อิหม่ามอับดุลเลาะห์ บิน อับดุลฮามีด[1] หรือ ดอเลาะ สะไร (13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499[ต้องการอ้างอิง] – 11 มกราคม พ.ศ. 2562) เป็นโต๊ะอิหม่ามประจำมัสยิดปูโปะ[2] ที่เสียชีวิตจากความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[3][4][5] โดยเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ใหญ่ช่วงรอยต่อ พ.ศ. 2561–2562[6][7]

ดอเลาะ สะไร

โต๊ะอิหม่ามประจำมัสยิดปูโปะ
เกิด13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499[ต้องการอ้างอิง]
เสียชีวิต11 มกราคม พ.ศ. 2562 (62 ปี)[1]
โรงพยาบาลรือเสาะ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
สาเหตุเสียชีวิตถูกประกบยิง

การเสียชีวิตของท่าน รวมถึงพระครูประโชติรัตนานุรักษ์ที่มรณภาพจากเหตุการณ์ช่วงไล่เลี่ยกัน ส่งผลให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและสำนักจุฬาราชมนตรี ออกแถลงการณ์ประณามการกระทำของผู้ก่อเหตุ[8][9][10]

ประวัติ แก้

ท่านได้เปิดร้านน้ำชาและกาแฟใกล้กับที่ทำการบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) สาขารือเสาะ ณ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส[11][12]

วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2562 หลังจากที่ท่านทำการปิดร้านและขี่รถจักรยานยนต์กลับบ้าน ได้เกิดมีคนร้ายสองคนขี่จักรยานยนต์ตามหลังมา แล้วยิงปืนใส่ 4 นัดซ้อนก่อนหลบหนีไป ซึ่งดอเลาะ สะไร ได้รับบาดเจ็บสาหัส เจ้าหน้าที่จึงรีบนำส่งรักษาที่โรงพยาบาลรือเสาะ แต่ท่านก็เสียชีวิตในเวลาต่อมา[13]

สิ่งสืบเนื่อง แก้

จากการสูญเสียดังกล่าว ได้มีบุคคลจากหลายพรรคการเมืองแสดงความเสียใจ และประณามต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทั้งพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย[14]

ส่วนเจะอามิง โตะตาหยง จากพรรครวมพลังประชาชาติไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส เผยว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอาจจะมาจากการตอบโต้เจ้าหน้าที่รัฐที่วิสามัญฯ และจับกุมคนร้าย หรืออาจเป็นการสร้างสถานการณ์เพื่อสร้างความแตกแยกระหว่างศาสนา โดยเชื่อว่าไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง[14]

ขณะที่มะฮัสตี มะแซสะอิ จากพรรคภูมิใจไทย ร่วมประณามผู้ก่อเหตุ รวมถึงเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยของประชาชน ตลอดจนภาพลักษณ์ของจังหวัดนราธิวาส ที่เขาไม่ต้องการให้กลายเป็นเมืองปิด[14]

เช่นเดียวกับอนันต์ แสงวัณณ์ จากพรรคภูมิใจไทย จังหวัดยะลา ในฐานะทนายความและผู้ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน ที่กล่าวว่าชาวไทยพุทธและมุสลิม ไม่เห็นด้วยต่อการทำร้ายผู้นำศาสนา และขอให้เจ้าหน้าที่รัฐติดตามผู้ก่อเหตุมารับโทษโดยเร็ว[14]

นอกจากนี้ สำนักจุฬาราชมนตรี ได้ออกแถลงการณ์แสดงความเสียใจ และประณามการกระทำที่รุนแรง[10] รวมถึงมีตัวแทนจุฬาราชมนตรีและคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ที่เดินทางมาเยี่ยมให้กำลังใจครอบครัวของดอเลาะ สะไร[15][16]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 จากลอบฆ่าอิหม่าม สู่ระดมกระสุนใส่พระ ความรุนแรงภาคใต้ที่สร้างรอยแผลให้ทุกฝ่าย
  2. อุกอาจ! คนร้ายประกบยิง โต๊ะอิหม่าม รือเสาะ เสียชีวิต - มติชน
  3. คณะพูดคุยฯ ศึกษาเขตปกครองพิเศษเป็นหนึ่งในทางออกปัญหาไฟใต้
  4. ไฟใต้ 15 ปี: ชาวพุทธ-มุสลิมต่างรู้สึกไม่ปลอดภัยที่จ.ชายแดนใต้ แต่ก็ยังจะดูแลกัน หลังเหตุยิงอิหม่ามและพระสงฆ์ต่อเนื่องกันไปที่นราธิวาส
  5. กสม.ประณามโจรใต้ บุกยิงพระสงฆ์ - โต๊ะอิหม่าม ชี้ ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง
  6. 15 ปีไฟใต้ ทำไมยังลุกโชน กับ 5 สมมติฐาน - Voice TV
  7. 15 ปีไฟใต้ ทำไมยังลุกโชน กับ 5 สมมติฐาน - Voice TV
  8. "กสม. ประณามคนร้าย บุกยิงพระสงฆ์มรณภาพ-โต๊ะอิหม่ามเสียชีวิต จ.นราธิวาส". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-20. สืบค้นเมื่อ 2019-01-28.
  9. “กสม.” ประณามการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายแรง กรณีบุกยิงพระ-โต๊ะอิหม่ามที่นราฯ
  10. 10.0 10.1 ผู้แทนจุฬาราชมนตรี-คณะกรรมการอิสลาม เยี่ยมเหยื่อความรุนแรง - ประชาไท
  11. ในประเทศ - นราฯป่วนไม่หยุด!คนร้ายประกบยิง'โต๊ะอิหม่าม'ดับที่รือเสาะ - แนวหน้า
  12. คนร้ายใช้อาวุธสงครามประกบยิงผู้นำศาสนาที่ อ.รือเสาะเสียชีวิต - สยามรัฐ
  13. รือเสาะระอุ! ควบจยย.ประกบ ฆ่าโต๊ะอิหม่าม รัว 4 นัดซ้อน กระเด็นตกข้างทาง
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 ประณามเหตุกราดยิงพระ - ไทยโพสต์
  15. ตัวแทนจุฬาราชมนตรีเข้าเยี่ยมพระสงฆ์ เหตุยิงถล่มวัดนราฯ
  16. "นราฯจัดครัวมุสลิมรับคนร่วมงานศพวัดรัตนานุภาพ - innnews". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-23. สืบค้นเมื่อ 2019-01-28.