ตำบลด่านแม่แฉลบ
ด่านแม่แฉลบ เป็น 1 ใน 6 ตำบลของอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอศรีสวัสดิ์ สถานีตำรวจภูธรด่านแม่แฉลบ และโรงพยาบาลศุกร์ศิริศรีสวัสดิ์
ตำบลด่านแม่แฉลบ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Dan Mae Chalaep |
![]() อ่างเก็บน้ำเขื่อนศรีนครินทร์ | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | กาญจนบุรี |
อำเภอ | ศรีสวัสดิ์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 745.90 ตร.กม. (287.99 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565) | |
• ทั้งหมด | 4,801 คน |
• ความหนาแน่น | 6.43 คน/ตร.กม. (16.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 71250 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 710402 |
![]() |
องค์การบริหารส่วนตำบลด่านแม่แฉลบ | |
---|---|
พิกัด: 14°35′56.7″N 99°06′56.0″E / 14.599083°N 99.115556°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | กาญจนบุรี |
อำเภอ | ศรีสวัสดิ์ |
จัดตั้ง | • 22 พฤษภาคม 2517 (สภาตำบลด่านแม่แฉลบ) • 30 มกราคม 2539 (อบต.ด่านแม่แฉลบ) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 745.90 ตร.กม. (287.99 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565)[1] | |
• ทั้งหมด | 4,801 คน |
• ความหนาแน่น | 6.43 คน/ตร.กม. (16.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 06710403 |
ที่อยู่ที่ทำการ | เลขที่ 1/2 หมู่ที่ 3 ถนนลาดหญ้า–ศรีสวัสดิ์ ตำบลด่านแม่แฉลบ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี 71250 |
เว็บไซต์ | danmaechalap |
![]() |

ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้ตำบลด่านแม่แฉลบมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลนาสวน และตำบลเขาโจด
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลหนองเป็ด และตำบลท่ากระดาน
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลหนองรี (อำเภอบ่อพลอย)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลแม่กระบุง และตำบลลิ่นถิ่น ตำบลหินดาด ตำบลชะแล (อำเภอทองผาภูมิ)
ประวัติ
แก้ด่านแม่แฉลบเป็นตำบลเก่าแก่ เดิมทีเดียวชาวบ้านได้ย้ายมาตั้งบ้านเรือน เนื่องจากเห็นว่าเป็นช่องด่านระหว่างภูเขาและลำห้วย ทำเลดี เมื่อสมัยที่ทำสงครามกับพม่า พม่าได้เดินทัพมาตีแถบชายแดนของประเทศไทย จึงได้ตั้งเป็นเมืองหน้าด่าน เรียกว่า เมืองศรีสวัสดิ์ ขึ้นตรงกับเจ้าเมืองกาญจนบุรี ในสมัย ร.1 ตำบลด่านแม่แฉลบเดิมชื่อ ห้วยแม่แฉลบ สภาพพื้นที่เดิมอยู่ริมแม่น้ำแควใหญ่ ซึ่งมีพื้นที่อุดมสมบูรณ์ ต่อมาปี พ.ศ. 2519 พื้นที่ตำบลนี้น้ำท่วมเมื่อมีการสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ จึงต้องอพยพชาวบ้านมาอยู่บนที่ราบสูงภูเขา โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและเขื่อนศรีนครินทร์ได้จัดสรรที่ดินให้แก่ราษฎรเป็นที่อยู่อาศัยและทำกิน
ด่านแม่แฉลบเดิมเป็นที่ตั้งของสุขาภิบาลศรีสวัสดิ์[2] ที่จัดตั้งบริเวณที่ว่าการกิ่งอำเภอศรีสวัสดิ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2499 ซึ่งที่ว่าการกิ่งอยู่ใกล้กับโรงเรียนด่านแม่แฉลบ และแม่น้ำแควใหญ่ เมื่อมีการสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ทำให้เป็นพื้นที่น้ำท่วม ประชาชนย้ายออกและไม่มีประชาชนอยู่ในเขตสุขาภิบาลเลย จึงยุบสุขาภิบาลศรีสวัสดิ์ลงในปี พ.ศ. 2522[3] พร้อมกับจัดตั้งสุขาภิบาลเอราวัณขึ้นแทน[4] ในท้องที่บ้านแก่งแคบ ของตำบลท่ากระดาน ที่มีประชาชนได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในการสร้างเขื่อนศรีนครินทร์บางส่วนได้ย้ายไปตั้งถิ่นฐาน
