ (Cappelen Damm) ถึงประเด็นการบุกรุกความเป็นส่วนตัวของครอบครัวรออิส และสรุปว่าข้อเท็จจริงของหนังสือเล่มนี้ถูกต้อง[3]

ร้านหนังสือชาห์มุฮัมมัดในกรุงคาบูล ซึ่งเป็นเรื่องราวในหนังสือ
ภายในร้านหนังสือ (พ.ศ. 2556)

ผลกระทบต่อตระกูลรออิส แก้

ระหว่างการเดินทางไปสแกนดิเนเวียในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 รออิสประกาศว่าเขากำลังขอลี้ภัยในนอร์เวย์หรือสวีเดนในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมือง เขารู้สึกว่าสิ่งต่าง ๆ ที่เปิดเผยเกี่ยวกับตัวเขาในหนังสือของซอแยร์สตัด ได้ทำให้ชีวิตของเขาและครอบครัวของเขาในอัฟกานิสถานไม่ปลอดภัย ซึ่งที่นั่นมีการตีพิมพ์หนังสือฉบับปลอมในภาษาเปอร์เซีย

รออิสได้ตีพิมพ์เรื่องราวในเวอร์ชันของเขาเองในชื่อ "กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วมีคนขายหนังสือในคาบูล" ซึ่งได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษา[4]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Fitzgerald, Mary (7 กรกฎาคม 2010). "Vindication for Bookseller of Kabul as court orders author to pay damages: Shah Muhammad Rais has long protested Asne Seierstad's account of his household". Irish Times.
  2. Hill, Amelia (31 กรกฎาคม 2010). "Bookseller of Kabul author Åsne Seierstad: 'It's not possible to write a neutral story'". The Guardian. UK.
  3. Topping, Alexandra (13 ธันวาคม 2011). "The Bookseller of Kabul author cleared of invading Afghan family's privacy". The Guardian. UK.
  4. Sarhaddi Nelson, Soraya (27 พฤศจิกายน 2007). "Afghan Bookseller Disputes Book About Him". NPR. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2017.