จุดผ่านแดนถาวรบ้านริมเมย

จุดผ่านแดนถาวรของประเทศไทย

จุดผ่านแดนถาวรบ้านริมเมย[1] หรือ จุดผ่านแดนถาวรแม่สอด–เมียวดี[2] เป็น 1 ใน 2 จุดผ่านแดนระหว่างประเทศไทยและพม่าในพื้นที่จังหวัดตาก ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านริมเมย ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยมีแม่น้ำเมย เป็นเส้นแบ่งเขตแดนตามธรรมชาติ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับเมืองเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า


จุดผ่านแดนถาวรบ้านริมเมย
อาคารด่านพรมแดน
แผนที่
พื้นที่พรมแดนไทย (ขวา) และพม่า (ซ้าย)
ที่ตั้ง
ประเทศ ไทย,  พม่า
ที่ตั้ง
พิกัด16°41′31″N 98°31′09″E / 16.6919°N 98.5192°E / 16.6919; 98.5192
รายละเอียด
เปิดทำการพ.ศ. 2540 จุดผ่านแดนถาวร
ดำเนินการโดย • กรมศุลกากร
 • สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
ประเภทจุดผ่านแดนถาวร

ประวัติ แก้

จุดผ่านแดนถาวรบ้านริมเมย เริ่มต้นมาจากการก่อตั้งด่านศุลกากรแม่สอด ตามกฎกระทรวงการคลังเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2483 โดยมีนายอำเภอแม่สอดเป็นนายด่านโดยตำแหน่ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 กรมศุลกากรจึงได้ส่งเจ้าหน้าที่จากกรมไปประจำการเพื่อปฏิบัติงานด้านศุลกากร ประจำการที่ด่านพรมแดนบ้านท่าสายลวดซึ่งสร้างขึ้นช่วงปี พ.ศ. 2493 - 2494 และได้กลายเป็นที่ทำการชั่วคราวด่านศุลกากรแม่สอดในปี พ.ศ. 2501 - 2502 จากนั้นจึงได้งบประมาณในการก่อสร้างตัวอาคารที่ทำการใหม่ในปี พ.ศ. 2507 เป็นอาคารไม้สองชั้น และปี พ.ศ. 2537 ได้รับงบประมาณก่อสร้างเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสองชั้น[3]

ในปี พ.ศ. 2540 จุดผ่านแดนถาวรบ้านริมเมย จึงได้จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่านแดนถาวรด้าน จังหวัดเชียงราย ตาก และระนอง[4] ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2540 พร้อมกันกับจุดผ่านแดนถาวรสะพานข้ามแม่น้ำสาย (แห่งที่ 1) และจุดผ่านแดนถาวรระนอง

สำหรับตัวอาคารด่านพรมแดนแม่สอด ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณจุดผ่านแดนถาวรบ้านริมเมยหลังปัจจุบัน เริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2541 และก่อสร้างแล้วเสร็จวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2542 แต่เนื่องจากขณะนั้นประเทศพม่าได้ประกาศปิดด่านชั่วคราว และเปิดด่านอีกครั้งในช่วงปลายปี พ.ศ. 2542 ตัวอาคารจึงได้ทำพิธีเปิดทำการอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2543 โดยนายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้น พร้อมด้วยอธิบดีกรมศุลกากรเป็นผู้ทำพิธีเปิด ตัวอาคารมีเนื้อที่ 302 ตารางเมตร ลักษณะเป็นตัวยูคว่ำ ประกอบไปด้วยด่านศุลกากร ด่านตรวจคนเข้าเมือง ด่านควบคุมโรค และด่านกักกันพืชและสัตว์[5]

การผ่านแดน แก้

จุดผ่านแดนถาวรบ้านริมเมย เปิดทำการตั้งแต่เวลา 05.30 - 20.30 น. (เวลา 05.00 - 20.00 น. ตามเวลาประเทศพม่า)[1][6] สำหรับผู้ที่ต้องการจะเดินทางผ่านแดนนั้นจะต้องมีเอกสารประจำตัว อย่างใดอย่างหนึ่ง[7] คือ

  • หนังสือเดินทาง (Passport) จะต้องผ่านการตรวจลงตราจากทางการพม่าเท่านั้นจึงจะเดินทางผ่านแดนทางบกเข้าไปได้[8]
  • บัตรผ่านแดน (Border Pass) สำหรับบุคคลสัญชาติไทย ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ของอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มีอายุการใช้งานนับตั้งแต่เริ่มทำ 2 ปี โดยสามารถใช้ผ่านแดนได้ผ่านทางช่องทางจุดผ่านแดนถาวรบ้านริมเมยเท่านั้น[7]
  • บัตรผ่านแดนชั่วคราว (Temporary Border Pass) สำหรับบุคคลสัญชาติไทย ที่มีภูมิลำเนาอยู่นอกพื้นที่ของอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก สามารถใช้ได้เพียง 1 ครั้ง โดยสามารถใช้ผ่านแดนได้ผ่านทางช่องทางจุดผ่านแดนถาวรบ้านริมเมยเท่านั้น[7]

