ตำบลยะลา

ตำบลในอำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ประเทศไทย

ยะลา หรือภาษามลายูปัตตานีว่า ยาลอ เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

ตำบลยะลา
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Yala
ประเทศไทย
จังหวัดยะลา
อำเภอเมืองยะลา
พื้นที่
 • ทั้งหมด11.66 ตร.กม. (4.50 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2559)
 • ทั้งหมด3,535 คน
 • ความหนาแน่น303.17 คน/ตร.กม. (785.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 95000
รหัสภูมิศาสตร์950106
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ศัพทมูลวิทยา แก้

ทางหนึ่งเชื่อว่ายาลอ มาจากคำว่า "ยาโลร์" มีความหมายว่า "ลาย (พาดกลอนของเสือ)"[1][2] มุขปาฐะเล่าลือกันว่ามีบุรุษผู้หนึ่งมือทั้งสองมีลายเสือพาดกลอน พร้อมกับคนกลุ่มหนึ่ง เดินทางจากบ้านปาโจทางทิศตะวันออกเฉียงใต้มาสร้างเมืองใหม่ จึงได้มีการตรวจชั่งน้ำแล้วพบว่าบริเวณแห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์ "ในหน้าน้ำน้ำไม่ท่วม ในหน้าแล้งน้ำไม่ขาด" ด้วยเหตุนี้บุรุษผู้มีมือลายเสือพาดกลอนและสมัครพรรคพวกจึงตั้งถิ่นฐานที่นี่ ชาวบ้านจึงขนานนามบ้านแห่งนี้ว่า "บ้านยาลอ" แปลว่า "บ้านของเจ้าลาย"[1][2]

อีกทางหนึ่งก็ว่าเป็นคำยืมในภาษาบาลี-สันสกฤตว่า "ชาละ" (Jāla)[3] มีความหมายว่า "แห" เล่ากันว่ามีชาวบ้านครอบครัวหนึ่งนำแหเข้ามาในหมู่บ้าน ซึ่งแปลกตาชาวบ้านที่พบเห็น เพราะแหเป็นอุปกรณ์จับปลาในทะเล จึงเล่าจึงลือแล้วกลายเป็นชื่อหมู่บ้านไป[1] บ้างก็ว่าภูเขายาลอ (บูเกะยาลอ) ที่ตั้งอยู่ในตำบลนี้มีลักษณะเหมือนแหจับปลา โดยผูกจอมแหแล้วถ่างตีนแหไปโดยรอบ ผู้คนจึงเรียกแล้วนำมาตั้งนามเมือง[3]

ประวัติ แก้

ในอดีตตำบลยะลามีการพัฒนาการจากการเป็นชุมชนในหุบเขาเป็นเมืองยะลา จากการแบ่งหัวเมืองภายหลังอาณาจักรรัตนโกสินทร์ครองอำนาจเหนืออาณาจักรปัตตานีราวปี พ.ศ. 2334 เมืองยะลาสั่งสมความมั่งคั่งจากการเป็นศูนย์กลางของเส้นทางการค้าระหว่างหัวเมืองชายฝั่งมหาสมุทรกับหัวเมืองท้องถิ่นภายในหุบเขา ดังจะพบร่องรอยของวังเจ้าเมืองยะลา และแนวกำแพงดิน (ลูวากอตอ)[1][2]

แต่ด้วยความที่ภูมิประเทศของเมืองไม่เหมาะสมนัก เพราะตั้งในหุบเขาและไกลจากแม่น้ำปัตตานี ภายหลังได้มีการย้ายศูนย์กลางของเมืองไปที่บ้านท่าสาปแทน[1] ดังบันทึกของพระยาเดชานุชิต (หนา บุนนาค) สมุหเทศาภิบาลปัตตานีระบุสภาพบ้านยะลาไว้เมื่อปี พ.ศ. 2449 ความว่า "การที่จะบำรุงยาก ด้วยเป็นบ้านไกลจากแม่น้ำอยู่ในละแวกเขา"[1][4]

ที่ตั้งและอาณาเขต แก้

ตำบลยะลาอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอเมืองยะลา มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้[5]

ประชากร แก้

ตำบลยะลามีประชากรทั้งหมด 3,535 คน แบ่งเป็นเพศชาย 1,701 คนและเพศหญิง 1,833 คน (สำรวจเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2559)[6] ประชากรทั้งหมดเป็นชาวไทยเชื้อสายมลายูและนับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 100[7] มีมัสยิดทั้งหมดสี่แห่งคือ มัสยิดบ้านยะลา, มัสยิดมุตมาอินนะห์, มัสยิดแมะปาโจ และมัสยิดเราะสุลยาบาล[7]

มีโรงเรียนประถมศึกษาสองแห่งคือ โรงเรียนบ้านยะลาและโรงเรียนบ้านปาโจ, ตาดีกาห้าแห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหนึ่งแห่ง[7]

ภูมิศาสตร์ แก้

ตำบลยะลาเป็นตำบลขนาดเล็ก มีพื้นที่ทั้งหมด 11.66 ตารางกิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองยะลา 12 กิโลเมตร[5] บางแห่งว่า 17 กิโลเมตร[2] พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีการทำนา และภูเขาน้อยใหญ่ล้อมรอบ ได้แก่ เขายาลอ (บูเกะยาลอ), เขากือจิ (บูเกะกือจิ) และเขาแดนคลัง[1]

เขตการปกครอง แก้

ตำบลยะลา แบ่งเขตการปกครองเป็น 3 หมู่บ้าน ได้แก่ (สถิติวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2551)[5]

หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน ประชากร
1 บ้านยะลา 234 1,290
2 บ้านกูเบ 139 745
3 บ้านปาโจ 227 1,179
รวม 600 3,214

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 ทรัยนุง มะเด็ง และอื่น ๆ. "ในท้องถิ่นยาลอ". ยาลอเป็นยะลา ความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองและคนรุ่นใหม่ในเมืองและปริมณฑลเมืองยะลา, หน้า 144-152
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "ข้อมูลตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา ยะลา". ไทยตำบลดอตคอม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-02-21. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 ประพนธ์ เรืองณรงค์. "บทผนวกเกียรติยศ". ใน รัฐปัตตานีใน "ศรีวิชัย" เก่าแก่กว่ารัฐสุโขทัยในประวัติศาสตร์, หน้า 346
  4. บาราย (31 พฤษภาคม 2552). "จากยะลาถึงท่าสาป". ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. 5.0 5.1 5.2 "สภาพทั่วไป". องค์การบริหารส่วนตำบลยะลา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-21. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "บรรยายสรุปข้อมูลอำเภอเมืองยะลา". ที่ว่าการอำเภอเมืองยะลา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-14. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. 7.0 7.1 7.2 "สภาพทางสังคม". องค์การบริหารส่วนตำบลยะลา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-21. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
บรรณานุกรม
  • สุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ). รัฐปัตตานีใน "ศรีวิชัย" เก่าแก่กว่ารัฐสุโขทัยในประวัติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มติชน. 2547
  • วลัยลักษณ์ ทรงศิริ และอื่น ๆ. ยาลอเป็นยะลา ความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองและคนรุ่นใหม่ในเมืองและปริมณฑลเมืองยะลา. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), 2553. ISBN 978-616-7070-28-5