ฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์

ฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์[1] (อังกฤษ: Thyroid-stimulating hormone ตัวย่อ TSH หรือรู้จักกันว่า thyrotropin, thyrotropic hormone, hTSH จาก human TSH) เป็นฮอร์โมนต่อมใต้สมองที่กระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้ผลิตไทรอกซิน (thyroxine, T4) และจากนั้น ไทรไอโอโดไทโรนีน (triiodothyronine, T3) ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นกระบวนการเมแทบอลิซึมในเนื้อเยื่อเกือบทุกอย่างในร่างกาย[2] TSH เป็นฮอร์โมนไกลโคโปรตีนที่สังเคราะห์โดยและหลั่งออกจากเซลล์สร้างฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (thyrotrope) ในต่อมใต้สมองด้านหน้า (anterior pituitary gland) ซึ่งควบคุมหน้าที่การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์[3][4] โดยมีนักวิชาการคู่หนึ่ง (Bennett M. Allen, Philip E. Smith) พบว่า ต่อมใต้สมองมีสารกระตุ้นต่อมไทรอยด์เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2459[5]

ฮอร์โมนเร้าต่อมไทรอยด์แบบอัลฟา
(Thyroid-stimulating hormone, alpha)
ตัวบ่งชี้
สัญลักษณ์CGA
สัญลักษณ์อื่น ๆHCG, GPHa, GPHA1
Entrez1081
HUGO1885
OMIM118850
RefSeqNM_000735
UniProtP01215
ข้อมูลเพิ่มเติม
โลคัสChr. 6 q14-q21
ฮอร์โมนเร้าต่อมไทรอยด์แบบบีตา
(Thyroid-stimulating hormone, beta)
ตัวบ่งชี้
สัญลักษณ์TSHB
Entrez7252
HUGO12372
OMIM188540
RefSeqNM_000549
UniProtP01222
ข้อมูลเพิ่มเติม
โลคัสChr. 1 p13{{{LocusSupplementaryData}}}
การทำงานของฮอร์โมนต่อมไทรอยด์ คือ triiodothyronine (T3) และ thyroxine (T4)

สรีรวิทยา แก้

ระดับฮอร์โมน แก้

TSH (มีระยะครึ่งชีวิตประมาณครึ่ง ชม.) กระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้หลั่งฮอร์โมนไทรอกซิน (thyroxine, T4) ซึ่งมีผลเพียงแค่เล็กน้อยต่อกระบวนการเมแทบอลิซึมในร่างกาย แต่ T4 จะแปรเป็นไทรไอโอโดไทโรนีน (triiodothyronine, T3) ซึ่งเป็นฮอร์โมนหลักที่ออกฤทธิ์กระตุ้นกระบวนการเมแทบอลิซึม โดยการแปรรูปจะเกิดขึ้น 80% ในตับและอวัยวะอื่น ๆ และ 20% จะเกิดขึ้นในต่อมไทรอยด์เอง[2]

TSH เป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกตลอดชีวิต แต่จะถึงระดับสูงสุดในช่วงที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างรวดเร็ว ไฮโปทาลามัสที่อยู่ที่ฐานของสมอง เป็นตัวผลิต thyrotropin-releasing hormone (TRH) ซึ่งกระตุ้นต่อมใต้สมองให้ผลิต TSH ไฮโปทาลามัสยังผลิตฮอร์โมน somatostatin อีกด้วย ซึ่งมีฤทธิ์ตรงกันข้าม คือ ลดหรือยับยั้งการผลิต TSH ระดับความเข้มข้นของฮอร์โมนไทรอยด์ทั้งสอง (คือ T3 และ T4) ในเลือดเป็นตัวควบคุมการปล่อย TSH ของต่อมใต้สมอง เมื่อ T3 และ T4 มีน้อย TSH ก็จะผลิตเพิ่มขึ้น และเมื่อT3 และ T4 มีมาก TSH ก็จะผลิตน้อยลง ซึ่งเป็นตัวอย่างของการควบคุมย้อนกลับแบบลบ (negative feedback)[6]

