ศาสตราจารย์ ชัย มุกตพันธุ์ (6 กรกฎาคม พ.ศ. 2460-25 พฤษภาคม พ.ศ. 2530) เป็นนักวิชาการชาวไทยซึ่งได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งวิชาปฐพีกลศาสตร์แห่งประเทศไทย[1] ในอดีตเป็นเลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน อธิบดีกรมอาชีวศึกษา คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลงานสำคัญชิ้นหนึ่งคือ ร่วมเป็นผู้แทนของประเทศไทยในการก่อตั้ง บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ ส.ป.อ. (องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) ซึ่งปัจจุบันคือ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย

ศาสตราจารย์ ดร.ชัย มุกตพันธุ์ หรือ ศาสตราจารย์ ชัย มุกตพันธุ์ ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้สอน นิสิต และนักศึกษา วิศวกรรม ทั้งปริญญาตรี โท และเอก มากกว่า 40 รุ่น ทั้งชาวไทยและชาวเอเชีย อื่น ๆ นับเป็นปูชนียบุคคลที่สำคัญของชาวไทย ซึ่งประสิทธิประสาทวิชาการ แก่วิศวกร เพื่อให้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติในปัจจุบัน

การศึกษา แก้

การทำงาน แก้

ศ.ชัย มุกตพันธุ์ เริ่มรับราชการเป็นอาจารย์ตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2482 ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในปี พ.ศ. 2502 และได้รับโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นรองศาสตราจารย์ ในปี พ.ศ. 2504 ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นในปี พ.ศ. 2518 ได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

ผลงาน แก้

  • ด้านวิชาการ ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ มีมากกว่า 70 เรื่อง ที่สำคัญ ได้แก่
    • Steel Frames for Industrial Buildings ในหนังสือ Building in Atomic Age ของ M.I.T.
    • Bangkok Subsoils ในหนังสือ Proceedings of a Conference on Architecture and Structure Engineering in Relation of the Construction of Large Buildings, Bangkok
    • Engineering Properties of Bangkok Subsoil ในหนังสือ Prcoceeding of the South-east Asian Regional Conference on soil engineering. A.I.T.
    • คุณสมบัติของดินบาดาลบริเวณกรุงเทพฯ ในหนังสือวิศวกรรมสาร ฉบับพิเศษ ครบรอบ 25 ปี พ.ศ. 2511 ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม จากวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
    • ปฐพีกลศาสตร์และวิศวกรรมฐานราก พ.ศ. 2526
    • การทรุดตัวของนครหลวง ในการสัมมนาเรื่อง ปัญหานครหลวง ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ด้านการออกแบบทางด้านวิศวกรรม อาคารทางศาสนา
  • ด้านการออกแบบทางด้านวิศวกรรม อาคารสถานศึกษาและโรงพยาบาล
    • ตึกสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
    • ตึกคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    • ตึกทดลองวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    • ตึกทดลองวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    • ตึกออร์โทปิดิส์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
    • ควบคุมการก่อสร้างตึก “วชิรญาณวงศ์” โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
    • ควบคุมการก่อสร้างตึก “ภ.ป.ร.” โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • หนังสือ
    • ปฐพีกลศาสตร์และวิศวกรรมฐานราก เขียนร่วมกับ กาซูโต นากาซาวา : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว กรุงเทพฯ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

เกียรติคุณที่ได้รับ แก้

  • 2509: นายกสโมสรอาจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2510: วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2516: สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • 2518: ผู้ตรวจการลูกเสือ สำนักงานคณะกรรมการลูกเสือแห่งชาติ
  • 2519: ศาสตราจารย์อุปการคุณ วิชาวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2519: ราชบัณฑิต ประเภทวิทยาศาสตร์ประยุกต์
  • 2523: เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน ติดต่อกัน 4 วาระ
  • 2529: D.Sc.(กิตติมศักดิ์) สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และได้รับการยกย่องให้เป็น บิดาแห่งวิชาปฐพีกลศาสตร์แห่งประเทศไทย

อ้างอิง แก้

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-06. สืบค้นเมื่อ 2019-01-03.
  2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙, ๖ มกราคม ๒๕๒๐
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2011-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๘๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๕ ฑฤษภาคม ๒๕๓๐
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๘๔, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๘
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๑๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕, ๒ ตุลาคม ๒๕๒๑

แหล่งข้อมูลอื่น แก้