จันลูกา วีอัลลี

(เปลี่ยนทางจาก จานลูกา วิอัลลี)

จันลูกา วีอัลลี OMRI (อิตาลี: Gianluca Vialli; 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1964 – 6 มกราคม ค.ศ. 2023) เป็นอดีตผู้จัดการทีมและนักฟุตบอลชาวอิตาลีในตำแหน่งกองหน้า เขาเริ่มต้นอาชีพกับสโมสรบ้านเกิดอย่างเครโมเนเซใน ค.ศ. 1980 โดยเขาได้ลงเล่นในลีก 105 นัด ยิงได้ 23 ประตู ผลงานอันยอดเยี่ยมของเขาทำให้ซัมป์โดเรียซื้อเขามาใน ค.ศ. 1984 เขาได้ลงเล่นในลีกให้แก่ซัมป์โดเรียทั้งสิ้น 85 นัด และยังพาทีมชนะเลิศอิตาเลียนคัพสามสมัย เซเรียอาหนึ่งสมัย และยูโรเปียนคัพวินเนอร์สคัพอีกหนึ่งสมัย

จันลูกา วีอัลลี
OMRI
วีอัลลีใน ค.ศ. 2017
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม จันลูกา วีอัลลี[1]
วันเกิด 9 กรกฎาคม ค.ศ. 1964(1964-07-09)[2]
สถานที่เกิด เครโมนา อิตาลี[2]
วันเสียชีวิต 6 มกราคม ค.ศ. 2023(2023-01-06) (58 ปี)
สถานที่เสียชีวิต ลอนดอน อังกฤษ
ส่วนสูง 1.80 เมตร (5 ฟุต 11 นิ้ว)[2]
ตำแหน่ง กองหน้า
สโมสรเยาวชน
1973–1978 ปิซซีเกตโตเน
1978–1980 เครโมเนเซ
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
1980–1984 เครโมเนเซ 105 (23)
1984–1992 ซัมป์โดเรีย 223 (85)
1992–1996 ยูเวนตุส 102 (38)
1996–1999 เชลซี 58 (21)
รวม 488 (167)
ทีมชาติ
1983–1986 อิตาลี อายุไม่เกิน 21 ปี 20 (11)
1985–1992 อิตาลี 59 (16)
จัดการทีม
1998–2000 เชลซี
2001–2002 วอตฟอร์ด
2019–2022 อิตาลี (ผู้ช่วย)
เกียรติประวัติ
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

ค.ศ. 1992 วีอัลลีย้ายไปยูเวนตุสด้วยค่าตัว 12.5 ล้านปอนด์อันเป็นสถิติโลก ณ ตอนนั้น ระหว่างที่เล่นให้แก่สโมสรยักษ์ใหญ่แห่งตูริน เขาพาทีมชนะเลิศอิตาเลียนคัพ เซเรียอา อิตาเลียนซูเปอร์คัพ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก และยูฟ่าคัพ ต่อมาใน ค.ศ. 1996 วีอัลลีย้ายไปร่วมทีมเชลซีและได้รับตำแหน่งผู้เล่น-ผู้จัดการทีมในฤดูกาลถัดมา ช่วงเวลาที่อยู่ในอังกฤษนั้น เขาพาเชลซีชนะเลิศเอฟเอคัพ ลีกคัพ ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ และยูฟ่าซูเปอร์คัพ เขาเป็นหนึ่งในผู้เล่นเพียงเก้าคนที่ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลยุโรปครบทั้งสามรายการหลัก และเป็นผู้เล่นในตำแหน่งกองหน้าเพียงคนเดียวที่ทำเช่นนั้นได้ เขายังเป็นผู้เล่นเพียงคนเดียวที่ได้ตำแหน่งชนะเลิศและรองชนะเลิศของการแข่งขันฟุตบอลยุโรปทั้งสามรายการหลักเช่นกัน ซึ่งรวมถึงการชนะเลิศยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพสองสมัยด้วย

ระดับทีมชาติ วีอัลลีเป็นตัวแทนของทีมชาติอิตาลีในการแข่งขันฟุตบอลโลกสองครั้ง (1986 และ 1990 ซึ่งอิตาลีเป็นเจ้าภาพ) เขายังเป็นส่วนหนึ่งของทีมชาติชุดที่เข้ารอบรองชนะเลิศในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1988 และมีชื่อติดทีมยอดเยี่ยมประจำทัวร์นาเมนต์นั้น ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ลงเล่นในระดับอาชีพ เขาทำประตูในระดับสโมสร 259 โลก และทำประตูในระดับทีมชาติ 16 ประตู และยังทำ 11 ประตูให้แก่ฟุตบอลทีมชาติอิตาลีรุ่นอายุไม่เกิน 21 ปี รวมแล้ว เขาทำ 286 ประตูจากการลงเล่นมากกว่า 500 นัด ทำให้เขากลายเป็นนักฟุตบอลชาวอิตาลีที่ทำประตูได้มากเป็นอันดับที่ 10 ของตลอดกาล[3]

หลังจากเลิกเล่นฟุตบอล เขาผันตัวไปเป็นผู้จัดการทีมและนักวิจารณ์ฟุตบอล รวมถึงเป็นผู้บรรยายรายการของสกายอีตาเลีย[4] เขาเป็นทีมงานของทีมชาติอิตาลีชุดที่ชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 ก่อนที่เขาจะอำลาตำแหน่งและเสียชีวิตจากมะเร็งตับอ่อน[5]

