ด้วงแรดมะพร้าว
ตัวผู้ในประเทศไทย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ชั้น: Insecta
อันดับ: Coleoptera
วงศ์: Scarabaeidae
วงศ์ย่อย: Dynastinae
เผ่า: Coelosis
Hope, 1837
สกุล: Oryctes
สปีชีส์: O.  rhinoceros
ชื่อทวินาม
Oryctes rhinoceros
(Linnaeus, 1758)
ชื่อพ้อง [1]
  • Scarabaeus rhinoceros Linnaeus, 1758

ระวังสับสนกับด้วงงวงมะพร้าวหรือด้วงสาคู ดู ด้วงงวงมะพร้าว

ด้วงแรดมะพร้าว หรือ ด้วงมะพร้าว (อังกฤษ: Coconut rhinoceros beetle, Indian rhinoceros beetle, Asian rhinoceros beetle) เป็นด้วงกว่างชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oryctes rhinoceros

มีลำตัวสีน้ำตาลแดงเกือบดำ มีขนสีน้ำตาลอ่อนที่ด้านข้างของส่วนหัว อก ขา และด้านล่างของลำตัว ตัวผู้มีเขาคล้ายนอแรดที่ส่วนหัวค่อนข้างยาว ตัวเมียมีลักษณะคล้ายตัวผู้แต่มีเขาสั้นกว่า และที่ส่วนปลายของท้องด้านล่างมีขนเยอะกว่าตัวผู้ และมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ไม่มาก

มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 37-45 มิลลิเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในอนุทวีปอินเดียและเอเชียอาคเนย์ โดยด้วงกว่างชนิดนี้ถือเป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญมากของพืชจำพวกปาล์มและมะพร้าวในทวีปเอเชีย โดยตัวเต็มวัยจะเจาะกินยอดอ่อนในเวลากลางคืนทำให้ยอดอ่อนแตกออกมาเห็นใบหักเสียหาย ส่วนทางมะพร้าวหรือปาล์มที่ตัดทิ้งไว้บนดินภายในสวน ก็เป็นแหล่งเพาะอาศัยของตัวอ่อน โดยหลังจากวางไข่แล้วฟักเป็นตัวหนอนก็จะเจริญเติบโตกัดกินอยู่ด้านล่างหรืออยู่ในดิน ไข่มีทรงกลมมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 มิลลิเมตร ฟักเป็นตัวในระยะเวลา 7-8 วัน หนอนมีสีขาวนวลมีอายุ 3-4 วัน มีส่วนหัวเป็นสีเหลืองปนน้ำตาล เป็นดักแด้ประมาณ 1 เดือน ตัวเต็มวัยมีอายุประมาณ 2-3 เดือน นับว่าเป็นด้วงกว่างที่มีระยะเวลาเจริญเติบโตเร็วมาก [2]

อ้างอิง แก้

  1. Lars Wallin (February 14, 2001). "Catalogue of type specimens. 4. Linnaean specimens" (PDF). Uppsala University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-10-27. สืบค้นเมื่อ August 28, 2010.
  2. พิสุทธิ์ เอกอำนวย, คู่มือคนรักแมลง 2 การเลี้ยงด้วง (มีนาคม พ.ศ. 2552) หน้า 193 ISBN 978-974-660-832-9

แหล่งข้อมูลอื่น แก้