ชัยวัฒน์ คุประตกุล

นักวิทยาศาสตร์, นักเขียนนิยายและสารคดีวิทยาศาสตร์

รองศาสตราจารย์ ชัยวัฒน์ คุประตกุล เป็นนักวิทยาศาสตร์ นักการศึกษา นักเขียน นักแปล คอลัมนิสต์ นักจัดรายการวิทยุและโทรทัศน์ชาวไทย

ชัยวัฒน์ คุประตกุล
เกิด20 กันยายน พ.ศ. 2483 (84 ปี)
อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย
นามปากกาชัยคุปต์, เตคีออน, วัฒนชัย, ศรีวัฒน์ (นามปากการ่วมกับชูศรี)
อาชีพนักวิทยาศาสตร์, นักการศึกษา
คู่สมรสชูศรี จุลลัษเฐียร

ประวัติ

แก้

รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล เกิดวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2483 ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เป็นบุตรของนายเช็งเฮียง และนางซิวเตียง บิดาเป็นนายแพทย์แผนโบราณ มารดามีอาชีพค้าขาย มีประสบการณ์วัยเด็กและวัยรุ่นทดลองทำงานต่างๆ เช่น ขี่สามล้อรับจ้าง ขายล็อตเตอรี่ ขายถ่าน เลี้ยงหมู จับหมู ขายของกินประเภทน้ำแข็งไส น้ำหวาน บุหรี่ ปลาหมึกย่าง ตามงานวัดในต่างอำเภอ แถวอำเภอพิมาย

เข้าโรงเรียนครั้งแรกที่โรงเรียนบูรพาวิทยากร (วัดบูรพ์) จังหวัดนครราชสีมา แต่ไม่สนุกกับการเรียนจึงออกจากโรงเรียนมาอยู่บ้าน กลับเข้าเรียนหนังสือครั้งใหม่เมื่ออายุเก้าปีที่โรงเรียนบูรพาวิทยากร เพราะอยากอ่านหนังสือประเภทนิยาย-นิทานด้วยตนเอง จบการศึกษามัธยม 8 จากโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย เข้าศึกษาที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างที่ศึกษาอยู่ปีที่ 2 สอบได้ทุนโคลัมโบของรัฐบาลออสเตรเลีย เข้าศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ ที่มหาวิทยาลัยโมนาช ประเทศออสเตรเลีย จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาปริญญาเอก (ฟิสิกส์)

จากนั้นจึงเข้าประจำทำงานครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีพ.ศ. 2513 ย้ายโอนมาประจำที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตประสานมิตร ปี พ.ศ. 2525 สนใจเรื่องการเขียนตั้งแต่สมัยเป็นเด็กชอบวิชาทุกวิชาที่มีการสอนในโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เรียงความ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ดนตรี แต่อยากเป็นนักวิทยาศาสตร์โดยอาชีพเมื่อโตขึ้นและอยากเป็นนักเขียน โดยเริ่มทดลองเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ เรื่องสั้นวิทยาศาสตร์ ออกนิตยสารทำมือ (เขียนเองสร้างภาพประกอบเองทั้งเล่ม) ในระหว่างเป็นนักเรียนอยู่ที่โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัยจำนวน 2 ฉบับ

รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล สมรสกับชูศรี จุลลัษเฐียร พ.ศ. 2511 มีบุตรธิดาสองคน (จักรกริช และชลลดา) สมรสกับสรรสิริ ชัยรัตน์ พ.ศ. 2542 ปัจจุบันเป็นข้าราชการบำนาญ (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) เกษียณอายุการทำงานก่อนกำหนดวันที่ 1 ตุลาคม 2542