ถ้าค่าเหล่านี้ขาดหรือเกิน เช่น ถ้า TSH อยู่ที่ระดับต่ำ-ปกติ และ T4 อยู่ที่ต่ำ-ปกติ นี่อาจเป็นตัวบอก tertiary (central) disease และพยาธิสภาพของ TSH-TRH ส่วนระดับ reverse T3 (RT3) ที่สูงบวกกับ TSH ที่ต่ำ-ปกติ และ T3, T4 ที่ต่ำ-ปกติ เป็นตัวบ่งกลุ่มอาการป่วยขณะที่ต่อมไทรอยด์ทำหน้าที่ปกติ (ESS) ซึ่งอาจต้องตรวจเพิ่มถ้ามีอาการต่อไทรอยด์กึ่งอักเสบเรื้อรัง (chronic subacute thyroiditis, SAT) และมีฮอร์โมนน้อยหรือไม่มีประสิทธิผล คนไข้ที่เคยได้วินิจฉัยว่าเป็นต่อมไทรอยด์อักเสบเพราะภูมิต้านตนเอง ต้องระวังว่าจะเกิด SAT เสมอแม้จะมีระดับ TSH ที่ปกติเพราะว่า ภูมิต้านตนเองไม่สามารถหายได้ เพื่อที่จะตีความผลแล็บ จำเป็นต้องเข้าใจว่า TSH หลั่งออกเป็นระยะ ๆ[7][8][9] โดยหลั่งเป็นจังหวะทั้งแบบรอบวัน (circadian) และแบบ ultradian[10]

หน่วยย่อย แก้

TSH เป็นไกลโคโปรตีนที่มีหน่วยย่อย 2 หน่วย คือแบบอัลฟาและบีตา

  • หน่วยย่อยแบบอัลฟา (ซึ่งก็คือ chorionic gonadotropin alpha, CGA) เกือบเหมือนกับหน่วยย่อยของ human chorionic gonadotropin (hCG), luteinizing hormone (LH), และ follicle-stimulating hormone (FSH) หน่วยย่อยนี้เชื่อว่า เป็นตัวควบคุม (effector region) ที่กระตุ้นเอนไซม์ adenylate cyclase ให้ทำงาน ซึ่งมีส่วนในการสังเคราะห์ Cyclic adenosine monophosphate (cAMP)[11] และเป็นห่วงลูกโซ่กรดอะมิโน 92 อัน
  • หน่วยย่อยแบบบีตา (TSHB) ของ TSH ไม่เหมือนใคร และดังนั้น จึงเป็นตัวกำหนดตัวรับ TSH ที่สามารถรับฮอร์โมนได้โดยเฉพาะ[12] โดยเป็นห่วงลูกโซ่กรดอะมิโน 118 อัน
 
การสังเคราะห์ฮอร์โมนไทรอยด์[13] แสดงเซลล์รูปลูกบาศก์ (สีฟ้า) เป็น follicular cells ของต่อมไทรอยด์, ช่องข้างเซลล์ด้านซ้าย (สีเนื้อ) เรียกว่า follicular lumen (ช่องที่ follicular cells ล้อมเป็นวงกลมในรูปเล็ก ที่เต็มไปด้วย colloid ซึ่งก็คือ โปรตีน thyroglobulin แบบเข้มข้น), sodium-iodide symporter เป็นสีส้มด้านขวามือตรงกลาง (ข้อ 1), ลูกศรสีม่วงแสดงการเพิ่มไอโอดีนให้ thyroglobulin ใน follicular lumen (ข้อ 2), ลูกศรเล็กสีส้มล่างแสดงกระบวนการ conjugation (ข้อ 3) และ endocytocis (ข้อ 4), ลูกศรสีชมพูล่างแสดง proteolysis ของโปรตีนที่รวมตัว กลายเป็น T4 และ T3 ที่เป็นอิสระ (ข้อ 5), MCT สีเขียวด้านล่างแสดงการหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์ออกสู่ในเลือด (ข้อ 6)

