ดาวเคราะห์
ดาวเคราะห์ (กรีก: πλανήτης; อังกฤษ: planet หรือ "ผู้พเนจร") คือวัตถุขนาดใหญ่ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ ก่อนคริสต์ทศวรรษ 1990 มีดาวเคราะห์ที่เรารู้จักเพียง 8 ดวง (ทั้งหมดอยู่ในระบบสุริยะ) ปัจจุบันเรารู้จักดาวเคราะห์ใหม่อีกมากกว่า 100 ดวง ซึ่งเป็นดาวเคราะห์นอกระบบ คือ โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นที่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์ ในปี พ.ศ. 2549 สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (IAU) มีมติรับคำนิยามทางวิทยาศาสตร์ของดาวเคราะห์ว่า วัตถุฟากฟ้าที่โคจรรอบดาวฤกษ์จะเป็นดาวเคราะห์ได้ ต่อเมื่อ
- มีมวลมากพอที่จะรักษาทรงกลมไว้ได้ด้วยแรงโน้มถ่วงของตนเอง
- ต้องไม่มีมวลมากจนถึงขนาดก่อให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลีย์ฟิวชั่น หรือปฏิกิริยาการหลอมนิวเคลียส
- ต้องไม่มีดาวเคราะห์อื่นร่วมใช้วงโคจร ซึ่งรวมไปถึงว่าต้องไม่มีดาวเคราะห์แรกเกิด (planetesimal) อื่นกำลังก่อตัวอยู่ในวงโคจร[1][2]
| ||||
ดาวเคราะห์ทั้งแปด[a] ในระบบสุริยะ:
เรียงลำดับจากดวงอาทิตย์ และใช้สีจริง. ขนาดไม่ตามของจริง |
ดาวเคราะห์เป็นวัตถุฟากฟ้าที่ศึกษากันมาแต่โบราณ ทั้งในทางวิทยาศาสตร์ และโหราศาสตร์ นักดาราศาสตร์กรีกชื่อ ปโตเลมี เชื่อว่า ดาวเคราะห์ทั้งหลายล้วนโคจรรอบโลกในการเคลื่อนที่แบบรอบอภิวัฏ (Epicycle)
ทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับกันมากที่สุดในปัจจุบันกล่าวว่าดาวเคราะห์ก่อตัวขึ้นจากการยุบตัวลงของกลุ่มฝุ่นและแก๊ส พร้อมๆ กับการก่อกำเนิดดวงอาทิตย์ที่ใจกลาง ดาวเคราะห์ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง สามารถมองเห็นได้เนื่องจากพื้นผิวสะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ในระบบสุริยะมีดาวบริวารโคจรรอบ ยกเว้นดาวพุธและดาวศุกร์ และสามารถพบระบบวงแหวนได้ในดาวเคราะห์ขนาดใหญ่อย่างดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน มีเพียงดาวเสาร์เท่านั้นที่สามารถมองเห็นวงแหวนได้ชัดเจนด้วยกล้องส่องทางไกล
นิยามของดาวเคราะห์
แก้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ที่ประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก ซึ่งประกอบด้วยนักดาราศาสตร์กว่า 2,500 คนจาก 75 ประเทศทั่วโลก ได้มีมติกำหนดนิยามใหม่ของดาวเคราะห์ ดังนี้ [3][4]
- เป็นดาวที่โคจรรอบดาวฤกษ์ (ซึ่งในที่นี้หมายถึงดวงอาทิตย์) แต่ไม่ใช่ดาวฤกษ์ และไม่ใช่ดาวบริวาร
- มีมวลมากพอที่จะมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดตัวเองให้อยู่ในสภาวะสมดุลอุทกสถิต หรือรูปร่างใกล้เคียงกับทรงกลม
- มีวงโคจรที่ชัดเจนและสอดคล้องกับดาวเคราะห์ข้างเคียง
- มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 500 ไมล์ (804.63 กิโลเมตร)
นิยามใหม่นี้ส่งผลให้ ดาวพลูโต (♇) และดาวอีรีส ซึ่งเคยนับเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 และ 10 ถูกปลดออกจากการเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ คงเหลือดาวเคราะห์เพียง 8 ดวง เนื่องจากดาวพลูโตไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูด และวงโคจรของสิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกระบบสุริยะ ทั้งยังมีวงโคจรที่ไม่สอดคล้องกับดาวเคราะห์ข้างเคียง และให้ถือว่าดาวพลูโตเป็น ดาวเคราะห์แคระ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ
รายชื่อดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ
แก้(เรียงตามระยะห่างเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์)[ต้องการอ้างอิง]
- ดาวพุธ ( )
- ดาวศุกร์ ( )
- โลก ( )
- ดาวอังคาร ( )
- ดาวพฤหัสบดี ( )
- ดาวเสาร์ ( )
- ดาวยูเรนัส ( )
- ดาวเนปจูน ( )
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "IAU 2006 General Assembly: Result of the IAU Resolution votes". International Astronomical Union. 2006. สืบค้นเมื่อ 2009-12-30.
- ↑ "Working Group on Extrasolar Planets (WGESP) of the International Astronomical Union". IAU. 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-09-16. สืบค้นเมื่อ 2008-08-23.
- ↑ จัดระเบียบจักรวาลนิยามใหม่ "ดาวเคราะห์" - "ดาวเคราะห์แคระ" เก็บถาวร 2012-10-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ผู้จัดการออนไลน์ 25 สิงหาคม 2549
- ↑ สถาบันดาราศาสตร์เตรียมแถลงแพร่ข้อมูลลดชั้น "พลูโต" สัปดาห์หน้า เก็บถาวร 2012-10-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ผู้จัดการออนไลน์ 25 สิงหาคม 2549
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/>
ที่สอดคล้องกัน