ตำบลบาโงยซิแน

ตำบลในอำเภอยะหา จังหวัดยะลา ประเทศไทย

บาโงยซิแน หรือภาษามลายูปัตตานีว่า บาโงยซินา เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอยะหา จังหวัดยะลา

ตำบลบาโงยซิแน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Ba-ngoi Sinae
ประเทศไทย
จังหวัดยะลา
อำเภอยะหา
พื้นที่
 • ทั้งหมด20 ตร.กม. (8 ตร.ไมล์)
ประชากร
 • ทั้งหมด7,038 คน
 • ความหนาแน่น351.90 คน/ตร.กม. (911.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 95120
รหัสภูมิศาสตร์950507
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ประวัติ

แก้

ชื่อบาโงยซิแน เป็นภาษามลายูปัตตานีแปลว่า "โคกข่อย" เดิมพื้นที่นี้ถูกเรียกว่า กำปงบือแน แปลว่า "บ้านนา"[1] และมีประชากรจากไทรบุรี, โกตาบารู และปัตตานีโยกย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานจนเป็นชุมชนใหญ่[2][3] มีมุขปาฐะเล่าลือกันว่ามีแม่กองเมืองเป็นสตรีเพศซึ่งเจ้าเมืองยะลาตั้งขึ้น นางผู้นี้เป็นมุสลิมะฮ์เชื้อสายจีน ได้เข้ามาอาศัยอยู่กับเจ้าเมืองยะลาจนได้รับความไว้วางใจ เจ้าเมืองจึงได้แต่งตั้งให้นางเป็นแม่กองเมืองคอยดูแลความเรียบร้อยในบาโงยซิแน อันเป็นพื้นที่ชั้นในที่มีความอุดมสมบูรณ์เพราะมีแม่น้ำลำคลองหลายสายไหลผ่าน[1]

ปี พ.ศ. 2537 ตำบลบาโงยซิแนได้ยกฐานะขึ้นเป็นสภาตำบล และปี พ.ศ. 2540 จึงยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลบาโงยซิแน[3]

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

ตำบลหน้าถ้ำอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอยะหา มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้[4]

ประชากร

แก้

ตำบลบาโงยซิแนมีประชากรทั้งหมด 6,991 คน แบ่งเป็นเพศชาย 3,444 คน และเพศหญิง 3,557 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ยต่อพื้นที่ 350 คน/ตารางกิโลเมตร จำนวนครัวเรือน 1,214 ครัวเรือน ความหนาแน่นของบ้านเฉลี่ยต่อพื้นที่ 61 หลังคาเรือน[4] ประชากรทั้งหมดของตำบลบาโงยซิแนเป็นชาวไทยเชื้อสายมลายูและนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 100[4][5] มีศาสนสถานประกอบด้วยมัสยิดสี่แห่ง และสุเหร่าเก้าแห่ง[5]

ด้านการศึกษามีสถานศึกษาทั้งหมด 12 แห่ง แบ่งเป็น โรงเรียนมัธยมศึกษาหนึ่งแห่ง โรงเรียนประถมศึกษาสองแห่ง ตาดีกาแปดแห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหนึ่งแห่ง[5]

ภูมิศาสตร์

แก้

ตำบลบาโงยซิแนมีพื้นที่ 20 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 13,576 ไร่)[2] มีที่ราบตอนกลาง มีเนินเขาสูงทางทิศเหนือและตะวันตก มีที่ราบลุ่มขนาดน้อยทางทิศตะวันออกและใต้[4] พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำลำคลองหลายสายไหลผ่าน มีบึงและทำนบทดน้ำทำนา ทำให้ชาวบ้านน้ำใช้เพียงพอ[1] มีภูเขาหัวล้าน (บูเก๊ะบาเดาะกูลิง) ที่สวยงามแปลกตาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของท้องถิ่น[6] โดยบาโงยซิแนห่างจากอำเภอยะหา 7 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอเมืองยะลา 13 กิโลเมตร[2]

เศรษฐกิจ

แก้

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม[2] ส่วนใหญ่ทำสวนยางพารา รองลงมาคือทำสวนผลไม้ ทำนา รับจ้าง ค้าขาย บ้างก็รับราชการ[7] ซึ่งชาวสวนผลไม้ได้มีการแปรรูปเป็นสินค้าต่าง ๆ คือข้าวเกรียบฟักทอง และกล้วยอบน้ำผึ้ง[2]

เขตการปกครอง

แก้

ตำบลบาโงยซิแน แบ่งเขตการปกครองเป็น 6 หมู่บ้าน ได้แก่[1][4]

หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน ประชากร
1 บ้านบาโงยซิแน 238 1,433
2 บ้านบูเก๊ะ 249 1,222
3 บ้านลีมาปูโร๊ะ 217 1,280
4 บ้านโปโฮ (กำปงโฮ) 136 765
5 บ้านซีเยาะ 220 1,214
6 บ้านลูรง 179 1,124
รวม 1,239 7,038

อ้างอิง

แก้
เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 ทรัยนุง มะเด็ง และอื่น ๆ. "ในท้องถิ่นยาลอ". ยาลอเป็นยะลา ความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองและคนรุ่นใหม่ในเมืองและปริมณฑลเมืองยะลา, หน้า 140-144
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "ข้อมูลตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา ยะลา". ไทยตำบลดอตคอม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-17. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 "ประวัติความเป็นมา". องค์การบริหารส่วนตำบลบาโงยซิแน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 "สภาพทั่วไป". องค์การบริหารส่วนตำบลบาโงยซิแน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. 5.0 5.1 5.2 "สภาพด้านสังคม". องค์การบริหารส่วนตำบลบาโงยซิแน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-07. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. ""ภูเขาหัวล้าน" บ้านบาโงยซิแน จำนวนมาก". สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. 28 มกราคม 2558. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  7. "สภาพทางเศรษฐกิจ". องค์การบริหารส่วนตำบลบาโงยซิแน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
บรรณานุกรม
  • วลัยลักษณ์ ทรงศิริ และอื่น ๆ. ยาลอเป็นยะลา ความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองและคนรุ่นใหม่ในเมืองและปริมณฑลเมืองยะลา. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2553. ISBN 978-616-7070-28-5