จาฤก กัลย์จาฤก
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด22 มิถุนายน พ.ศ.2496
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
บิดาประดิษฐ์ กัลย์จาฤก
มารดาสมสุข กัลย์จาฤก
บุตรปิยะรัฐ กัลย์จาฤก
กัลป์ กัลย์จาฤก
อาชีพผู้ผลิตสื่อบันเทิง

ประวัติ

แก้

จาฤก กัลย์จาฤก เป็นบุตรคนที่ 2 ของประดิษฐ์ สมสุข กัลย์จาฤก มีพี่น้อง 5 คน ได้แก่

  • นายสิทธานต์ กัลย์จาฤก (เสียชีวิต)
  • นายจาฤก กัลย์จาฤก
  • ผศ.ปนัดดา ธนสถิตย์
  • นายนิรัตติศัย กัลย์จาฤก (เสียชีวิต)
  • นางจิตรลดา กัลย์จาฤก

จาฤก ช่วยงานห้องบันทึกเสียงละครวิทยุที่บ้าน ด้วยการทำหน้าที่บันทึกเสียง ใส่เพลงและเสียงประกอบ ตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนชั้นประถม แต่เมื่อจบการศึกษา ด้าน Communication Maintenance จากศูนย์การบินพลเรือน จาฤกกลับเลือกที่จะทำงานด้านการตลาดแทนด้านอิเล็กทรอนิกส์การสื่อสารที่เรียนมา โดยเริ่มจากการขายโฆษณาหน้าหนังสือพิมพ์ประชาธิปไตย และนิตยสารฟอร์มูล่ายานยนตร์ และเมื่อละครวิทยุกลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งหลังรัฐบาลอนุญาตให้มีโฆษณาทางวิทยุได้ จาฤกก็ขยายธุรกิจครอบครัว ด้วยการเช่าสถานีวิทยุในต่างจังหวัดนับร้อยสถานี กอปปี้ละครวิทยุของกันตนา ส่งออกอากาศพร้อม ๆ กันทั่วประเทศ โดยเสนอให้สปอนเซอร์เหมาจ่ายโฆษณาเป็นรายปี

เมื่อปนัดดา กัลย์จาฤก ผู้เป็นน้องสาว ได้รับการชักชวนจากอาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ให้ตั้งคณะละครโทรทัศน์ “ส่งเสริมศิลปิน” จาฤกจึงใช้ประสบการณ์ด้าน อิเล็กทรอนิคส์การสื่อสาร การตลาดและความกล้าคิดกล้าทำ บุกเบิกธุรกิจโทรทัศน์ของกันตนา จนประสบความสำเร็จมาจนถึงทุกวันนี้ [1]

ปัจจุบัน จาฤก กัลย์จาฤก ดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการ บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และยังคงบุกเบิกความทันสมัยให้กับอุตสาหกรรมบันเทิงของกันตนา โดยจัดตั้งบริษัท Kantana Holding ที่รวมธุรกิจโพสต์โปรดักชั่น เสียง และแอนิเมชั่น เข้ามาอยู่ในกลุ่มบริษัทเดียวกัน เพื่อให้การลงทุนเทคโนโลยี และการพัฒนาประสบการณ์ด้าน อิมเมอร์ซีฟ ครอบคลุมในทุกด้าน[2] ดำเนินโครงการพัฒนา บริษัท กันตนา แลบบอแลทอรี่ จำกัด หรือ ฟิล์มแล็บ เดิม ที่ปิดตัวลงเนื่องจาก เทคโนโลยีการผลิตภาพยนตร์เปลี่ยนเป็นระบบดิจิทัล ให้เป็นพิพิธภัณฑ์ส่งต่อความรู้ด้าน ฟิล์มโพสท์โพรดักชันให้กับผู้ที่สนใจ[3] และ โครงการก้านกล้วยแลนด์​ ที่จะเป็นพื้นที่สันทนาการสำหรับเด็กๆ และครอบครัว บนพื้นที่ สถาบันกันตนา ในกันตนามูวี่ทาวน์

ตำแหน่งปัจจุบัน[4]

แก้

คุณวุฒิทางการศึกษา[5]

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับ

แก้

เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์

รางวัลที่ได้รับ[6]

แก้
  • รางวัล Asia Pacific Copyright Educator (A.C.E.) Award ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2557
  • รางวัลสุพรรณหงส์เกียรติยศ พ.ศ. 2557
  • รางวัล ดาราอวอร์ดครั้งที่ 2 เพื่อเชิดชูและยกย่องผู้บำเพ็ญประโยชน์ มีคุณธรรม รวมถึงเป็นต้นแบบการใช้ชีวิตที่ดีงาม และทำงานเกื้อกูลสังคม พ.ศ.2556
  • รางวัลช่อสะอาดสำหรับบุคคล/องค์กร ที่มีผลงานสร้างสรรค์สื่อดีเด่นด้านสนับสนุนและส่งเสริมป้องกันและปราบปรามการทุจริต ปี พ.ศ. 2558

อ้างอิง

แก้
  1. ข้อมูลจาก นายบินหลา สันการาคีรี
  2. https://kantana.com/public/content/documents/report/Annual%20Report%202022%20Final.pdf
  3. https://kantana.ac.th/th/news-de.php?ic=1&is=0&id=867
  4. //kantana.com/public/content/documents/report/Annual%20Report%202022%20Final.pdf
  5. Kantana Annual Report 2022
  6. ศูนย์ข้อมูลกันตนา