ประสบการณ์พิเศษต่างประเทศ และกิจกรรมระหว่างประเทศ

แก้
  1. เป็น Director จัด Workshop เกี่ยวกับ Science Communication โดยยูเนสโกที่ประเทศศรีลังกาเป็นเวลา 5 วัน แก่ผู้สื่อข่าวจากประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  2. ได้รับเชิญให้ไปดูงานด้านวิทยาศาสตร์การศึกษาและสื่อสารมวลชนในประเทศต่าง ๆ คือ สหรัฐอเมริกา, สวีเดน, อังกฤษ, ฝรั่งเศส, อิตาลี, เยอรมนี, เดนมาร์ก และอีกหลายประเทศในเอเชีย
  3. เป็นประธานจัด International Conference on Method of Teaching Physics (Secondary & Tertiary Levels) ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น 11-13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 โดยได้รับการสนับสนุนจาก APSO, UNESCO, COSTED และประเทศต่าง ๆ คือ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ สวีเดน ออสเตรเลียและเยอรมนี
  4. ประจำกองบรรณาธิการนิตยสารเอเชียวีก (Literary Supplement)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

รางวัล

แก้
  1. รางวัล “นักสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ดีเด่น” ประจำปี พ.ศ. 2538 จากชมรมนักเขียนและผู้จัดทำหนังสือวิทยาศาสตร์ (นจวท.) สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยการสนับสนุนรางวัลจากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในพระบรมราชูปถัมภ์ [4] [5]
  2. “ชีวิตอมตะ” ได้รับรางวัลชมเชยการประกวดหนังสือดีเด่นประเภทหนังสือสารคดีสำหรับเด็กก่อนวัยรุ่น ปี 2524 ของคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ
  3. หนังสือ “ชีวิตอมตะ” ได้รับรางวัลชมเชยจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ (ส.ย.ช.) ปี พ.ศ. 2524
  4. “เลเซอร์” ได้รับรางวัลชมเชยการประกวดหนังสือดีเด่นประเภทหนังสือสารคดีสำหรับเด็กก่อนวัยรุ่น ปี พ.ศ. 2529 ของคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ
  5. “อวกาศมหัศจรรย์” ได้รับรางวัลชมเชยการประกวดหนังสือดีเด่นประเภทหนังสือการ์ตูนปี พ.ศ. 2540 ของคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ
  6. นิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง “โปรเจกต์ เอกซ์” ได้รับรางวัลชมเชยการประกวดหนังสือดีเด่นประเภทนวนิยาย ปี พ.ศ. 2546 ของคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ
  7. รางวัล “สุรินทราชา” (รางวัลนักแปลดีเด่น) ประจำปี พ.ศ. 2552 ของสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย [6]
  8. ได้รับการเสนอชื่อจากยูเนสโก (กระทรวงศึกษาธิการ) เข้ารับการพิจารณาชิงรางวัลคาลิงกา (KALINGA PRIZE) 2 ครั้ง ปี พ.ศ. 2524 และพ.ศ. 2547 [7]
  9. หนังสือผ่ามิติจินตนาการ ได้รับรางวัลหนังสือดีเด่นประเภทสารคดีประจำปี 2554 จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ [8]
  10. ศิษย์เก่าดีเด่น โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2540 [9]
  11. ศิษย์เก่าดีเด่น โรงเรียนเทศบาล 1 บูรพาวิทยากร (วัดบูรพ์) ปี พ.ศ. 2548 [10]
  12. WHO’s Who In The World, 1980-1981
  13. Men Of Achievement, 1983
  14. International Who’s Who Of Intellectuals, Vol.5
  15. เป็น PRESENTER งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) ประชาสัมพันธ์สั้นทางโทรทัศน์ (TV.SPOT) แพร่ภาพในโทรทัศน์หลายช่องช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2543
  16. รางวัลนราธิป พ.ศ. 2563

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๖๗๗, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๙
  4. สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
  5. มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ (HTTP://DSCIENTISTAWARD.ORG เก็บถาวร 2014-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
  6. สมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย (HTTP://WWW.THAITIAT.COM เก็บถาวร 2021-07-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
  7. คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ (THE THAI NATIONAL COMMISSION FOR UNESCO.MINISTRY OF EDUCATION) (HTTP://BIC.MOE.GO.TH)
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-26. สืบค้นเมื่อ 2011-03-04.
  9. โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย (HTTP://WWW.RAJSIMA.AC.TH)
  10. โรงเรียนเทศบาล 1 บูรพาวิทยากร (HTTP://BRK.AC.TH เก็บถาวร 2017-09-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)