กิจกรรม แก้

 
ที่ทำการด่านพรมแดนฝั่งเมืองเมียวดี ประเทศพม่า

จุดผ่านแดนถาวรบ้านริมเมย มีตลาดการค้าชายแดนชื่อว่า ตลาดริมเมย[9] ตั้งอยู่ติดจุดผ่านแดนถาวรบ้านริมเมย มีสินค้าพื้นเมืองทั้งจากฝั่งไทยและพม่าจำหน่าย อาทิ ปลาแห้ง หน่อไม้แห้ง ปลาหัวยุ่ง เครื่องหนัง ผ้าซาติน รวมถึงยังเป็นตลาดการค้าสินค้าอัญมณีจากพม่า[9] นอกจากนี้ในฝั่งพม่ายังมีบ่อนกาสิโนและสถานบันเทิงต่าง ๆ เปิดให้บริการ[10]

ด่านศุลกากร แก้

ด่านพรมแดนแม่สอด แห่งที่ 1 จุดผ่านแดนถาวรบ้านริมเมย อยู่ภายใต้การดูแลของด่านศุลกากรแม่สอด ตั้งอยู่ที่เลขที่ 287 หมู่ 1 ถนนสายเอเซีย ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก[5]

ด่านตรวจคนเข้าเมือง แก้

จุดผ่านแดนถาวรบ้านริมเมย อยู่ภายใต้การดูแลรับผิดชอบของตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดตาก[11]

การเดินทาง แก้

 
แม่น้ำเมยและสะพานมิตรภาพไทย–พม่า แห่งที่ 1 (แม่สอด–เมียวดี)

จุดผ่านแดนถาวรบ้านริมเมย สามารถเดินทางได้ด้วยเส้นทางรถยนต์ และขนส่งมวลชนในท้องถิ่น เพื่อผ่านแดนไปยังประเทศพม่า

เส้นทาง แก้

จากจังหวัดตาก เดินทางตามถนนพหลโยธิน มาทางใต้ และเลี้ยวที่แยกตะวันตกแยกตากแม่สอด มาตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 จะพบจุดผ่านแดนถาวรบ้านริมเมย และสะพานมิตรภาพไทย–พม่า แห่งที่ 1 (แม่สอด–เมียวดี) อยู่ที่ปลายทาง

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเวลาเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านริมเมย ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก". คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "ไทยและเมียนมาร่วมมือส่งผู้หนีภัยการสู้รบจากเมียนมา กลุ่มที่ ๔ กลับเมียนมาโดยสมัครใจ เมื่อวันที่ ๑ – ๓ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ที่จังหวัดตาก จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดแม่ฮ่องสอน". กระทรวงการต่างประเทศ.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "ประวัติด่านศุลกากรแม่สอด - ด่านศุลกากรแม่สอด". maesot.customs.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปิดจุดผ่านแดนถาวรด้าน จังหวัดเชียงราย ตาก และระนอง. เก็บถาวร 2022-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เล่มที่ 114 ตอนพิเศษ 71 ง, วันที่ 13 สิงหาคม 2540 หน้า 52
  5. 5.0 5.1 "ด่านพรมแดนแม่สอด แห่งที่ 1 - ด่านศุลกากรแม่สอด". maesot.customs.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "ข้อมูลช่องทางผ่านแดนและความตกลงเรื่องการสัญจรข้ามแดน - ตารางจุดผ่านแดนทั่วประเทศ 7 พ.ย. 2562 (ด้านเมียนมา)". www.fad.moi.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. 7.0 7.1 7.2 JJ (2015-12-10). "วิธีทำหนังสือผ่านแดนชั่วคราว ด่านแม่สอด-เมียวดี". 2Baht Travel.
  8. "จะข้ามไปพม่าผ่านทางแม่สอดมีแค่พาสปอทข้ามได้เลยมั้ยคะ". Pantip.
  9. 9.0 9.1 "ตลาดริมเมย". thai.tourismthailand.org (ภาษาอังกฤษ).
  10. "จับแทบทุกวัน! ทั้งชายหญิงไทยกลับจากบ่อน-แหล่งบันเทิงเมียวดี ลอบข้ามแดนเข้าไทยไม่หยุด". mgronline.com. 2021-03-06.
  11. "เด้ง ผกก.ตม.ด่านตาก สังเวย'2อุยกูร์'แหกห้องขัง". สยามรัฐ. 2020-10-16.