ชัยชาญ หาญนาวี
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
พันเอก ชัยชาญ หาญนาวี (19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 – 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561) เป็นนายทหารชาวไทย ผู้ตกเป็นเชลยศึกที่ถูกคุมขังยาวนานที่สุดที่เรือนจำฮัวโลในกรุงฮานอยเมื่อช่วงสงครามเวียดนาม[1]
พันเอก ชัยชาญ หาญนาวี | |
---|---|
เกิด | 19 กุมภาพันธ์ 2474 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 4 กุมภาพันธ์ 2561 |
รับใช้ | ประเทศสยาม/ไทย |
แผนก/ | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2495 – ? |
ชั้นยศ | พันเอก |
หน่วย | กองรบพิเศษที่ 1 |
ประวัติ
แก้ชัยชาญ เกิดวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2474 เป็นคนชาวพระนครศรีอยุธยา[1]
ชัยชาญ แต่งงานเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2502 แต่ไม่มีลูกด้วยกัน
การรับราชการ
แก้ชัยชาญ เข้ารับราชการทหารในปีพ.ศ. 2495 สังกัดกองพันทหารม้าที่ 4 กรมทหารม้าที่ 2 ในจังหวัดพระนคร และในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2498 ชัยชาญย้ายไปอยู่ที่กองรบพิเศษที่ 1 ค่ายวชิราลงกรณ์ จังหวัดลพบุรี[2]
การเป็นเชลยศึก
แก้วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 เป็นวันหยุดที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของชัยชาญไปอย่างถาวร มีนักบินอเมริกันกลุ่ม แอร์อเมริกา ชวนไปเป็น สปอตเตอร์ เดินทางโดยเครื่องบินจากเชียงลมไปส่งเสบียงตามฐานในลาว ปรากฏว่าถูกยิงจนเครื่องบินตก ทหารในเครื่องเสียชีวิตเกือบหมด เหลือเพียงชัยชาญกับนักบิน แม้พยายามหลบหนีแต่สุดท้ายก็ถูกจับได้
ค่ายเดียนเบียนฟู
แก้หลังเป็นเชลยศึกที่ค่ายเดียนเบียนฟู ชัยชาญถูกซ้อมอย่างหนัก ความทารุณและโหดร้าย รวมทั้งสภาพจิตใจภายใต้ภาวะกดดันเช่นนั้น เขาผ่านมันมาได้ด้วยจิตใจอันเด็ดเดี่ยว ด้วยเกียรติของชายชาติทหาร ความกตัญญูต่อแผ่นดินเกิดเป็นที่รักยิ่ง ท่านถูกจับใส่ขื่อคาอยู่นานถึง 2 ปี 10 เดือน ต้องนอนแช่ขี้แช่เยี่ยวของตัวเอง ได้อาบน้ำเดือนละครั้ง ไม่ได้พูดไม่ได้คุยกับใครเป็นเวลาถึง 5 ปีเนื่องจากถูกขังเดี่ยว และสุดท้ายต้องถูกเข้าห้องมืดอีก 6 เดือน
ค่ายฮัวโล
แก้หลังจากนั้นถูกส่งไปค่ายที่ในฮานอย ไปอยู่ที่นั่น 1 ปีก็ได้รับหน้าที่เป็นคนทำความสะอาด จึงทำให้ได้พบปะเชลยศึกคนอื่น จนไปเจอเชลยนักบินเวียดนามใต้ ทีแรกก็พูดกันไม่รู้เรื่องต้องใช้ภาษามือกัน จนกระทั่งท่านเรียนรู้ภาษาได้บ้าง นายทหารเวียดนามก็ให้ท่านช่วยแอบลักลอบส่งกระดาษรหัสลับติดต่อกับเชลยศึกคนอื่น ๆ ซึ่งส่วนมากก็เป็นทหารอเมริกัน จนในที่สุดนายทหารเวียดนามก็สอน แตะโค้ด ให้กับชัยชาญ และก็พยายามศึกษาภาษาอังกฤษจนใช้สื่อสารได้ การกระทำของชัยชาญเสี่ยงต่อชีวิตมากเพราะถ้าโดนจับได้ตายสถานเดียว ชัยชาญขโมยกระดาษดินสอให้กับเชลยศึก แม้กระทั่งลักลอบแบ่งอาหารให้เชลยคนอื่นที่แย่กว่าท่าน จนรัฐบาลอเมริกาเจรจากับเวียดนามเหนือ เรื่องให้ปล่อยตัวเชลยศึกจากค่ายฮัวโล การเจรจาเป็นผลสำเร็จ เวียดนามเหนือปล่อยเชลยศึกกลับบ้าน แต่ชัยชาญยังไม่ได้รับการปล่อยตัว
ค่ายเฝอเยน
แก้ชัยชาญถูกส่งไปที่ เฝอเยน ซึ่งมีเชลยศึกทหารไทยอยู่ 216 นาย ในระหว่างที่อยู่ที่นั่นถูกทรมานทารุณหนัก เพราะเวียดนามเหนือต้องการให้ท่านเกลี้ยกล่อมเชลยศึกไทยให้เป็นคอมมิวนิสต์ แต่ท่านไม่ยอม
ปล่อยเชลยศึกไทย
แก้ในขณะเดียวกันหลายเดือนต่อมา อดีตเชลยศึกชาวอเมริกันที่ท่านช่วยไว้ก็ได้มีการถามไถ่กันว่ามีข่าวคราวว่าท่านไปอยู่ไหนเป็นอย่างไรบ้าง แต่ไม่มีใครรู้ พวกเขาจึงรวมตัวกันไปร้องเรียนต่อรัฐบาลอเมริกาให้ช่วยตามหา สุดท้ายหาเจอและนำไปสู่การเจรจากันระหว่างอเมริกา, ไทย และเวียดนามเหนือให้ปล่อยเชลยศึกทหารไทย
หลังจากที่ถูกกักขังเป็นเวลา 9 ปี 4 เดือน 8 วัน ซึ่งเป็นเชลยศึกที่ถูกกักขังนานที่สุดในสงครามเวียดนาม
เขาได้เลื่อนยศหลัง"ตาย" เป็นร้อยเอก ตามธรรมเนียมของกองทัพ เมื่อพบว่าเขายังมีชีวิตอยู่ ไม่เพียงกลับไปรับราชการอย่างเดิม แต่ยศ"ร้อยเอก"ไม่ถูกถอดคืน เพราะเคยมีหลักปฏิบัติลักษณะนี้ในกระทรวงกลาโหมมาแล้วครั้งหนึ่ง กรณีที่พบว่าผู้ถูกแทงบัญชีว่าตายและได้รับเลื่อนยศยังมีชีวิตอยู่ กระทรวงกลาโหมก็อนุมัติเข้ารับราชการเป็นนายทหารตามยศใหม่ได้[2][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]
การแก่กรรม
แก้เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ชัยชาญป่วยเนื่องจากเส้นเลือดใหญ่ในสมองอุดตัน จากนั้นเข้ามารักษาตัวที่โรงพยาบาล และเสียชีวิตอย่างสงบในเวลา 23.45 น. ของวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ในวัย 87 ปี
เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 พ.อ. แลร์รี่ เรดม่อน ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารบกสหรัฐอเมริกา สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ร่วมพิธีสวดพระอภิธรรมศพ พ.อ. ชัยชาญ ที่ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาที่จังหวัดลพบุรี โดยพ.อ. เรดมอน ได้มอบจดหมายแสดงความเสียใจจากเอกอัครราชทูตเดวีส์ให้แก่คุณรัชนียากร บุตรสาวของ พ.อ. ชัยชาญ เป็นทหารรบพิเศษแห่งกองทัพไทยผู้ตกเป็นเชลยศึกที่ถูกคุมขังยาวนานที่สุดที่เรือนจำฮัวโลในกรุงฮานอยในช่วงสงครามเวียดนาม พ.อ. ชัยชาญ เป็นเชลยศึกผู้ร่วมชะตากรรมเดียวกันกับวุฒิสมาชิกสหรัฐฯ จอห์น แมคเคน., พล.ร.อ. เจมส์ สตอคเดล และเหล่าทหารผู้กล้าอีกหลายนาย ท่านถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำฮัวโลเป็นระยะเวลาเกือบ 10 ปี[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[4]
- พ.ศ. 2519 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[5]
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- สหรัฐ :
- พ.ศ. 2518 – เหรียญซิลเวอร์สตาร์[6]
- พ.ศ. 2518 – ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นลีเจียนแนร์[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 รู้จัก'ชัยชาญ หาญนาวี'อดีตฮีโร่ที่กองทัพสหรัฐฯต้องยกย่อง
- ↑ 2.0 2.1 https://www.blockdit.com/posts/6228415e27567022656b620d
- ↑ พันเอก แลร์รี่ เรดม่อน ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารบกสหรัฐอเมริการ่วมพิธีสวดพระอภิธรรมศพพันเอก ชัยชาญ หาญนาวี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๕๖ ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๙ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๘๑ ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗, ๓ มิถุนายน ๒๕๑๙
- ↑ 6.0 6.1 https://www.pownetwork.org/bios/h/hx03.htm