ตำบลดอนหัวฬ่อ
ดอนหัวฬ่อ เป็นตำบลในอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ เทศบาลตำบลดอนหัวฬ่อ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของตำบล ห่างจากตัวเมืองชลบุรีประมาณ 8 กิโลเมตร
ตำบลดอนหัวฬ่อ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Don Hua Lo |
พิกัด: 13°25′19.6″N 101°2′4.2″E / 13.422111°N 101.034500°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ชลบุรี |
อำเภอ | เมืองชลบุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 18.50 ตร.กม. (7.14 ตร.ไมล์) |
ประชากร | |
• ทั้งหมด | 11,779 คน |
• ความหนาแน่น | 636.70 คน/ตร.กม. (1,649.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 20000 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 200109 |
เทศบาลตำบลดอนหัวฬ่อ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Thetsaban Tambon Don Hua Lo |
คำขวัญ: ดอนหัวฬ่อน่าอยู่ การศึกษาก้าวไกล สุขอนามัยดีเยี่ยม | |
พิกัด: 13°25′19.6″N 101°2′4.2″E / 13.422111°N 101.034500°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ชลบุรี |
อำเภอ | เมืองชลบุรี |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | นวรัตน์ ไตรรักษ์ |
รหัส อปท. | 05200110 |
ที่อยู่ สำนักงาน | สำนักงานเทศบาลตำบลดอนหัวฬ่อ เลขที่ 49 หมู่ 6 ตำบลดอนหัวฬ่อ อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20000 |
โทรศัพท์ | 0 3819 3115 |
โทรสาร | 0 3819 3115 ต่อ 312 |
เว็บไซต์ | www |
ประวัติ
แก้มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า พื้นที่นี้ มีลักษณะเป็นป่า มีสัตว์ป่าอยู่อาศัยจำนวนมาก มีหนองน้ำกว้างใหญ่หนึ่งแห่ง ซึ่งมีสัตว์อยู่ชุกชุม ประชาชนในพื้นที่ล่าสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหาร ด้วยวิธีการทำหุ่นรูปสัตว์หลายชนิด เพื่อสวมศีรษะในการใช้หลอกล่อสัตว์ให้หลงกลมาติดกับ จึงเป็นที่มาของชื่อตำบล "ดอนหัวล่อ"[1]
เทศบาลตำบลดอนหัวฬ่อเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ได้รับการยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลดอนหัวฬ่อในวันที่ 24 สิงหาคม 2550 และได้รับการเปลี่ยนแปลงขนาดเป็นเทศบาลขนาดใหญ่ในวันที่ 5 ตุลาคม 2553[2]
ตราสัญลักษณ์เทศบาล
แก้- หัวกวาง ในอดีตชาวบ้านได้ทำเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ชาวบ้านได้จัดทำสวมศีรษะ มีลักษณะคล้ายกวาง เพื่อใช้ล่อดักสัตว์ในสมัยโบราณ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อตำบลคือ "ดอนหัวฬ่อ"
- พื้นที่สีเขียว และต้นข้าว แสดงถึงอาชีพหลักของประชาชนในตำบลในสมัยโบราณ คือการทำนา
- รวงข้าว 7 เมล็ด 2 ข้าง แสดงถึงหมู่บ้านในเขตการปกครองทั้ง 7 หมู่บ้าน
เนื้อที่และอาณาเขต
แก้ตำบลดอนหัวฬ่อมีพื้นที่ทั้งหมด 18.50 ตารางกิโลเมตร (11,562.5 ไร่) มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ข้างเคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ องค์การบริหารส่วนตำบลพานทองหนองกะขะ และองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เทศบาลตำบลหนองตำลึง และองค์การบริหารส่วนตำบลพานทองหนองกะขะ อำเภอพานทอง
- ทิศใต้ ติดต่อกับ เทศบาลตำบลนาป่า อำเภอเมืองชลบุรี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เทศบาลตำบลคลองตำหรุ เทศบาลตำบลหนองไม้แดง และเทศบาลตำบลนาป่า อำเภอเมืองชลบุรี
ตำบลดอนหัวฬ่อแบ่งออกเป็น 7 หมู่บ้าน ดังนี้
- หมู่ที่ 1 บ้านชากสมอ
- หมู่ที่ 2 บ้านหนองไผ่กลางดอน
