ต่อมไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโตะ

ต่อมไทรอยด์อักเสบแบบฮาชิโมโตะ (อังกฤษ: Hashimoto's thyroiditis), ต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรังแบบลิมโฟซัยต์, โรคฮาชิโมโตะ เป็นโรคภูมิต้านตนเองชนิดหนึ่งที่ทำให้ต่อมไทรอยด์ถูกทำลายลงไปเรื่อย ๆ[1][6] ในระยะแรกผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใดๆ[1] เมื่อเวลาผ่านไปต่อมไทรอยด์อาจมีขนาดโตขึ้นเกิดเป็นคอพอกที่ไม่มีอาการเจ็บปวด[1] ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยและมีอาการน้ำหนักเพิ่ม อ่อนเพลีย ท้องผูก ซึมเศร้า และปวดตามตัว[1] เมื่อเวลาผ่านไปหลายปีต่อมไทรอยด์มักมีขนาดเล็กลง[1] ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้คือมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ไทรอยด์[2]

ต่อมไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโตะ
ชื่ออื่นChronic lymphocytic thyroiditis, ไทรอยด์อักเสบเหตุภูมิแพ้ตัวเอง, struma lymphomatosa, โรคฮาชิโมโตะ
ภาพกล้องจุลทรรศน์แสดงต่อมไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโตะ
สาขาวิชาวิทยาต่อมไร้ท่อ
อาการต่อมไทรอยด์โตชนิดไม่ปวด, น้ำหนักตัวเพิ่ม, ความเหนื่อยล้า, ท้องผูก, อาการซึมเศร้า[1]
ภาวะแทรกซ้อนมะเร็งต่อมน้ำเหลืองไทรอยด์[2]
การตั้งต้น30–50 ปี[1][3]
สาเหตุพันธุกรรม และ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม[4]
ปัจจัยเสี่ยงประวัติครอบครัว, โรคภูมิแพ้ตัวเองแบบอื่น[1]
วิธีวินิจฉัยวัดระดับ TSH, T4, แอนติบอดีชนิดแอนติไทยรอยด์[1]
โรคอื่นที่คล้ายกันโรคเกรฟส์, ต่อมไทรอยด์โตแบบนอดูลาร์ชนิดไม่เป็นพิษ[5]
การรักษาเลวอไทรอกซิน, ผ่าตัด[1][5]
ความชุก5% ที่จุดหนึ่ง[4]

เชื่อว่าโรคนี้เกิดจากหลายปัจจัยทั้งจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม[4] ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ ประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้หรือโรคภูมิต้านตนเองโรคอื่น[1] การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจเลือดดูระดับฮอร์โมน TSH, T4 และออโตแอนติบอดีต่อไทรอยด์[1] โรคอื่นที่อาจทำให้มีอาการคล้ายกันกับโรคนี้ในบางระยะ เช่น โรคเกรฟส์ และโรคคอพอกแบบไม่เป็นพิษ[5]

การรักษาโดยมาตรฐานคือการใช้ฮอร์โมนไทรอยด์สังเคราะห์ทดแทน[1][7] ในบางรายที่ไม่มีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยอาจไม่จำเป็นต้องรับการรักษา บางรายอาจต้องรับการรักษาเพื่อลดขนาดของต่อมไทรอยด์[1][8] ผู้ป่วยไม่ควรกินอาหารที่มีปริมาณไอโอดีนมากเกินไป แต่ก็ต้องได้รับไอโอดีนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะในหญิงตั้งครรภ์[1] ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องรับการรักษาด้วยการผ่าตัด[5]

ตลอดอายุขัยชนชาติเชื้อสายคอเคเซียนจะพบมีผู้ป่วยจากโรคต่อมไทรอยด์อักเสบแบบฮาชิโมโตประมาณ 5%[4] ส่วนใหญ่เริ่มมีอาการที่อายุ 30-50 ปี และพบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย[1][3] ปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยโรคนี้จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ[5] โรคนี้ได้รับการบรรยายไว้เป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1912 โดยแพทย์ชาวญี่ปุ่น ชื่อ Hakaru Hashimoto[9] ต่อมาเมื่อ ค.ศ. 1957 จึงค้นพบว่าโรคนี้เป็นโรคภูมิต้านตนเอง[10]

อ้างอิง แก้

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 "Hashimoto's Disease". NIDDK. May 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 August 2016. สืบค้นเมื่อ 9 August 2016.
  2. 2.0 2.1 Noureldine, SI; Tufano, RP (January 2015). "Association of Hashimoto's thyroiditis and thyroid cancer". Current Opinion in Oncology. 27 (1): 21–5. doi:10.1097/cco.0000000000000150. PMID 25390557. S2CID 32109200.
  3. 3.0 3.1 Hiromatsu, Y; Satoh, H; Amino, N (2013). "Hashimoto's thyroiditis: history and future outlook". Hormones (Athens, Greece). 12 (1): 12–8. doi:10.1007/BF03401282. PMID 23624127. S2CID 38996783.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Pyzik, A; Grywalska, E; Matyjaszek-Matuszek, B; Roliński, J (2015). "Immune disorders in Hashimoto's thyroiditis: what do we know so far?". Journal of Immunology Research. 2015: 979167. doi:10.1155/2015/979167. PMC 4426893. PMID 26000316.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 Akamizu, T; Amino, N; DeGroot, LJ; De Groot, LJ; Beck-Peccoz, P; Chrousos, G; Dungan, K; Grossman, A; Hershman, JM; Koch, C; McLachlan, R; New, M; Rebar, R; Singer, F; Vinik, A; Weickert, MO (2000). "Hashimoto's Thyroiditis". PMID 25905412. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  6. "Hashimoto's disease". Office on Women’s Health, U.S. Department of Health and Human Services. 12 June 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2017. สืบค้นเมื่อ 17 July 2017.  บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
  7. "Hashimoto Thyroiditis – Endocrine and Metabolic Disorders". Merck Manuals Professional Edition (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). July 2016. สืบค้นเมื่อ 30 December 2017.
  8. "Hashimoto Thyroiditis – Hormonal and Metabolic Disorders". Merck Manuals Consumer Version (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). สืบค้นเมื่อ 30 December 2017.
  9. Shoenfeld, Yehuda; Cervera, Ricard; Gershwin, M. Eric (2010). Diagnostic Criteria in Autoimmune Diseases (ภาษาอังกฤษ). Springer Science & Business Media. p. 216. ISBN 9781603272858.
  10. Moore, Elaine A.; Wilkinson, Samantha (2009). The Promise of Low Dose Naltrexone Therapy: Potential Benefits in Cancer, Autoimmune, Neurological and Infectious Disorders. McFarland. p. 30. ISBN 9780786452583.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก