ตำนานคธูลู
ตำนานคธูลู (อังกฤษ: Cthulhu Mythos) เป็นตำนานสมมุติ ซึ่งถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นจักรวาลร่วมของงานประพันธ์ซึ่งริเริ่มโดย เอช. พี. เลิฟคราฟท์ นักประพันธ์ ออกัสต์ เดอเลธ เป็นผู้เริ่มใช้ศัพท์นี้โดยตั้งตามคธูลู ตำนานคธูลูไม่ใช่ซีรีส์เดียว แต่รวมถึงงานประพันธ์ทุกรูปแบบที่ใช้รูปแบบ ตัวละคร ฉาก และ เนื้อหาซึ่งมีรูปแบบเดียวกัน ซึ่งงานประพันธ์เหล่านี้ ได้สร้างตำนานซึ่งนักประพันธ์ในแนวเลิฟคราฟท์ใช้ประกอบงานเขียนจนถึงปัจจุบัน และขยายจักรวาลสมมุตินี้ออกไปจนพ้นแนวคิดเดิมของเลิฟคราฟท์[1]
พัฒนาการ
แก้โรเบิร์ต แม็คแนร์ ไพรซ์ ได้แบ่งพัฒนาการของตำนานคธูลูออกเป็นสองช่วงสำคัญ คือช่วงแรกที่เลิฟคราฟท์ยังมีชีวิตอยู่ และ ช่วงที่สองซึ่งออกัสต์ เดอเลธได้จัดระเบียบและขยายขอบเขตออกไปหลังจากที่เลิฟคราฟท์เสียชีวิต[2]
ช่วงแรก
แก้เลิฟคราฟท์ได้หยิบยืมแนวคิดมาจากนักประพันธ์ซึ่งเขาชื่นชอบ เช่น ฮัสเทอร์ ซึ่งเป็นเทพผู้ดีงามในงานประพันธ์ของแอมโบรส เบียร์ซ แต่ถูกเขียนถึงให้ชั่วร้ายขึ้นในงานประพันธ์ของโรเบิร์ต วิลเลียม แคมเบอร์ ก่อนที่เลิฟคราฟท์จะเขียนถึงตามความคิดของตนเอง
ในชีวิตช่วงหลังของเลิฟคราฟท์ จึงได้มีการหยิบยืมสิ่งที่ปรากฏในงานประพันธ์ของนักเขียนกลุ่มเดียวกับเลิฟคราฟท์อย่างมากมาย เลิฟคราฟท์เห็นว่านักประพันธ์แต่ละคนล้วนแต่มีกลุ่มเรื่องของตนเอง และสิ่งที่ปรากฏในงานประพันธ์ของกลุ่มหนึ่งก็ไม่จำเป็นจะต้องเกี่ยวข้องกับอีกกลุ่มหนึ่งเพียงเพราะนักประพันธ์เขียนถึง เช่น คลาก แอชตัน สมิธ ได้เขียนถึงคธูลูในเรื่องชุดไฮเปอร์โบเรียนก็ไม่ได้หมายความว่าคธูลูเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องในกลุ่มไฮเปอร์โบเรียน
สิ่งที่ปรากฏในเรื่องของนักประพันธ์ในกลุ่มเลิฟคราฟท์มักไม่ปรากฏตัวในงานประพันธ์ของผู้อื่นโดยตรง แต่จะกล่าวถึงผ่านตำราต่าง ๆ ในเรื่อง เช่น ในเรื่อง The Children of the Night โรเบิร์ต เออวิน โฮวาร์ด ให้ตัวละครอ่านนีโครโนมิคอน ซึ่งเคยกล่าวถึงในงานของเลิฟคราฟท์ ในขณะที่เรื่อง Out of the Aeons และ The Shadow Out of Time ของเลิฟคราฟท์เองก็กล่าวถึง Unaussprechlichen Kulten จากเรื่องของโฮวาร์ดเช่นกัน
เดวิด อี ชูลทซ์ระบุว่า เลิฟคราฟท์เองตั้งใจจะให้ตำนานเป็นเพียงฉากหลังที่มีไว้ประกอบงานประพันธ์เท่านั้น ไม่ใช่จุดสำคัญของเรื่อง แท้จริงแล้ว สิ่งสำคัญในงานประพันธ์ของเลิฟคราฟท์ก็คือเมืองอาร์คัม ไม่ใช่คธูลู.[3] แต่เป็นออกัสต์ เดอเลธที่เข้าใจว่าเลิฟคราฟท์ต้องการให้นักประพันธ์เขียนถึงตำนานนี้มากกว่าจะใช้ประกอบงานประพันธ์[4]