- หมู่ที่ 3 บ้านหนองกงฉาก
- หมู่ที่ 4 บ้านดอนบน
- หมู่ที่ 5 บ้านดอนหัวฬ่อ
- หมู่ที่ 6 บ้านดอนล่าง
- หมู่ที่ 7 บ้านมาบสามเกลียว
เทศบาลตำบลดอนหัวฬ่อ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 ชุมชน ดังนี้
- ชุมชนที่ 1 สุขใจวิลล่า 1
- ชุมชนที่ 2 บ้านชากสมอ
- ชุมชนที่ 3 บ้านหนองไผ่กลางดอน
- ชุมชนที่ 4 บ้านหนองกงฉาก
- ชุมชนที่ 5 บ้านดอนบน
- ชุมชนที่ 6 บ้านดอนหัวฬ่อ
- ชุมชนที่ 7 บ้านดอนล่าง
- ชุมชนที่ 8 บ้านมาบสามเกลียว
ประชากร
แก้จากข้อมูลของกรมการปกครอง ประชากรในปลายปี พ.ศ. 2560 มีจำนวนทั้งสิ้น 11,779 คน แบ่งเป็นชาย 5,779 คน และเป็นหญิง 6,000 คน[3] มีจำนวนบ้านทั้งหมด 12,622 หลัง มีความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 636 คนต่อตารางกิโลเมตร สามารถแยกออกเป็นพื้นที่ได้ดังนี้[4]
ตำบล | หมูที่ | ชื่อหมู่บ้าน | จำนวนบ้าน (หลัง) | ประชากรชาย (คน) | ประชากรหญิง (คน) | รวมประชากร (คน) |
---|---|---|---|---|---|---|
ดอนหัวฬ่อ | 1 | ชากสมอ | 2,479 | 2,011 | 1,978 | 3,989 |
2 | หนองไผ่กลางดอน | 1,159 | 545 | 568 | 1,113 | |
3 | หนองกงฉาก | 1,355 | 774 | 830 | 1,604 | |
4 | ดอนบน | 2,775 | 960 | 1,032 | 1,992 | |
5 | ดอนหัวฬ่อ | 2,565 | 816 | 888 | 1,704 | |
6 | ดอนล่าง | 1,428 | 269 | 264 | 553 | |
7 | มาบสามเกลียว | 861 | 404 | 440 | 844 |
จากข้อมูลประชากรจะเห็นได้ว่า บางหมู่บ้านจะมีจำนวนบ้านมากกว่าจำนวนประชากร ทั้งนี้ เป็นเพราะมีประชากรแฝงจากต่างท้องที่มาเช่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จากการย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร โดยมีบ้านในเขตตำบลจำนวนมากที่เป็นบ้านว่าง (ไม่มีรายชื่อผู้อาศัยในบ้าน) ซึ่งเป็นบ้านที่สร้างขึ้นเพื่อให้เช่าอาศัย ทั้งในรูปแบบของห้องแถว คอนโดมิเนียม หมู่บ้านจัดสรร และอาคารพาณิชย์ อีกทั้งยังมีบ้านที่ไม่มีเลขที่ที่ได้สร้างหรือต่อเติมอาคารจากเดิมและแบ่งให้เช่าอีกด้วย ส่งผลให้ประชากรในเขตตำบลดอนหัวฬ่อนั้นมีประชากรแฝงไม่ต่ำกว่า 15,000 คน
เศรษฐกิจ
แก้เดิมพื้นที่ในเขตตำบลดอนหัวฬ่อมีลักษณะเป็นไร่นา แต่ปัจจุบันพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม พาณิชยการและที่อยู่อาศัย ส่งผลให้การประกอบอาชีพของประชากรเปลี่ยนแปลงไป โดยอาชีพหลักของประชากรในเขตตำบลมีดังนี้
- การประกอบธุรกิจให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ในเขตตำบลดอนหัวฬ่อมีการอยู่อาศัยของประชากรแฝงเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นประชากรที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร โดยประชากรเหล่านี้จะทำการเช่าบ้าน ห้องแถว หรือหอพัก เพื่ออยู่อาศัย ประชากรในพื้นที่ที่มีที่ดินหรืออาคารอยู่ก็พัฒนาพื้นที่ของตนเพื่อให้ผู้อื่นเช่าอาศัยหรือประกอบพาณิชยกรรม
- พาณิชยกรรม เนื่องด้วยการขยายตัวอย่างรวดเร็วของชุมชน ประชากรในพื้นที่ได้มีการเปิดร้านค้าขายสินค้าและบริการต่าง ๆ ริมถนนดอนหัวฬ่อ-คลองสัตตพงศ์ อีกทั้งยังมีศูนย์การค้าโรงบินสัน สาขาชลบุรีอยู่ในพื้นที่อีกด้วย
- การบริการ เช่น รถรับจ้าง ซ่อมเครื่องมือเครื่องใช้ บริการทำความสะอาด
- แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม ในจำนวนนี้รวมไปถึงประชากรแฝงจากต่างพื้นที่ และแรงงานต่างด้าว
การศึกษา
แก้มีสถานศึกษาจำนวน 4 แห่ง ดังนี้ สังกัดเทศบาลตำบลดอนหัวฬ่อ
- โรงเรียนเทศบาลดอนหัวฬ่อ 1 บ้านมาบสามเกลียว ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 เปิดสอนระดับอนุบาลถึงประถมศึกษา
