ตำบลตาชี
ตาชี หรือภาษามลายูปัตตานีว่า โต๊ะยี[1] เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอยะหา จังหวัดยะลา
ตำบลตาชี | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Ta Chi |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ยะลา |
อำเภอ | ยะหา |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 32 ตร.กม. (12 ตร.ไมล์) |
ประชากร | |
• ทั้งหมด | 1,822 คน |
• ความหนาแน่น | 56.93 คน/ตร.กม. (147.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 95120 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 950506 |
ประวัติ
แก้ราวปี พ.ศ. 2310-2340 หรือราว 200 ปีก่อน มีชีปะขาวคนหนึ่งเดินทางเข้าไปในป่าแล้วพบท้องที่อันเหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานเพราะเป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การอยู่อาศัย ทั้งยังมีภูเขาโอบล้อมรอบอาณาบริเวณเสมือนกำแพงธรรมชาติ ตาชีปะขาวจึงได้ชี้ชวนให้ผู้คนจากจังหวัดสงขลาและปัตตานีเข้าไปตั้งถิ่นฐานเรียกว่า "บ้านตาชี้" ภายหลังเรียกเป็น "ตาชี"[2][3] ส่วนภาษามลายูปัตตานีเรียก "โต๊ะยี"[1]
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้ตำบลตาชีอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอยะหา มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้[2][4]
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลลำพะยา (อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา)
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลยะหา (อำเภอยะหา จังหวัดยะลา)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลบาโงยซิแน (อำเภอยะหา จังหวัดยะลา)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลธารคีรี (อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา)
ประชากร
แก้ตำบลตาชีมีประชากรทั้งหมด 1,822 คน แบ่งเป็นเพศชาย 888 คน และเพศหญิง 934 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 56 คนต่อตารางกิโลเมตร[4] ประชากรทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ[1] มีวัดแห่งเดียวคือวัดวงกตบรรพต (วัดตาชี)[5][6] ซึ่งได้รับรางวัลวัดส่งเสริมสุขภาพประจำปี 2555[7] ประชากรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรสวนยางพารา[8]
ด้านการศึกษา มีโรงเรียนระดับประถมศึกษาหนึ่งแห่งคือโรงเรียนบ้านตาชี[9]
ภูมิศาสตร์
แก้ตำบลตาชีห่างจากอำเภอยะหาราว 10 กิโลเมตร และอำเภอเมืองยะลา 20 กิโลเมตร[2] พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบและมีภูเขาล้อมรอบ ส่วนใหญ่เป็นสวนยางพาราและเป็นสวนผลไม้[4] มีลำห้วยต่าง ๆ ไหลรวมกันเป็นคลองตาชีผ่านตำบลตาชีและมีแก่งนางรำ[10] ก่อนไหลลงสู่แม่น้ำปัตตานีที่ตำบลท่าสาปในอำเภอเมืองยะลา[11]
เขตการปกครอง
แก้ตำบลตาชีแบ่งเขตการปกครองเป็น 5 หมู่บ้าน ได้แก่[4]
หมู่ที่ | ชื่อหมู่บ้าน | จำนวนครัวเรือน | ประชากร |
---|---|---|---|
1 | บ้านแค่ | 152 | 635 |
2 | บ้านนอก | 116 | 378 |
3 | บ้านออก | 45 | 170 |
4 | บ้านไร่ | 45 | 170 |
5 | บ้านเหมืองล่าง | 123 | 421 |
รวม | 481 | 1,774 |
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 อับดุลเลาะ หวังหนิ และอิบรอเฮ็ม มะโซะ (8 เมษายน 2549). ""ตาชี" ชุมชนคนรักรถจี๊บแห่งเมืองยะหา". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ 2.0 2.1 2.2 "ข้อมูลตำบลตาชี อำเภอยะหา ยะลา". ไทยตำบลดอตคอม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-23. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประวัติความเป็นมา". องค์การบริหารส่วนตำบลตาชี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-13. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 "สภาพทั่วไป". องค์การบริหารส่วนตำบลตาชี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-13. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""วัดสวนแก้ว" ที่ยะหา...ในวันร้างผ้าเหลือง". อิศรา. 20 พฤษภาคม 2554. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ รุ่งสุรีย์ กิตติกุลสวัสดิ์ (13 เมษายน 2560). "ชาวบ้านตำบลตาชี อำเภอยะหา จ.ยะลา ร่วมสืบสานประเพณี "รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ"". สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "สสจ.ยะลา มอบรางวัลประกวดวัด/มัสยิดส่งเสริมสุขภาพ". สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. 30 พฤศจิกายน 2555. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ "ชาวบ้านตาชี.....หวังรัฐบาลใหม่ช่วงยางทั้งระบบ". เนชั่น. 22 มิถุนายน 2562. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สภาพทางเศรษฐกิจ". องค์การบริหารส่วนตำบลตาชี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-13. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "อนุรักษ์แหล่งต้นน้ำฝายแก่งนางรำ ตำบลตาชี อำเภอยะหา จังหวัดยะลา". ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-28. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ และอื่น ๆ. ยาลอเป็นยะลา ความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองและคนรุ่นใหม่ในเมืองและปริมณฑลเมืองยะลา. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2553, หน้า 117