ชัชชุอร โมกศรี

นักกีฬาวอลเลย์บอลชาวไทย

ชัชชุอร โมกศรี (เกิด 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542) เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ผู้ทำหน้าที่ในตำแหน่งตัวตบหัวเสา ปัจจุบันสังกัด สโมสรวิคโตรินะ ฮิเมจิ ในวี.ลีก ของประเทศญี่ปุ่น

ชัชชุอร โมกศรี
ข้อมูลส่วนบุคคล
ชื่อเต็มชัชชุอร โมกศรี
ชื่อเล่นบุ๋มบิ๋ม
เกิด6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 (24 ปี)
อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย
ส่วนสูง180 ซม. [1]
กระโดดตบ302 ซม.[2]
บล็อก298 ซม.[2]
ข้อมูล
ตำแหน่งตัวตบหัวเสา
สโมสรปัจจุบันญี่ปุ่น วิคโตรินะ ฮิเมจิ
หมายเลข19
ทีมชาติ
2014 – ปัจจุบันไทย ทีมชาติไทย

ประวัติ

ชัชชุอร โมกศรี เป็นชาวจังหวัดบุรีรัมย์ บิดาของเธอชื่อชัย โมกศรี และมารดาชื่อสุบัน โมกศรี ชัชชุอรเข้ารับการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 3 วัดไชนาวาส เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 โดยมีความสามารถพิเศษทางด้านกีฬา ประเภทกีฬาวอลเลย์บอลตามโครงการส่งเสริมความสามารถพิเศษทางด้านกีฬา ของกองการศึกษา เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี โดยที่นายเอกพันธุ์ อินทร์ใจเอื้อ นายกเทศมนตรีมีนโยบายส่งเสริมทางด้านกีฬาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้มีคุณภาพและสามารถใช้การกีฬาพัฒนาไปสู่อาชีพได้ ซึ่งชัชชุอร ในขณะนั้นได้เข้ารับการฝึกวอลเลย์บอลโดยมี อ.เฉลิมชาติ รุจิเชาว์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 3 วัดไชนาวาส เป็นผู้ดูแลและฝึกสอน โดยทางโรงเรียนได้ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันในรายการวอลเลย์บอลทั้งระดับกีฬาท้องถิ่น ระดับภาค ระดับประเทศ อย่างต่อเนื่อง

สโมสรวอลเลย์บอลอยุธยา เอ.ที.ซี.ซี. เป็นทีมวอลเลย์บอลที่เข้าร่วมการแข่งขันลีกอาชีพในประเทศ โดยมี จรัล เนียมทับทิม และชำนาญ ดอกไม้เป็นผู้ฝึกสอน ได้เล็งเห็นแววความสามารถจึงได้นำมาพัฒนา แม้ด้วยวัยเพียง 14 ปี แต่ก็ไม่เป็นปัญหาเพราะสามารถเข้าร่วมฝึกซ้อมกับนักกีฬาคนอื่นในทีมได้เป็นอย่างดี จนสามารถพัฒนาขึ้นเป็นผู้เล่นตัวหลักให้กับสโมสรได้ และได้ลงทำการแข่งขันในเกมแรกของการเปิดฤดูกาลโดยพบกับทีมอุดรธานี

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 ชัชชุอร ได้เข้าร่วมการแข่งวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2015 ที่จัดขึ้นที่ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งทีมของเธอเป็นฝ่ายชนะทีมทีมชาติญี่ปุ่น ในรอบรองชนะเลิศด้วยคะแนน 3–2 เช็ต ส่วนในรอบชิงชนะเลิศ ทีมของเธอเป็นฝ่ายพ่ายทีมทีมชาติจีนด้วยคะแนน 3–1 เช็ต

ในปี พ.ศ. 2560 ชัชชุอร เข้าร่วมการแข่งวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี 2017 ที่จัดขึ้นที่ประเทศไทย ซึ่งทีมของเธอได้อันดับที่ 2 โดยในรอบชิงชนะเลิศเป็นฝ่ายพ่ายทีมชาติญี่ปุ่นด้วยคะแนน 2–3 เช็ต นอกจากนี้เธอยังได้รับรางวัลตัวตบหัวเสายอดเยี่ยม ต่อมาชัชชุอร เข้าร่วมการแข่งวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์สโมสรเอเชีย 2017 ที่จัดขึ้นที่ประเทศคาซัคสถาน ร่วมกับสโมสรวอลเลย์บอลสุพรีม ชลบุรี ซึ่งทีมของเธอได้รางวัลชนะเลิศเป็นฝ่ายชนะทีมสโมสรฮิซะมิสึสปริงส์ด้วยคะแนน 3–1 เช็ต และเธอยังได้รับรางวัลตัวตบหัวเสายอดเยี่ยม[3] และในเดือนสิงหาคม เธอได้เข้าแข่งวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2017 ที่จัดขึ้นที่ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งทีมของเธอได้อันดับที่ 2 โดยในรอบชิงชนะเลิศเป็นฝ่ายพ่ายทีมชาติญี่ปุ่นด้วยคะแนน 2–3 เช็ต[4]