ช่วงที่สอง
แก้พัฒนาการระยะที่สองของตำนานคธูลูเริ่มโดยนักประพันธ์ ออกัสต์ เดอเลธ ซึ่งได้เชื่อมโยงธาตุทั้งสี่เข้ากับเทพในตำนานคธูลู เดอเลธยังเป็นผู้เชื่อมโยงเรื่องของเลิฟคราฟท์ ซึ่งเดิมทีสามารถแบ่งออกได้เป็นสามกลุ่ม คือเรื่องแฟนตาซีในแบบฉบับของลอร์ดดุนซานี เรื่องชุดเมืองอาร์คัม และเรื่องเกี่ยวกับจักรวาลของคธูลูเข้าเป็นหนึ่งเดียว[5] เดอเลธยังนับว่าทุก ๆ เรื่องที่กล่าวถึงสิ่งที่มาจากตำนานคธูลูล้วนเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องชุดตำนานคธูลู ในขณะที่เลิฟคราฟท์เพียงแต่กล่าวถึงหนังสือ Book of Eibon จากงานประพันธ์ของคลาก แอชตัน สมิธเท่านั้น เดอเลธกลับดึงอุบโบ ซาธลาจากงานของสมิธมาใช้โดยตรง ซึ่งการจัดกลุ่มของเดอเลธนี้ทำให้จักรวาลสมมุติของตำนานคธูลูมีขอบเขตกว้างขึ้นอย่างมาก[6] เดอเลธเป็นผู้เผยแพร่งานประพันธ์ของเลิฟคราฟท์หลังจากที่เลิฟคราฟท์เสียชีวิตไปแล้ว[7] เนื่องจากเลิฟคราฟท์เองเป็นผู้อ่อนไหวต่อคำวิจารณ์และมักท้อแท้เมื่อผลงานถูกปฏิเสธ[8] จึงกล่าวได้ว่าเดอเลธเป็นผู้ทำให้ตำนานคธูลูเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในระดับสาธารณชน
นอกจากนั้น นักประพันธ์รุ่นหลัง เช่น ลิน คาเตอร์ มักรูปแบบที่เขียนบรรยายถึงรายละเอียดและความสัมพันธ์ของเทพต่าง ๆ ในตำนานคธูลูอย่างละเอียด จึงมีการระบุถึงตัวละคร หนังสือ และสถานที่ต่าง ๆในตำนานคธูลูเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ในปีพ.ศ. 2524 บริษัทเคออเซียมได้เผยแพร่เกมเล่นตามบทบาท Call of Cthulhu ซึ่งแบ่งแยกเทพและอสุรกายในเรื่องราวของเลิฟคราฟท์เป็นกลุ่มย่อยๆ คือ เอาเตอร์ก็อด เกรทโอลด์วัน เผ่าพันธุ์ผู้รับใช้ และ เทพอื่น ๆ ข้อมูลของเกมได้รับการยอมรับในจักรวาลสมมุติของตำนานคธูลูในเวลาต่อมา เนื่องจากเคออเซียมได้เผยแพร่เรื่องราวในตำนานคธูลูที่เขียนโดยนักประพันธ์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเกมนี้ งานประพันธ์รุ่นหลังในกลุ่มตำนานคธูลูจึงมักมีการระบุถึงสิ่งต่าง ๆในตำนานโดยตรงมากกว่าจะกล่าวถึงในลักษณะของสิ่งลี้ลับเช่นในยุคสมัยของเลิฟคราฟท์
ลักษณะของเรื่อง
แก้The most merciful thing in the world, I think, is the inability of the human mind to correlate all its contents. — H.P. Lovecraft, The Call of Cthulhu
