ปาร์ซี (คือชาวเปอร์เซีย ในภาษาเปอร์เซีย) คือกลุ่มชาติพันธุ์ในภูมิภาคอนุทวีปอินเดียซึ่งนับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ มีบรรพชนอพยพจากจักรวรรดิซาเซเนียน (ปัจจุบันอยู่ในประเทศอิหร่าน) เข้าไปตั้งถิ่นฐานหลักแหล่งอยู่ในอินเดีย หลังการพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียโดยมุสลิมของรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีนเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 7 การอพยพของชาวอิหร่านที่นับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์มีสองระลอกใหญ่ ชาวปาร์ซีเป็นกลุ่มผู้อพยพสู่อนุทวีประลอกแรก หลังจากนั้นอีกหลายศตวรรษ มีการอพยพระลอกสองในยุคราชวงศ์กอญัรตรงกับคริสต์ศตวรรษที่ 18 แต่จะเรียกชนกลุ่มนี้ว่า อีรานี (แปลว่าชาวอิหร่าน) ซึ่งมีขนบธรรมเนียมแตกต่างออกไปและมีขนาดที่เล็กกว่า[4]

ปาร์ซี
หญิงชาวปาร์ซีในอินเดีย
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 อินเดีย69,000 (พ.ศ. 2557)[1][2]
 ปากีสถาน20,000 (พ.ศ. 2559)[3]
ภาษา
อังกฤษ (อินเดียหรือปากีสถาน), คุชราต
และฮินดูสตานี
ศาสนา
โซโรอัสเตอร์
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
อีรานี

ก่อนการพิชิตดินแดนของชาวมุสลิม ศาสนาโซโรอัสเตอร์เป็นศาสนาประจำชาติของจักรวรรดิซาเซเนียน อันเป็นศาสนาที่มีประชาชนส่วนใหญ่นับถือในช่วงเวลานั้น ในเอกสาร Qissa-i Sanjan ระบุว่าชาวปาร์ซีเริ่มลี้ภัยเข้าสู่รัฐคุชราตช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 10 เพื่อหลบหนีการกดขี่ศาสนา หลังจักรวรรดิซาเซเนียนถูกกองทัพมุสลิมพิชิตดินแดน[5][6][7][8][9][10][11] มีชาวเปอร์เซียหลายคนก่อการกบฏ สู้รบประหัตประหารกับกองทัพของรอชิดุน และเคาะลีฟะฮ์คนอื่น ๆ ยาวนานถึงสองร้อยปี[12] แต่ช่วงเวลาเดียวกันนั้น มีชาวเปอร์เซียบางส่วนเลือกที่จะรักษาอัตลักษณ์ทางศาสนาของตนเองและลี้ภัยเข้าสู่ดินแดนอินเดีย[13] พวกเขาเรียกตัวเองว่า "ปาร์ซี" และกลายเป็นคำที่ใช้เรียกชาวอิหร่านที่ยังนับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์[14]

ในประเทศไทย มีชาวปาร์ซีอพยพสู่ไทยตั้งแต่การเปิดเสรีการค้าจากสนธิสัญญาเบอร์นีเมื่อปี พ.ศ. 2368 เพราะปรากฏหลุมศพในสุสานปาร์ซีที่เก่าที่สุด ระบุปีมรณกรรมของผู้ตายไว้ในปี พ.ศ. 2373[15] ชาวปาร์ซีจะปรับตัวให้กลมกลืนไปกับชนส่วนใหญ่ ไม่สู้เผยแผ่ศาสนาและวัฒนธรรมของตน[16] เบื้องต้นชาวปาร์ซีรับราชการอยู่ในกรมรถไฟหลวง ยุคหลังก็พบว่าพวกเขาประกอบธุรกิจอื่น เช่น ตระกูลบีโรซา ทำกิจการนำเข้าและส่งออกสินค้า ต่อมาลูกหลานมีบทบาทด้านการพยาบาล และตระกูลเปสตันยี ที่มีชื่อเสียงในแวดวงภาพยนตร์ คือ รัตน์ เปสตันยี[15]

อ้างอิง แก้

  1. (26 November 2014). "India's declining Parsi population เก็บถาวร 2020-02-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". Al Jazeera.
  2. Dean Nelson. "India's dwindling Parsi population to be boosted with fertility clinics". The Telegraph.
  3. "Parsis of Pakistan". DAWN. July 22, 2016. สืบค้นเมื่อ 29 June 2022.
  4. Ganesh, Kamala (2008). "Intra-community Dissent and Dialogue: The Bombay Parsis and the Zoroastrian Diaspora". Sociological Bulletin. 57 (3): 315–336. doi:10.1177/0038022920080301. JSTOR 23620804. S2CID 148248437.
  5. Hodivala 1920, p. 88.
  6. Boyce 2001, p. 148.
  7. Lambton 1981, p. 205.
  8. Nigosian 1993, p. 42.
  9. Khanbaghi 2006, p. 17.
  10. Jackson 1906, p. 27
  11. Bleeker & Widengren 1971, p. 212
  12. Akram, A. I.; al-Mehri, A. B. (2009-09-01). The Muslim Conquest of Persia. Maktabah Publications. ISBN 9780954866532.
  13. PARSI COMMUNITIES i. EARLY HISTORY – Encyclopaedia Iranica. Iranicaonline.org (2008-07-20). Retrieved on 2013-07-28.
  14. Parsee, n. and adj. - Oxford English Dictionary. oed.com. Retrieved on 2015-03-03.
  15. 15.0 15.1 จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์, ดร. (4 ธันวาคม 2560). "ปาร์ซีแห่งสยามกับการนำสยามสู่ความทันสมัย". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. ศตนันทน์ สุทิฏฐานุคติ (28 มกราคม 2563). "สืบร่องรอยชาวอินเดียในไทยบนถนนสีลม-เจริญกรุง". The Cloud. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)