ตูอีโตงาเฟฟีเน หรือ ตูอีโตงาสตรี (ตองงา: Tuʻi Tonga Fefine) เป็นพระราชอิสริยยศของพระทายาทฝ่ายหญิงพระองค์ใหญ่ในตูอีโตงา ซึ่งเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของตองงา ในอดีตผู้ดำรงตำแหน่งตูอีโตงาเฟฟีเนถือได้ว่ามีสถานะทางสังคมสูงกว่าตูอีโตงาด้วย[1] ปัจจุบันไม่มีการให้พระอิสริยยศนี้แก่ผู้ใด[1] อ้างตามธรรมเนียมคาดว่าเจ้าหญิงซีนาอีตากาลาอีลางีเลกา พระราชธิดาในพระเจ้าอูลูอากีมาตาที่ 1 เป็นผู้ดำรงตำแหน่งตูอีโตงาเฟฟีเนพระองค์แรก การอภิเษกสมรสของตูอีโตงาเฟฟีเนกับชายชาวตองงาถูกมองว่าไม่เหมาะสม โดยมีการคาดหวังว่าตูอีโตงาเฟฟีเนจะประพฤติพรหมจรรย์หรือมิฉะนั้นต้องอภิเษกสมรสกับชาวต่างถิ่นผู้ทรงศักดิ์[2] ตูอีโตงาเฟฟีเนพระองค์แรกอภิเษกสมรสกับผู้ทรงศักดิ์ชาวฟีจี ซึ่งก่อให้เกิดราชตระกูลฟีจีหรือฮาอะฟาเลฟีซี[1] ตูอีโตงาเฟฟีเนในรุ่นถัดมาก็ได้รับการคาดหมายให้อภิเษกสมรสกับฮาอะฟาเลฟีซีด้วย[1] กลยุทธ์การอภิเษกสมรสระหว่างตูอีโตงาเฟฟีเนกับชนต่างถิ่นนั้นเป็นการช่วยรักษาความมั่นคงในตำแหน่งให้กับตูอีโตงา มิเช่นนั้นพระธิดาของตูอีโตงาเฟฟีเนจะดำรงพระอิสริยยศเหนือกว่าตูอีโตงาได้[3]

ที่พำนักของตามาฮา พระธิดาของตูอีโตงาเฟฟีเน

การดำรงพระอิสริยยศตูอีโตงาเฟฟีเนเป็นการดำรงพระอิสริยยศตลอดพระชนม์ชีพ[4] อย่างไรก็ตาม พระองค์จะดำรงตำแหน่งผู้นำทางจิตวิญญาณสูงสุดของตองงาจนกระทั่งพระองค์มีพระธิดา การมีพระธิดานั้นส่งผลให้พระธิดามีสถานะเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณสูงสุดของตองงาทันที โดยจะมีพระอิสริยยศว่าตามาฮา (ธิดาศักดิ์สิทธิ์)

