เจะอามิง โตะตาหยง

นักการเมืองชาวไทย

เจะอามิง โตะตาหยง เป็นนักการเมืองชาวไทย เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส พรรคประชาธิปัตย์ เป็นอดีตประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 23

เจะอามิง โตะตาหยง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 ตุลาคม พ.ศ. 2497 (69 ปี)
อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ประเทศไทย
ศาสนาอิสลาม
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2534—2562,2564—ปัจจุบัน)
รวมพลังประชาติไทย (2562—2564)

ประวัติ แก้

เจะอามิง โตะตาหยง เกิดวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2497 ที่ ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เป็นบุตรของ นายหะยีเจ๊ะดาราแม และนางหะยีวาเย๊าะ โตะตาหยง

นายเจะอามิง สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา จากโรงเรียนเมืองยะลา มัธยมศึกษาจากโรงเรียนรัชตะวิทยายะลา ชั้นเตรียมอุดมศึกษาจากโรงเรียนช่างอุตสาหกรรมกรุงเทพฯ แผนกไฟฟ้ากำลัง อนุปริญญาวารสารศาสตร์และการประชาสัมพันธ์ (อศศ.) วิทยาลัยครูยะลา ปริญญาตรีศิลปศาสตรบัญฑิต (ศศ.บ) สถาบันราชภัฎยะลา และปริญญาโท สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา จาก มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา และประกาศนียบัตรชั้นสูง การเมืองการปกครองในระบบประชาธิไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (สำหรับนักบริหารชั้นสูง) สถาบันพระปกเกล้า (ปปร.3)

เจะอามิง โตะตาหยง เป็นอดีตนักข่าวและเป็นเจ้าของ ธุรกิจการค้ายางพารา โรงเลื่อยไม้ยางพารา และ รับเหมาก่อสร้าง ก่อนเข้าสู่วงการเมืองระดับประเทศ เคยทำงานการเมืองระดับท้องถิ่นมาก่อน จนกระทั่งได้รับตำแหน่งเป็น ประธานสภาจังหวัดนราธิวาส

บทบาท แก้

นายเจะอามิง เป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อสาธารณะ เกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างสม่ำเสมอ ทั้งการให้สัมภาษณ์ และเขียนบทความลงใน หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน โดยได้รับมอบหมายจากพรรคให้ดูแล นโยบายการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในฐานะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 นายเจะอามิง ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.นราธิวาส เขต 1 และได้รับมอบหมายจากพรรคประชาธิปัตย์ ให้ดูแลผู้สมัครในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ในปี 2562 เขาย้ายไปร่วมงานกับพรรครวมพลังประชาชาติไทย และย้ายกลับมาสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในปี 2564[1]

ประวัติทางการเมือง แก้

  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส 5 สมัย (1/2535 , 2539, 2548, 2550 , 2554)
  • กรรมาธิการวิสามัญศึกษาแนวทางปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร
  • ประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ สภาผู้แทนราษฎร
  • ประธานอนุความมั่นคง คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ สภาผู้แทนราษฎร
  • ประธานอนุกรรมาธิการตรวจสอบบัตรประจำตัวประชาชนและหนังสือเดินทางปลอม ของบุคคลต่างชาติ
  • รองประธานกรรมาธิการ เยาวชน สตรีและผู้สูงอายุ คนที่ 1
  • รองประธานกรรมาธิการติดตามมติ คนที่ 1
  • เลขานุการ กรรมาธิการการต่างประเทศ
  • กรรมาธิการการทหาร
  • กรรมาธิการวิสามัญแก้ไขปัญหายางพาราตกต่ำ
  • กรรมาธิการวิสามัญป่าไม้ชุมชน
  • กรรมมาธิการร่าง พรบ.งบประมาณปี 2542,2549
  • กรรมาธิการวิสามัญแก้ไขปัญหาความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้
  • กรรมาธิการวิสามัญกิจการฮัจย์
  • คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิป รัฐบาล) ทำเนียบรัฐบาล
  • ประธานสภาจังหวัดนราธิวาส
  • สมาชิกสภาจังหวัดนราธิวาส
  • โฆษกรองนายกรัฐมนตรี ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี
  • ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี นายพิชัย รัตตกุล
  • คณะทำงานรัฐมนตรีมหาดไทย พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์
  • รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์

การดำรงตำแหน่งทางสังคม แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. กลับบ้านเก่าดีกว่า!‘9 รปช.’สามจังหวัดชายแดนใต้ ตบเท้าลาออก ย้ายคืนรัง ปชป.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑

แหล่งข้อมูลอื่น แก้