บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2537 โดยสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ตามพระบรมราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อประกอบธุรกิจรับซื้อสินค้าจากโครงการหลวงและเกษตรกรในราคาที่เป็นธรรม และจำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพให้กับประชาชนชาวไทย[2]

บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด
ชื่อโรมัน
Doi Kham Food Products Co.,Ltd.
ก่อตั้ง8 สิงหาคม พ.ศ. 2537; 30 ปีก่อน (2537-08-08)
สำนักงานใหญ่เลขที่ 117/1 ถนนพญาไท แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
ผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป
รายได้1.2 พันล้านบาท (2566[1])
เว็บไซต์www.doikham.co.th

ประวัติ

แก้

จากการเสด็จประพาสภาคเหนือของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อ พ.ศ. 2512 พระองค์ทอดพระเนตรเห็นความทุกข์ยากลำบากของราษฎร และปัญหาการปลูกฝิ่น อันเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติและเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ จึงมีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขาขึ้น เพื่อแก้ปัญหาการปลูกฝิ่น โดยโครงการส่งเสริมให้ปลูกพืชชนิดอื่นทดแทนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวไทยภูเขา ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ จัดตั้งนิติบุคคลชื่อ บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด (Doi Kham Food Products Co.,Ltd.)[3] เพื่อความสะดวกในการดำเนินธุรกิจเชิงพาณิชย์ โดยรองรับผลผลิตของมูลนิธิโครงการหลวงและเกษตรกรในพื้นที่โดยรอบโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป ทั้ง 3 แห่ง เพื่อผลิตสินค้าที่มีคุณภาพภายใต้ชื่อตราผลิตภัณฑ์ ดอยคำ

การดำเนินธุรกิจ

แก้

บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด มีวัตถุประสงค์หลักตามกระแสพระราชดำริ การดำเนินกิจการจึงเน้นการตลาดเฉพาะผลิตภัณฑ์และผลผลิตที่ได้จากการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชนเผ่าที่อยู่อาศัยบนที่สูงเป็นอันดับแรก ปกติพื้นที่สูงมีอุณหภูมิเหมาะสมต่อการปลูกพืชเมืองหนาวโดยเฉพาะพืชประเภทผัก ผลไม้และดอกไม้เมืองหนาว

ผลิตภัณฑ์ของดอยคำ ได้แก่ น้ำผักและน้ำผลไม้ สินค้าเกษตรอินทรีย์ และสินค้าแปรรูปต่าง ๆ จากโครงการหลวงมากมาย ทั้งผลไม้อบแห้ง, น้ำผึ้ง, นมถั่วเหลือง, สมุนไพรแห้ง, ผลิตภัณฑ์ทาขนมปัง, น้ำผลไม้เข้มข้น ข้าวกล้อง และผลไม้ในน้ำเชื่อม[4] ผลิตภัณฑ์ได้รับการตอบรับที่ดีจากตลาดคือ เครื่องดื่มน้ำมะเขือเทศ[5]

โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป

แก้
  • โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง) ตั้งอยู่ที่บ้านยาง ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จัดเป็นโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปแห่งแรกที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น ก่อตั้งขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 2515
  • โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 2 (แม่จัน) ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านป่าห้า ตำบลป่าซาง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ก่อตั้งขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 2517
  • โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 3 (เต่างอย) ตั้งอยู่ที่บ้านนางอย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524

สาขา

แก้

ปัจจุบันร้านดอยคำมีสาขาทั้งหมดดังนี้

  • สาขาราชเทวี (สำนักงานใหญ่)
  • สาขาฝาง จ.เชียงใหม่
  • สาขาแม่จัน จ.เชียงราย
  • สาขาเต่างอย จ.สกลนคร
  • สาขามอเตอร์เวย์ขาเข้า
  • สาขามอเตอร์เวย์ขาออก
  • สาขาโรงพยาบาลศิริราช
  • สาขาโลตัส ศรีนครินทร์
  • สาขาโลตัส พระราม 2
  • สาขาพาราไดซ์ พาร์ค
  • สาขาการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
  • สาขาโลตัส ลำลูกกา คลอง 2
  • สาขาโลตัส บางนา
  • สาขาเอสซีบี ปาร์ค พลาซา
  • สาขาสัมมากรเพลส รามคำแหง
  • สาขาทองหล่อ (อาคารฟิฟตี้ฟิฟธ์)
  • สาขาโลตัส หางดง จ.เชียงใหม่
  • สาขาโลตัส จรัญสนิทวงศ์
  • สาขาโลตัส รังสิต
  • สาขาโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (อาคาร สธ.)
  • สาขาโรงพยาบาลรามาธิบดี
  • สาขาโลตัส ลาดพร้าว
  • สาขาเทเวศร์ (ถนนกรุงเกษม)
  • สาขาโลตัส รังสิต-นครนายก คลอง 4
  • สาขาโลตัส หลักสี่
  • สาขาอาคารสินธร ถนนวิทยุ
  • สาขาโรบินสัน บางรัก
  • สาขาโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า
  • สาขาคริสตัล พีทีที ชัยพฤกษ์
  • สาขาสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
  • สาขาท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย
  • สาขาพระบรมมหาราชวัง (ถนนหน้าพระลาน)
  • สาขา ปตท. หาดจอมเทียน
  • สาขาพระนครศรีอยุธยา (แฟรนไชส์)
  • สาขาระยอง (แฟรนไชส์)
  • สาขานครราชสีมา (แฟรนไชส์)
  • สาขาโนนสูง (แฟรนไชส์)
  • สาขาสีคิ้ว (แฟรนไชส์)
  • สาขาอุดรธานี (แฟรนไชส์)
  • สาขาพิษณุโลก (แฟรนไชส์)
  • สาขาสกลนคร (แฟรนไชส์)
  • สาขานครศรีธรรมราช (แฟรนไชส์)
  • สาขาสุราษฏร์ธานี (แฟรนไชส์)
  • สาขาหาดใหญ่ (แฟรนไชส์)
  • สาขาสงขลา (แฟรนไชส์)
  • สาขาตรัง (แฟรนไชส์)

อ้างอิง

แก้
  1. Theparat (22 January 2018). "Annual report 25666". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 7 October 2024.
  2. Theparat, Chatrudee (22 January 2018). "Tomato belt continues to thrive". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 22 January 2018.
  3. ""ดอยคำ" ผลิตภัณฑ์คุณภาพจากโครงการหลวง เพื่อคนไทย". ผู้จัดการออนไลน์. 11 ตุลาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  4. "โครงการหลวงดอยคำ เกษตรเพื่อชุมชนที่พ่อสร้างเพื่อคนไทย". ธนาคารกรุงศรีอยุธยา. 25 มิถุนายน 2561. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-15. สืบค้นเมื่อ 2019-07-15.
  5. "ภาษีความหวานฉุด "ดอยคำ" ปรับแผนฟื้นยอด-กำลังซื้อ". ประชาชาติธุรกิจ. 25 มิถุนายน 2561.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้