ตัวรับ TSH แก้

ตัวรับ TSH (TSH receptor) โดยมากอยู่ใน follicular cells ของต่อมไทรอยด์[14] การเร้าตัวรับมีผลเพิ่มการผลิตและการหลั่งฮอร์โมน T3 และ T4 ซึ่งมีขั้นตอน 6 อย่าง คือ

  1. เพิ่มการทำงานของ sodium-iodide symporter (NIS) ซึ่งอยู่ที่เยื่อหุ้มส่วน basolateral ของ follicular cells และดังนั้น จึงเพิ่มความเข้มข้นของ iodine ภายในเซลล์ (เป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า iodine trapping)
  2. เพิ่มไอโอดีนให้กับโปรตีน thyroglobulin ซึ่งเป็นโปรตีนตั้งต้นของฮอร์โมนต่อมไทรอยด์ ผ่านกระบวนการ Halogenation ใน follicular lumen
  3. กระตุ้นให้เกิดการรวมตัวกัน (conjugation) ของ tyrosine residue (ของโปรตีน) ที่รวมตัวกับไอโอดีนในขั้นที่แล้ว ซึ่งสร้างไทรอกซิน (thyroxine, T4) และไทรไอโอโดไทโรนีน (T3) แต่ที่ยังติดอยู่กับโปรตีน thyroglobulin
  4. เพิ่มกระบวนการ endocytocis ของโปรตีน thyroglobulin ที่เติมไอโอดีน ผ่านเยื่อหุ้ม apical เข้าไปในเซลล์
  5. กระตุ้นการแยกสลายโปรตีน (proteolysis) ของ thyroglobulin ที่เติมไอโอดีน ให้เป็นไทรอกซิน (thyroxine, T4) และไทรไอโอโดไทโรนีน (T3) ที่แยกเป็นอิสระ
  6. การหลั่งไทรอกซิน (thyroxine, T4) และไทรไอโอโดไทโรนีน (T3) ผ่านเยื่อหุ้มส่วน basolateral ออกไปนอกเซลล์เข้าในเลือด ซึ่งมีกลไกที่ยังไม่ชัดเจน[15]

นอกจาก TSH แล้ว สารภูมิต้านทานที่มีฤทธิ์เหมือน TSH สามารถออกฤทธิ์ต่อตัวรับ TSH โดยมีผลเป็นโรคคอพอกตาโปน (Graves' disease) และ hCG (ที่รกในหญิงมีครรภ์ผลิต) ดูจะมีฤทธิ์ต่อตัวรับ TSH และสามารถกระตุ้นให้ผลิตฮอร์โมนต่อมไทรอยด์ ดังนั้น ในช่วงการตั้งครรภ์ การมีระดับ hCG สูงเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินช่วงมีครรภ์ (gestational hyperthyroidism) เป็นเวลาชั่วคราว[16] อีกอย่างหนึ่ง เนื้องอกแบบ trophoblastic (ที่เกิดเนื่องจากการตั้งครรภ์) ก็สามารถทำให้ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์เพิ่มได้ด้วย