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้ตำบลด่านแม่แฉลบแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ 1 | บ้านท่าสนุ่น | (Ban Tha Sanun) | |||||||||
หมู่ที่ 2 | บ้านพุน้ำเปรี้ยว | (Ban Phu Nam Priao) | |||||||||
หมู่ที่ 3 | บ้านด่านแม่แฉลบ | (Ban Dan Mae Chalaep) | |||||||||
หมู่ที่ 4 | บ้านท่าสนุ่น | (Ban Tha Sanun) | |||||||||
หมู่ที่ 5 | บ้านโป่งหวาย | (Ban Pong Wai) | |||||||||
หมู่ที่ 6 | บ้านดงเสลา | (Ban Dong Salao) | |||||||||
หมู่ที่ 7 | บ้านปากเหมือง | (Ban Pak Mueang) | |||||||||
หมู่ที่ 8 | บ้านหาดแตง | (Ban Hat Taeng) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่ตำบลด่านแม่แฉลบมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลด่านแม่แฉลบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลด่านแม่แฉลบทั้งหมด ซึ่งเป็นสภาตำบลด่านแม่แฉลบที่จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2517[5] และยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลด่านแม่แฉลบในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539[6]
ประชากร
แก้พื้นที่ตำบลด่านแม่แฉลบประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 8 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 4,801 คน แบ่งเป็นชาย 2,440 คน หญิง 2,361 คน (เดือนธันวาคม 2565)[7] เป็นตำบลที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ในอำเภอศรีสวัสดิ์
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
หมู่บ้าน | พ.ศ. 2565[8] | พ.ศ. 2564[9] | พ.ศ. 2563[10] | พ.ศ. 2562[11] | พ.ศ. 2561[12] | พ.ศ. 2560[13] | พ.ศ. 2559[14] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ดงเสลา | 1,053 | 1,060 | 1,053 | 1,050 | 1,047 | 1,043 | 1,046 |
ท่าสนุ่น (หมู่ 4) | 769 | 767 | 772 | 764 | 753 | 758 | 759 |
โป่งหวาย | 705 | 708 | 686 | 681 | 674 | 668 | 675 |
พุน้ำเปรี้ยว | 674 | 675 | 683 | 683 | 696 | 681 | 693 |
ด่านแม่แฉลบ | 619 | 615 | 623 | 628 | 639 | 649 | 644 |
ปากเหมือง | 497 | 502 | 493 | 508 | 503 | 497 | 488 |
ท่าสนุ่น (หมู่ 1) | 243 | 246 | 250 | 253 | 255 | 255 | 258 |
หาดแตง | 221 | 219 | 226 | 221 | 224 | 222 | 223 |
**ทะเบียนกลาง | 20 | 24 | 19 | 232 | 232 | 230 | 234 |
รวม | 4,801 | 4,816 | 4,805 | 5,020 | 5,023 | 5,003 | 5,020 |
สถานที่สำคัญ
แก้- สถานีตำรวจภูธรด่านแม่แฉลบ จัดตั้งขึ้นครั้งแรก คือ สถานีตำรวจภูธรกิ่งอำเภอศรีสวัสดิ์ ต่อมาสถานีตำรวจภูธรศรีสวัสดิ์ได้ย้ายไปที่แทนที่สถานีตำรวจภูธรท่ากระดาน ที่ตำบลท่ากระดาน เนื่องจากมีวัตถุประสงค์การสร้างเพื่อแทนสถานีตำรวจภูธรเดิม ทางราชการเห็นว่าพื้นที่เขื่อนศรีนครินทร์ฝั่งตะวันออกมีลักษณะถูกตัดขาดจากสถานีตำรวจภูธรที่ได้ย้ายไป จึงตั้งสถานีตำรวจภูธรศรีสวัสดิ์ (เดิม) ขึ้นเป็นสถานีตำรวจภูธรด่านแม่แฉลบในปี พ.ศ. 2530[15] ไว้เป็นสถานีตำรวจภูธรตามเดิมด้วยเกรงว่าเหตุการณ์โจรผู้ร้ายจะกำเริบขึ้น โดยมีเขตอำนาจความรับผิดชอบใน 3 ตำบล 16 หมู่บ้าน ได้แก่ ตำบลเขาโจดทั้งตำบล ตำบลนาสวน (เฉพาะพื้นที่หมู่ 1–2, 4–5) และตำบลด่านแม่แฉลบ (เฉพาะพื้นที่หมู่ 1–6, 8)