เนื้อหาสำคัญของตำนานคธูลูก็คือ โลกมนุษย์เป็นเพียงสิ่งที่เปราะบาง มนุษย์ใช้ชีวิตอยู่โดยไม่เคยรู้สึกถึงสิ่งที่ซ่อนอยู่ในโลกและจักรวาล บางครั้งมนุษย์จึงได้ทราบหรือพบกับสิ่งทรงอำนาจจากต่างดาว หรือเหล่าอมนุษย์ที่บูชาสิ่งเหล่านั้น การค้นพบสิ่งเหล่านี้มักทำให้ความเชื่อของบุคคลนั้นพังทลายโดยสิ้นเชิง และด้วยขีดจำกัดของจิตใจมนุษย์ เทพซึ่งอยู่เหนือคำจำกัดความว่าชั่วร้ายหรือดีงามเหล่านั้นจึงดูเหมือนเปี่ยมด้วยอำนาจจนทำให้เสียสติได้ กล่าวได้ว่าเนื้อหาสำคัญของเรื่องในชุดตำนานคธูลูก็คือความด้อยค่า ไร้ความหมาย และอ่อนแอของมนุษยชาติเมื่อเทียบกับจักรวาลนี้นั่นเอง
เรื่องสั้น เสียงเรียกของคธูลู เป็นบทประพันธ์เรื่องแรกของเลิฟคราฟท์ซึ่งมีลักษณะสำคัญอย่างครบถ้วน ชื่อของคธูลูจึงถูกใช้เป็นตัวแทนของตำนานสมมุตินี้ ในช่วงบั้นปลายชีวิต เลิฟคราฟท์ได้ลดลักษณะของสิ่งเหนือธรรมชาติลงและแทนที่ด้วยปรากฏการณ์ของจักรวาลซึ่งอยู่นอกเหนือความเข้าใจเรื่องมิติและเวลาของมนุษย์ ทำให้มีลักษณะใกล้เคียงกับนิยายวิทยาศาสตร์มากกว่าเดิม
เดอเลธได้พยายามปรับมุมมองของจักรวาลสมมุติในตำนานคธูลูให้เข้ากับความเชื่อแบบโรมันคาทอลิก จึงเปลี่ยนลักษณะของจักรวาลที่วุ่นวายและไร้ความหมายมาเป็นการต่อสู้ระหว่างความดีและความชั่ว[9] ในขณะที่เลิฟคราฟท์เป็นอเทวนิยม[10] แนวคิดของทั้งสองจึงเป็นความคิดอันแตกต่างกันที่ใช้เพื่อเร้าอารมณ์แบบเดียวกัน[11]
ตำนานคธูลูในภาษาอื่นๆ
แก้ภาษาญี่ปุ่น
แก้เรื่อง มาไคซุยโคเดน (魔界水滸伝) ของคาโอรุ คุริโมโตะ ซึ่งเป็นเรื่องการต่อสู้ของเหล่าเทพในตำนานคธูลูกับเทพเจ้าในตำนานญี่ปุ่น โดยดัดแปลงมาจาก 108 ผู้กล้าหาญแห่งเขาเหลียงซาน ได้รับการยอมรับว่าเป็นงานประพันธ์สำคัญซึ่งทำให้ตำนานคธูลูเป็นที่สนใจในวัฒนธรรมของญี่ปุ่น[12]
นิยายไลท์โนเวล, แฟลชแอนิเมชันเรื่อง "เทพพิทักษ์จอมยุ่ง เนียลโกะ" ของมันตะ ไอโซระ มีเนื้อหาตลกล้อเลียนตำนานคธูลูเป็นหลัก
ดูเพิ่ม
แก้เทพในตำนานคธูลู
แก้สิ่งมีชีวิตในตำนานคธูลู
แก้หนังสือในตำนานคธูลู
แก้สื่อ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Harms, "A Brief History of the Cthulhu Mythos", The Encyclopedia Cthulhiana, pp. viii–ix.
- ↑ Price, "H. P. Lovecraft and the Cthulhu Mythos", Crypt of Cthulhu #35, p. 5.
- ↑ Schultz, "Who Needs the Cthulhu Mythos?", A Century Less A Dream, pp. 46, 54.
- ↑ Schultz, "Who Needs the Cthulhu Mythos?", pp. 46–7.