การประยุกต์ใช้ แก้

พิสัยอ้างอิง แก้

พิสัยอ้างอิงของ TSH อาจต่างกันในแล็บต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับวิธีการวิเคราะห์ และอาจไม่เท่ากับเส้นขีดวินิจฉัยของความผิดปกติทางไทรอยด์ แนวทางที่ระบุโดยสมาคมชีวเคมีคลินิก (Association for Clinical Biochemistry) ในสหราชอาณาจักรเสนอพิสัยอ้างอิงที่ 0.4-4.5 µIU/mL[17] ส่วนบัณฑิตยสถานชีวเคมีคลินิกแห่งชาติ (NACB) ของสหรัฐอเมริกาแถลงการณ์ว่า องค์กรคาดว่า พิสัยอ้างอิงของผู้ใหญ่จะลดเป็น 0.4-2.5 µIU/mL เพราะมีผลงานวิจัยแสดงว่า ผู้หใญ่ที่มีระดับ TSH สูงกว่า 2.0 µIU/mL แต่ต้น "มีอัตราส่วนปัจจัยเสี่ยง (OR) ที่สูงขึ้นในการเกิดภาวะขาดไทรอยด์ (hypothyroidism) ภายใน 20 ปีต่อมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าสารภูมิต้านทานต่อมไทรอยด์สูงขึ้น"[18]

ความเข้มข้นของ TSH ในเด็กปกติจะสูงกว่าผู้ใหญ่ ในปี 2545 NACB แนะนำพิสัยอ้างอิงตามอายุเริ่มตั้งแต่ 1.3-19 µIU/mL สำหรับทารกเกิดใหม่ที่คลอดตามเวลา, ลดลงไปที่ 0.6-10 µIU/mL สำหรับทารกอายุ 10 อาทิตย์, 0.4-7.0 µIU/mL ที่ 14 เดือน และค่อย ๆ ลดลงช่วงวัยเด็กและวัยรุ่นจนถึงระดับผู้ใหญ่ที่ 0.3-3.0 µIU/mL[19]: Section 2 

การวินิจฉัยโรค แก้

ความเข้มข้นของ TSH เป็นส่วนของการตรวจสอบการทำงานของต่อมไทรอยด์ในคนไข้ที่สงสัยว่ามีฮอร์โมนเกิน (hyperthyroidism) หรือ ขาด (hypothyroidism) การตีความผลขึ้นอยู่กับระดับของทั้ง TSH และ T4 ในบางกรณี การวัด T3 อาจช่วยได้บ้าง

ที่เกิดโรค ระดับ TSH ระดับฮอร์โมน
ต่อมไทรอยด์
โรคที่เป็นเหตุ
ไฮโปทาลามัส/ต่อมใต้สมอง สูง สูง เนื้องอกต่อมใต้สมองแบบไม่ร้าย (adenoma) หรือ การดื้อฮอร์โมนไทรอยด์
ไฮโปทาลามัส/ต่อมใต้สมอง ต่ำ ต่ำ Secondary hypothyroidism หรือ "central" hypothyroidism
ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ต่ำ สูง Primary hyperthyroidism คือ โรคคอพอกตาโปน
ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย สูง ต่ำ Congenital hypothyroidism (cretinism), Primary hypothyroidism คือ Hashimoto's thyroiditis

การวัดค่า TSH ปัจจุบันเป็นการตรวจคัดกรองที่แนะนำสำหรับโรคไทรอยด์ ความก้าวหน้าที่เพิ่มความไวของวิธีการวัดทำให้มันเป็นวิธีคัดกรองโรคที่ดีกว่า free T4[4]

การเฝ้าสังเกต แก้

พิสัยเป้าหมายเพื่อการรักษาของ TSH สำหรับคนไข้ที่กำลังรักษาอยู่ระหว่าง 0.3-3.0 μIU/mL[20]

สำหรับคนไข้ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ที่กำลังรักษาด้วยไทรอกซิน การตรวจโดยวัด TSH อย่างเดียวก็ใช้ได้ TSH ที่เกินกว่าพิสัยปกติแสดงว่า การรักษาน้อยเกินหรือคนไข้ไม่ทานยาตามสั่ง การลด TSH เกินแสดงว่า การรักษามากเกิน ในกรณีทั้งสอง การเปลี่ยนขนาดยาอาจจำเป็น การมี TSH ระดับต่ำ หรือต่ำ-ปกติ อาจบอกว่ามีโรคต่อมใต้สมอง และแม้ว่า การวัด TSH จะใช้ไม่ได้แล้ว แต่ก็จำเป็นต้องรักษาต่อไป