- โรงพยาบาลศุกร์ศิริศรีสวัสดิ์ เป็นโรงพยาบาล 1 ใน 2 แห่งของอำเภอศรีสวัสดิ์ ตั้งอยู่ที่เลขที่ 80 หมู่ที่ 3 บ้านด่านแม่แฉลบ ตำบลด่านแม่แฉลบ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก (F3) จำนวนเตียงจริง 10 เตียง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข[16] เดิมทีเดียวอำเภอศรีสวัสดิ์ไม่มีโรงพยาบาลประจำอำเภอด้วยความที่มีความทุรกันดารการคมนาคมไม่สะดวก ฉลอง-อาภา เคียงศิริ มีความประสงค์จึงได้ปรึกษาหารือกับรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (น.พ.บรรลุ ศรีพาณิช/ว่ามีความประสงค์จะจัดสร้างโรงพยาบาลในถิ่นทุรกันดารโดยไม่ใช้งบประมาณของทางราชการ เมื่อท่านรองปลัดกระทรวงสาธารณสุขเห็นชอบในหลักการให้จัดสร้างโรงพยาบาลได้ในปี พ.ศ. 2528 ฉลอง-อาภา เคียงศิริ จึงได้ศึกษาด้านภูมิประเทศและความเป็นอยู่ของประชาชนที่เหมาะสมที่จะจัดสร้างโรงพยาบาล และในที่สุดทั้งสองท่านได้ตัดสินใจเลือกอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรีเป็นสถานที่จัดสร้าง โดยมอบงบประมาณส่วนตัวเป็นเงิน 4,995,000 บาท ซึ่งมีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด คือ นายแพทย์พยงค์ เสสนุตร และนายอำเภอศรีสวัสดิ์ คือ นายอำเภอประหยัด เสสบุตร ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี จนกระทั่งแล้วเสร็จพร้อมที่จะให้บริการแก่ประชาชนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำเภอศรีสวัสดิ์ เป็นพื้นที่ห่างไกลการคมนาคมไม่สะดวกต้องข้ามแพขนานยนต์การจัดสร้างโรงพยาบาลในบริเวณนี้ จึงนับว่าเหมาะสมมากเพื่อให้การบริการด้านสุขภาพอนามัยแก่ประชาชนผู้ยากไร้ตราบเท่าทุกวันนี้ ฉลองและคอาภา เคียงศิริ ก็มิได้ทอดทิ้งโรงพยาบาลศุกร์ศิริศรีสวัสดิ์ดังเห็นได้จากเมื่อปี พ.ศ. 2537 น.พ. จุลทล ทรัพย์มูล ซึ่งในขณะนั้นรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวนการโรงพยาบาลศุกร์ศิริอยู่ได้มีความคิดที่จะจัดสร้างอาคารผู้ป่วยพิเศษเพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการแก่ผู้ป่วยมากขึ้น เมื่อแจ้งความประสงค์ไปยังคุณฉลอง เคียงศิริท่านก็ได้มอบเงินจำนวน 1,000,000 บาท จนกระทั่งทุกวันนี้ความเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาในทางที่ดีขึ้นทำให้โรงพยาบาลศุกร์ศิริศรีสวัสดิ์เป็นสถานบริการที่สามารถรองรับผู้ป่วยได้ในขอบเขตของโรงพยาบาลขนาด 10 เตียง ที่มาของชื่อ "ศุกร์ศิริศรีสวัสดิ์" คำว่า "ศุกร์" ย่อมาจากนามสกุลคุณอาภา ศรีศุกร์ คำว่า "ศิริ"ย่อมาจากนามสกุลคุณฉลอง เคียงศิริ คำว่า "ศรีสวัสดิ์" มาจากอำเภอศรีสวัสดิ์เมื่อรวมกันแล้ว จึงเป็น "ศุกร์ศิริศรีสวัสดิ์" ชื่อที่ฟังแล้วให้ความรู้สึกมงคล
อ้างอิง
แก้- ↑ ประชากรในเขตอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลศรีสวัสดิ์ กิ่งอำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (83 ง): (ฉบับพิเศษ) 3-4. วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2499
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบสุขาภิบาลศรีสวัสดิ์ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (145 ง): 2928. วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2522
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเอราวัณ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (145 ง): 2926–2927. วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2522
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 9 ง): 5–219. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-05-03. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งสถานีตำรวจภูธรตำบลในกองบังคับการตำรวจภูธร ๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (198 ง): 288–291. วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2530
- ↑ "ข้อมูลพื้นฐานโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2562 ณ มิถุนายน 2563". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-27. สืบค้นเมื่อ 2020-06-28.