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดอนบน ตั้งอยู่หมู่ที่ 4
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน (บ้านมาบสามเกลียว) ตั้งอยู่หมู่ที่ 7
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษา ชลบุรี เขต 1
- โรงเรียนวัดดอนดำรงธรรม ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 เปิดสอนระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาตอนต้น
การสาธารณสุข
แก้ประชากรในพื้นที่ตำบลดอนหัวฬ่อ มีการใช้บริการจากหน่วยงานสาธารณสุขจากภาครัฐ ดังนี้
หน่วยบริการปฐมภูมิ
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนหัวฬ่อ ตั้งอยู่หมู่ที่ 6
หน่วยบริการทุติยภูมิ
- โรงพยาบาลพานทอง ตั้งอยู่เลขที่ 1/10 หมู่ที่ 8 ตำบลพานทอง อำเภอพานทอง
- โรงพยาบาลชลบุรี ตั้งอยู่เลขที่ 69 หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองชลบุรี
ศาสนสถาน
แก้ประชากรในตำบลดอนหัวฬ่อส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัดจำนวนทั้งสิ้น 4 วัด
- วัดดอน ดำรงธรรม ตั้งอยู่หมู่ที่ 4
- วัดสังกะสี ตั้งอยู่หมู่ที่ 1
- วัดมาบสามเกลียว ตั้งอยู่หมู่ที่ 7
- วัดชากสมอ (สุขใจดี) ตั้งอยู่หมู่ที่ 2
การคมนาคม
แก้ถนนสายหลัก
- ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (ถนนมอเตอร์เวย์) เป็นเส้นทางหลักในการเข้าสู่กรุงเทพมหานคร โดยมีด่านเก็บค่าผ่านทางพนัสนิคม ในการเข้าออกทางพิเศษนี้
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 315 (ถนนศุขประยูร) เป็นเส้นทางหลักในการเข้าสู่ตัวเมืองชลบุรี
- ทางหลวงชนบทหมายเลข ชบ.3022 (ถนนเทศบาลหนองตำลึง 2 หรือถนนบ้านเก่า 11) เป็นเส้นทางเข้าสุ่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร (เฟส 6-9) และเข้าสู่ตำบลหนองตำลึง และตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง
- ถนนวิบูลประชารักษ์ เป็นเส้นทางเข้าสู่ตำบลหนองไม้แดง
- ถนนดอนหัวฬ่อ-คลองสัตตพงศ์ (ถนนบ้านเก่า 5) เป็นเส้นทางสายหลักของตำบล โดยมีลักษณะพาดผ่านกึ่งกลางของเขตเทศบาล
ถนนสายรอง
- ถนนราชพฤกษ์ 1
- ถนนศาลเจ้า
- ถนนหนองไผ่กลางดอน
- ถนนโรงเรียนวัดมาบสามเกลียว
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3701
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3702
- ถนนมิตรภาพ
รถโดยสารประจำทาง
- สาย 1633ก ชลบุรี-หัวไผ่
- สาย 1633ข ชลบุรี-ปรกฟ้า
- สาย 1633ข ขลบุรี-หนองตำลึง
- สาย 1633ข ขลบุรี-สัตพงษ์
- สาย - ขลบุรี-หนองไม้แดง-ดอนหัวฬ่อ
- สาย 265 ชลบุรี-นครราชสีมา
- สาย 52 กรุงเทพ-พนัสนิคม
สาธารณูปโภค
แก้ไฟฟ้า ประชาชนในพื้นที่ตำบลดอนหัวฬ่อ ใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดชลบุรี และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอพานทอง โดยมีไฟฟ้าใช้ร้อยละ 100
ประปา ประชาชนในพื้นที่ตำบลดอนหัวฬ่อ ใช้น้ำประปาจากการประปาส่วนภูมิภาค สาขาชลบุรี (ชั้นพิเศษ) แต่ยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ในบางหมู่บ้านยังใช้ระบบประปาหมู่บ้านและแหล่งน้ำธรรมชาติอยู่
อ้างอิง
แก้- ↑ https://issuu.com/thanachirapiwat/docs/___________________________________
- ↑ http://dhr.go.th/public/history/data/index/menu/22[ลิงก์เสีย]
- ↑ http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/views/showVillageData.php?rcode=20660109&statType=1&year=60
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-25. สืบค้นเมื่อ 2018-01-29.