สำหรับคนไข้ภาวะต่อไทรอยด์ทำงานเกิน แพทย์จะตรวจระดับทั้ง TSH และ T4 แต่ต้องสังเกตด้วยว่า ในช่วงการตั้งครรภ์ ระดับ TSH ดูจะไม่ใช่ตัวบ่งที่ดีว่ามารดามีฮอร์โมนไทรอยด์พอสำหรับทารกเพื่อพัฒนาการทางประสาทการรู้คิดหรือไม่[21]

การใช้รักษา แก้

มียาสังเคราะห์ที่เรียกว่า recombinant human TSH alpha (rhTSHα หรือ rhTSH) หรือ thyrotropin alfa (INN) ผลิตโดยบริษัท Genzyme (โดยเป็นบริษัทลูกของ Sanofi) ใต้ชื่อการค้า Thyrogen ซึ่งใช้รักษามะเร็งไทรอยด์[22]

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. "thyrotropic", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (แพทยศาสตร์) -กระตุ้นต่อมไทรอยด์
  2. 2.0 2.1 "Merck Manual of Diagnosis and Therapy, Thyroid gland disorders". Merck Manual.
  3. The American Heritage Dictionary of the English Language (4th ed.). Houghton Mifflin Company. 2006. ISBN 0-395-82517-2.
  4. 4.0 4.1 Sacher, Ronald; McPherson, Richard A. (2000). Widmann's Clinical Interpretation of Laboratory Tests (11th ed.). F.A. Davis Company. ISBN 0-8036-0270-7.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  5. Magner, J (June 2014). "Historical note: many steps led to the 'discovery' of thyroid-stimulating hormone". European Thyroid Journal. 3 (2): 95–100. doi:10.1159/000360534. PMC 4109514. PMID 25114872.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  6. Estrada, JM; Soldin, D; Buckey, TM; Burman, KD; Soldin, OP (March 2014). "Thyrotropin isoforms: implications for thyrotropin analysis and clinical practice". Thyroid. 24 (3): 411–23. doi:10.1089/thy.2013.0119. PMID 24073798.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  7. Greenspan, SL; Klibanski, A; Schoenfeld, D; Ridgway, EC (September 1986). "Pulsatile secretion of thyrotropin in man". The Journal of Clinical Endocrinology and Metabolism. 63 (3): 661–8. doi:10.1210/jcem-63-3-661. PMID 3734036.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  8. Brabant, G; Prank, K; Ranft, U; Schuermeyer, T; Wagner, TO; Hauser, H; Kummer, B; Feistner, H; Hesch, RD; von zur Mühlen, A (February 1990). "Physiological regulation of circadian and pulsatile thyrotropin secretion in normal man and woman". The Journal of Clinical Endocrinology and Metabolism. 70 (2): 403–9. doi:10.1210/jcem-70-2-403. PMID 2105332.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  9. Samuels, MH; Veldhuis, JD; Henry, P; Ridgway, EC (August 1990). "Pathophysiology of pulsatile and copulsatile release of thyroid-stimulating hormone, luteinizing hormone, follicle-stimulating hormone, and alpha-subunit". The Journal of Clinical Endocrinology and Metabolism. 71 (2): 425–32. doi:10.1210/jcem-71-2-425. PMID 1696277.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  10. Hoermann, R; Midgley, JE; Larisch, R; Dietrich, JW (20 November 2015). "Homeostatic Control of the Thyroid-Pituitary Axis: Perspectives for Diagnosis and Treatment". Frontiers in Endocrinology. 6: 177. doi:10.3389/fendo.2015.00177. PMID 26635726.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  11. Lalli, E; Sassone-Corsi, P (October 1995). "Thyroid-stimulating hormone (TSH) -directed induction of the CREM gene in the thyroid gland participates in the long-term desensitization of the TSH receptor" (PDF). Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. 92 (21): 9633–7. doi:10.1073/pnas.92.21.9633. PMC 40856. PMID 7568187. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 24 September 2015. สืบค้นเมื่อ 22 February 2017.