- ↑ Price, "H. P. Lovecraft and the Cthulhu Mythos", Crypt of Cthulhu #35, p. 9.
- ↑ Ibid, pp. 6-10.
- ↑ Bloch, "Heritage of Horror", p. 8.
- ↑ Joshi, The Scriptorium, "H. P. Lovecraft", section I.
- ↑ Bloch, "Heritage of Horror", p. 9.
- ↑ Joshi, The Scriptorium, "H. P. Lovecraft", section II.
- ↑ Turner, "Iä! Iä! Cthulhu Fhtagn!", Tales of the Cthulhu Mythos, p. viii. Turner writes: "Lovecraft's imaginary cosmogony was never a static system but rather a sort of aesthetic construct that remained ever adaptable to its creator's developing personality and altering interests... [T]here was never a rigid system that might be posthumously appropriated by the pasticheur... [T]he essence of the mythos lies not in a pantheon of imaginary deities nor in a cobwebby collection of forgotten tomes, but rather in a certain convincing cosmic attitude."
- ↑ Bush, Laurence C. (2001). Asian horror encyclopedia: Asian horror culture in literature, manga and folklore. Writers Club Press. pp. 33–34, 106. ISBN 9780595201815.
- Bloch, Robert (1982). "Heritage of Horror". The Best of H. P. Lovecraft: Bloodcurdling Tales of Horror and the Macabre (1st ed.). Ballantine Books. ISBN 0-345-35080-4.
- Derleth, August (1969). "The Cthulhu Mythos". Tales of the Cthulhu Mythos. Sauk City, WI: Arkham House.
- Harms, Daniel (1998). The Encyclopedia Cthulhiana (2nd ed.). Chaosium, Inc. ISBN 1-56882-119-0.
- Joshi, S. T. (1982). H. P. Lovecraft (1st ed.). Mercer Island, WA: Starmont House. ISBN 0-916732-36-3; ISBN 0-916732-35-5 (paper).
- Lovecraft, Howard P. (1999) [1928]. "The Call of Cthulhu". ใน S. T. Joshi (บ.ก.). The Call of Cthulhu and Other Weird Stories. London, UK; New York, NY: Penguin Books. ISBN.
- Mosig, Yozan Dirk W. (1997). Mosig at Last: A Psychologist Looks at H. P. Lovecraft (1st printing ed.). West Warwick, RI: Necronomicon Press. ISBN 0-940884-90-9.
- Murray, Will (January 1999). "In Search of Arkham Country I". ใน James Van Hise (บ.ก.). The Fantastic Worlds of H. P. Lovecraft. Yucca Valley, CA: James Van Hise. No ISBN.
- Schultz, David E. (2002) [1987]. "Who Needs the Cthulhu Mythos?". ใน Scott Conners (บ.ก.). A Century Less a Dream: Selected Criticism on H. P. Lovecraft (1st ed.). Holikong, PA: Wildside Press. ISBN 1-58715-215-0.
- Schweitzer, Darrell (2001). Discovering H. P. Lovecraft. Helicong, PA: Wildside Press. ISBN 1-58715-470-6 (trade paper); ISBN 1-58715-471-4 (hardcover).
- Turner, James (1998). "Iä! Iä! Cthulhu Fhtagn!". Tales of the Cthulhu Mythos (1st ed.). Random House. ISBN 0-345-42204-X.
- Jens, Tina (1999). Cthulhu and the Coeds: Kids and Squids. Chicago, IL: Twilight Tales (trade paper).
- Thomas, Frank Walter (2005). Watchers of the Light, (1st printing ed.). Lake Forest Park, WA: Lake Forest Park Books. ISBN 0-9774464-0-9 (paperback).
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Joshi, S. T. "H. P. Lovecraft". The Scriptorium. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-07-18. สืบค้นเมื่อ July 20, 2005.
- The H. P. Lovecraft Archive
- Mythos Tomes, stories, articles, and reviews relating to the Cthulhu Mythos
- The Official Cthulhu Mythos FAQ เก็บถาวร 2008-06-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, by Daniel Harms
- Index of The Works of Howard Phillips Lovecraft เก็บถาวร 2008-07-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนFull stories