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ชัชชุอร ได้ทำหน้าที่ร่วมกับทีมโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี ในการแข่งขันวอลเลย์บอลเยาวชน กฟภ ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย 2560 ซึ่งชัชชุอรได้มีส่วนช่วยให้ทีมเป็นฝ่ายชนะทีมโรงเรียนกีฬานครนนท์วิทยา 6 ในรอบรองชนะเลิศด้วยคะแนน 3–2 เช็ต นอกจากนี้เธอยังได้รับรางวัลผู้เล่นทรงคุณค่าอีกด้วย [5]

ในปี พ.ศ. 2561 ชัชชุอรได้เข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตมหาสารคาม คณะศิลปศาสตร์

ในปี พ.ศ. 2566 ในการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย 2023 ทีมชาติไทยคว้าแชมป์สมัยที่ 3 ชัชชุอรได้รับรางวัลผู้เล่นทรงคุณค่า (MVP) ประจำทัวร์นาเมนต์[6]

ในปี พ.ศ. 2567 ชัชชุอรเป็นกำลังหลักให้ทีม วิคโตรินะ ฮิเมจิ คว้าแชมป์วอลเลย์บอลหญิงลีกญี่ปุ่น ดิวิชั่น 2 พร้อมคว้า 2 รางวัล ผู้เล่นทรงคุณค่า และบล็อกยอดเยี่ยม[7]ในปีนั้น เธอได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ

สโมสร

เกียรติประวัติและผลงาน

รางวัลส่วนบุคคล

  • 2014 ยุวชนหญิงชิงแชมป์เอเชีย - " ตัวตบหัวเสายอดเยี่ยม"
  • 2015 วีทีวีอินเตอร์เนชันแนลคัพ - "ตัวตบหัวเสายอดเยี่ยม"
  • 2016 เยาวชนหญิงชิงแชมป์อาเซียน - "ตัวตบหัวเสายอดเยี่ยม" และ "ผู้เล่นทรงคุณค่า"
  • 2017 ชิงแชมป์เอเชียรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี - "ตัวตบหัวเสายอดเยี่ยม"
  • 2017 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย - "ตัวตบหัวเสายอดเยี่ยม"
  • 2017 ชิงแชมป์เอเชีย - "ตัวตบหัวเสายอดเยี่ยม"
  • 2017 พีอีเอ จูเนียร์ แชมเปียนชิป - "ผู้เล่นทรงคุณค่า"
  • 2019 วอลเลย์บอลอาเซียนกรังด์ปรีซ์ 2019 - "ตบยอดเยี่ยม"
  • 2013 ชิงแชมป์เอเชีย - "ผู้เล่นทรงคุณค่า"

ทีมสโมสร

ทีมชาติ

ทีม ยุวชน - เยาวชน

  • 2014 เยาวชนหญิงชิงแชมป์เอเชีย - อันดับที่ 4
  • 2014 ยุวชนหญิงชิงแชมป์เอเชีย - เหรียญเงิน
  • 2014 นักเรียนเอเชีย - เหรียญทอง
  • 2016 เยาวชนหญิงชิงแชมป์เอเชีย - เหรียญทองแดง

ทีมอายุไม่เกิน 23 ปี

ทีมชุดใหญ่

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. "พาไปรู้จัก "ชัชชุอร โมกศรี" มือตบสาวสวย วอลเลย์บอลหญิง ทีมชาติไทย". คมชัดลึกออนไลน์. 22 August 2022. สืบค้นเมื่อ 6 April 2023.
  2. 2.0 2.1 "FIVB Biography" (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-09. สืบค้นเมื่อ 2018-05-20.
  3. "สุพรีมฯขยี้ฮิซามิสึ 3-1 เซต ซิวแชมป์ลูกยางสโมสรหญิงเอเชียสมัยแรก". สืบค้นเมื่อ 2018-05-20.
  4. "ไทยได้รองแชมป์วอลเลย์บอลหญิงชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย 2017". สืบค้นเมื่อ 2018-05-20.
  5. "กาญจนาฯ บุ๋มบิ๋ม แซง นครนนท์ สุดมัน 3-2 ครองแชมป์ PEAสมัยแรก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-20. สืบค้นเมื่อ 2018-05-20.
  6. sorrawit (2023-09-07). "สรุปรางวัลรายบุคคล "ชัชชุอร" ผงาดคว้ารางวัล MVP ศึกชิงแชมป์เอเชีย 2023 "พรพรรณ-ทัดดาว" ติดด้วย". Thaiger ข่าวไทย.
  7. Aindravudh (2024-03-10). "ชัชชุอร ได้รางวัลสุดเซอร์ไพรส์ หลังพาทีมเข้ารอบชิง วอลเลย์บอลลีกญี่ปุ่น D2". Thaiger ข่าวไทย.
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๕ ข หน้า ๒๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖

แหล่งข้อมูลอื่น