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  12. Porcellini, A; Messina, S; De Gregorio, G; Feliciello, A; Carlucci, A; Barone, M; Picascia, A; De Blasi, A; Avvedimento, EV (October 2003). "The expression of the thyroid-stimulating hormone (TSH) receptor and the cAMP-dependent protein kinase RII beta regulatory subunit confers TSH-cAMP-dependent growth to mouse fibroblasts". The Journal of Biological Chemistry. 278 (42): 40621–30. doi:10.1074/jbc.M307501200. PMID 12902333.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  13. Boron, Walter F (PHD) (2003). Medical Physiology: A Cellular And Molecular Approaoch. Elsevier/Saunders. p. 1300. ISBN 1-4160-2328-3.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  14. Parmentier, M; Libert, F; Maenhaut, C; Lefort, A; Gérard, C; Perret, J; Van Sande, J; Dumont, JE; Vassart, G (December 1989). "Molecular cloning of the thyrotropin receptor". Science. 246 (4937): 1620–2. doi:10.1126/science.2556796. PMID 2556796.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  15. Boron, Walter; Boulpaed, Emile (2012). Medical Physiology (2nd ed.). Philadelphia: Elsevier Saunders. p. 1046. ISBN 978-1-4377-1753-2. {{cite book}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  16. Fantz, CR; Dagogo-Jack, S; Ladenson, JH; Gronowski, AM (December 1999). "Thyroid function during pregnancy". Clinical Chemistry. 45 (12): 2250–8. PMID 10585360.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  17. Use of thyroid function tests: guidelines development group (1 June 2006). "UK Guidelines for the Use of Thyroid Function Tests" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 17 November 2013. สืบค้นเมื่อ 2014-01-14.
  18. Baloch, Z; Carayon, P; Conte-Devolx, B; Demers, LM; Feldt-Rasmussen, U; Henry, JF; LiVosli, VA; Niccoli-Sire, P; John, R; Ruf, J; Smyth, PP; Spencer, CA; Stockigt, JR (January 2003). "Laboratory medicine practice guidelines. Laboratory support for the diagnosis and monitoring of thyroid disease". Thyroid. 13 (1): 3–126. doi:10.1089/105072503321086962. PMID 12625976.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  19. Baskin, HJ; Cobin, RH; Duick, DS; Gharib, H; Guttler, RB; Kaplan, MM; Segal, RL (2002). "American Association of Clinical Endocrinologists medical guidelines for clinical practice for the evaluation and treatment of hyperthyroidism and hypothyroidism" (PDF). Endocrine Practice. 8 (6): 457–69. PMID 15260011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 December 2015. สืบค้นเมื่อ 22 February 2017.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  20. Baskin; และคณะ (2002). "AACE Medical Guidelines for Clinical Practice for Evaluation and Treatment of Hyperthyroidism and Hypothyroidism" (PDF). American Association of Clinical Endocrinologists. pp. 462, 465. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 September 2012. สืบค้นเมื่อ 22 February 2017.
  21. Korevaar, TI; Muetzel, R; Medici, M; Chaker, L; Jaddoe, VW; de Rijke, YB; Steegers, EA; Visser, TJ; White, T; Tiemeier, H; Peeters, RP (October 2015). "Association of maternal thyroid function during early pregnancy with offspring IQ and brain morphology in childhood: a population-based prospective cohort study". The Lancet. Diabetes & Endocrinology. 4: 35–43. doi:10.1016/S2213-8587(15)00327-7. PMID 26497402.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  22. Duntas, LH; Tsakalakos, N; Grab-Duntas, B; Kalarritou, M; Papadodima, E (2003). "The use of recombinant human thyrotropin (Thyrogen) in the diagnosis and treatment of thyroid cancer". Hormones. 2 (3): 169–74. doi:10.14310/horm.2002.1197. PMID 17003018.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้