รายพระนามตูอีโตงาเฟฟีเน แก้

ลำดับที่ พระนาม พระบิดา/พระมารดา พระสวามี พระบุตร หมายเหตุ
? เจ้าหญิงลาตูตามา
ตองงา: Latutama
พระเจ้าโมโม
(ตูอีโตงาที่ 10)
ไม่ทราบ
? เจ้าหญิงฟาตาเฟฮี
ตองงา: Fatafehi
พระเจ้าตูอิตาตูอิ
(ตูอีโตงาที่ 11)
นูอา สิ้นพระชนม์ที่ลาปาฮา พระศพฝังที่ลางีเลกา (เฮเกตา)[5]
1 เจ้าหญิงซีนาอีตากาลาอีลางีเลกา
ตองงา: Sinaitakala-'i-Langileka
พระเจ้าอูลูอากีมาตาที่ 1
(ตูอีโตงาที่ 29)
มาตาอุกีปา ตาปูโออีซีแห่งฟีจี พระโอรส 1 พระองค์
พระธิดา 1 พระองค์
สิ้นพระชนม์ที่ลาปาฮา พระศพฝังที่ลางีเลกา (เฮเกตา)[5]
2 เจ้าหญิงเอกูตีงาปีปีกี
ตองงา: 'Ekutingapipiki
พระเจ้าฟาตาเฟฮี
(ตูอีโตงาที่ 30)
ไม่ทราบ เจ้าชายโฟโนมานู พระโอรส 4 พระองค์
พระธิดา 3 พระองค์
3 เจ้าหญิงซีนาอีตากาลาอิโลตูโนโฟ
ตองงา: Sinaitakala-'i-Lotunofo
พระเจ้าอูลูอากีมาตาที่ 2
(ตูอีโตงาที่ 32)
พระนางโตอามาอิตากิ ตูงีมานาอีอา พระธิดา 2 พระองค์ สิ้นพระชนม์ที่ลาปาฮา พระศพฝังที่ลางีโลตูโนโฟ[6]
4 เจ้าหญิงซีนาอีตากาลาอิฟานากาวาลีลางี
ตองงา: Sinaitakala-'i-Fanakavalilangi
พระเจ้าฟากานาอะนาอา
(ตูอีโตงาที่ 34)
พระนางโตโงเตอาโมเฮโอโฟ เฟโฮโก โมเอลางีอิฟีซี
(ตูอิลาเกปาที่ 1)
พระโอรส 1 พระองค์
พระธิดา 3 พระองค์
สิ้นพระชนม์ที่ลาปาฮา พระศพฝังที่ลางีฟานากาวาลี[6]
5 เจ้าหญิงตาเอโมเอมีมี
ตองงา: Taemoemimi
พระเจ้าฟาตาเฟฮี ตูอิปูโลตูที่ 2
(ตูอีโตงาที่ 35)
ตูอิโลโกมานู
6 เจ้าหญิงฟาตาเฟฮี นานาซีเปาอู
ตองงา: Fatafehi Nanasipau'u
พระเจ้าฟาตาเฟฮี ตูอิปูโลตูที่ 2
(ตูอีโตงาที่ 35)
ลาอูมานากีลูเป 1. ลาตูนีปูลูอิเตอาฟูอา (ตูอิลาเกปาที่ 2)
2. ฮาเวอาตูงูอา (ตูอิฮาอะเตอีโฮที่ 4)
พระโอรส 4 พระองค์
พระธิดา 3 พระองค์
สิ้นพระชนม์ที่ลิฟูกา พระศพฝังที่ลางีโอโลเวฮี[7]
7 เจ้าหญิงซีนาอีตากาลาอิเฟกีเตเตเล
ตองงา: Sinaitakala-'i-Fekitetele
พระเจ้าฟาตาเฟฮี เปาลาโฮ
(ตูอีโตงาที่ 36)
พระนางตูโปอูโมเฮโอโฟ
(ตูอิกาโนกูโปลูที่ 12)
วูนา ฟาโอตูซีอา ฟากาฮีกูโออูอีฮา
(ตูอิฮาอะเตอีโฮที่ 6)
พระโอรส 1 พระองค์
พระธิดา 1 พระองค์
สิ้นพระชนม์ที่ลาปาฮา พระศพฝังที่ลางีเฟกีเตเตเล[7]
8 เจ้าหญิงฟาตาเฟฮี ลาปาฮา
ตองงา: Fatafehi Lapaha
พระเจ้าฟาตาเฟฮี เปาลาโฮ
(ตูอีโตงาที่ 36)
พระนางตูโปอูโมเฮโอโฟ
(ตูอิกาโนกูโปลูที่ 12)
1. วูนา ฟาโอตูซีอา ฟากาฮีกูโออูอีฮา (ตูอิฮาอะเตอีโฮที่ 6)
2. ฟีฟีตาปูกู (ตูอิฮาอะงานาที่ 2)
พระโอรส 1 พระองค์
พระธิดา 1 พระองค์
พระศพฝังที่ลางีลาฮี[7]
9 เจ้าหญิงฟาตาเฟฮี ฮาอะไป
ตองงา: Fatafehi Ha'apai
พระเจ้าฟาตาเฟฮี เปาลาโฮ
(ตูอีโตงาที่ 36)
พระนางตูโปอูโมเฮโอโฟ
(ตูอิกาโนกูโปลูที่ 12)
ตากีตากีมาโลฮี
(วูนาที่ 3 และตูอิวาวาอู)
พระโอรส 1 พระองค์

แหล่งข้อมูล แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Völkel, Svenja (2010). Social Structure, Space and Possession in Tongan Culture and Language. Culture and Language Use. Amsterdam: John Benjamins Publishing Company. pp. 54–5. ISBN 978-90-272-0283-3.
  2. Gunson, Niel (1987). "Sacred women chiefs and female 'headmen' in Polynesian history". The Journal of Pacific History. 22 (3): 139–172 (141). doi:10.1080/00223348708572563. ISSN 0022-3344.
  3. Spurway, John (2015). Ma`afu, prince of Tonga, chief of Fiji: The life and times of Fiji’s first Tui Lau. ANU Press. p. 64. ISBN 978-1-925021-18-9.
  4. E. E. V. Collocott (1924). "AN EXPERIMENT IN TONGAN HISTORY". The Journal of the Polynesian Society. 33:3(131): 166–184 – โดยทาง JSTOR.
  5. 5.0 5.1 "The 'Ahoe'itu Dynasty". Royal Ark. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. 6.0 6.1 "The 'Ahoe'itu Dynasty". Royal Ark. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. 7.0 7.1 7.2 "The 'Ahoe'itu Dynasty". Royal Ark. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)