สถิติอาชีพ แก้

สโมสร แก้

การลงเล่นและประตูแบ่งตามสโมสร ฤดูกาล และรายการแข่งขัน[6]
สโมสร ฤดูกาล ลีก ถ้วย ซูเปอร์คัพ/
ลีกคัพ
ทวีป อื่น ๆ
ระดับ ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู
เครโมเนเซ 1980–81 เซเรียซี1 2 0 0 0 0 0 2 0
1981–82 เซเรียบี 31 5 1 0 0 0 32 5
1982–83 35 8 2 0 0 0 37 8
1983–84 37 10 5 2 0 0 42 12
รวม 105 23 8 2 0 0 0 0 113 25
ซัมป์โดเรีย 1984–85 เซเรียอา 28 3 13 6 0 0 41 9
1985–86 28 6 7 2 4 0 39 8
1986–87 28 12 5 4 0 0 33 16
1987–88 30 10 13 3 0 0 43 13
1988–89 30 14 14 13 1 1 7 5 52 33
1989–90 22 10 2 2 1 0 8 7 33 19
1990–91 26 19 7 3 0 0 4 1 37 23
1991–92 31 11 6 3 1 0 11 6 49 20
รวม 223 85 67 36 3 1 34 19 327 141
ยูเวนตุส 1992–93 เซเรียอา 32 6 7 2 0 0 10 5 49 13
1993–94 10 4 0 0 0 0 2 0 12 4
1994–95 30 17 7 3 0 0 9 2 46 22
1995–96 30 11 0 0 1 1 7 2 38 14
รวม 102 38 14 5 1 1 28 9 145 53
เชลซี 1996–97 พรีเมียร์ลีก 28 9 5 2 1 0 0 0 34 11
1997–98 21 11 1 2 4[7] 0 8 6 34 19
1998–99 9 1 3 2 3 6 5 1 20 10
รวม 58 21 9 6 8 6 13 7 88 40
รวมทั้งหมด 488 167 98 49 12 8 75 35 673 259

ทีมชาติ แก้

การลงเล่นและประตูแบ่งตามทีมชาติและปี[8]
ทีมชาติ ปี ลงเล่น ประตู
อิตาลี 1985 1 0
1986 10 0
1987 10 5
1988 11 5
1989 10 1
1990 3 0
1991 8 3
1992 6 2
รวม 59 16

สถิติการจัดการทีม แก้

ทีม ตั้งแต่ ถึง สถิติ
แข่ง ชนะ แพ้ เสมอ ร้อยละที่ชนะ
เชลซี 12 กุมภาพันธ์ 1998 12 กันยายน 2000 143 76 29 38 53.15
วอตฟอร์ด 1 มิถุนายน 2001 14 มิถุนายน 2002 52 20 21 11 38.46
รวม 195 96 50 49 049.23

เกียรติประวัติ แก้

ผู้เล่น แก้

ซัมป์โดเรีย[9]

ยูเวนตุส[9]

เชลซี[9]

อิตาลี

รางวัลส่วนบุคคล

  • ผู้ทำประตูสูงสุดในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป รุ่นอายุไม่เกิน 21 ปี: 1986 (4 ประตู)[12]
  • ทีมยอดเยี่ยมในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป: 1988[13]
  • ผู้ทำประตูสูงสุดในโกปปาอีตาเลีย: 1988–89 (13 ประตู)[14]
  • ผู้ทำประตูสูงสุดในยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ: 1989–90 (7 ประตู)[15]
  • ผู้ทำประตูสูงสุดในเซเรียอา: 1990–91 (19 ประตู)[16]
  • ผู้เล่นยอดเยี่ยมแห่งปีโดยนิตยสารเวิลด์ซอกเกอร์: 1995[17]
  • หอเกียรติยศฟุตบอลอิตาลี: 2015[18]
  • Premio internazionale Giacinto Facchetti: 2018[19]

ผู้จัดการทีม แก้

เชลซี[20][21]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Vialli Sig. Gianluca" [Vialli Mr. Gianluca]. Quirinale (ภาษาอิตาลี). Presidenza della Repubblica Italiana. สืบค้นเมื่อ 13 December 2020.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Vialli: Gianluca Vialli: Manager". BDFutbol. สืบค้นเมื่อ 22 December 2017.
  3. "Di Natale punta i 300 gol in carriera: è a 293 dopo la quaterna in Coppa Italia". tribunasportiva.blogspot.it (ภาษาอิตาลี). 26 August 2014. สืบค้นเมื่อ 28 April 2015.
  4. Perrone, Roberto (21 January 2007). "firmato VIALLI "Il calcio è femmina: fedele in Inghilterra, vanitosa da noi"" (ภาษาอิตาลี). Il Corriere della Sera. สืบค้นเมื่อ 21 May 2015.
  5. "Gianluca Vialli leaves role with Italy national team". CNN. 14 December 2022.
  6. "Gianluca Vialli – Goals in International Matches". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 September 2013. สืบค้นเมื่อ 10 September 2013.
  7. ลงเล่นในเอฟเอแชริตีชีลด์ 1 นัด
  8. "Nazionale in cifre: Vialli, Gianluca". figc.it (ภาษาอิตาลี). FIGC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 February 2011. สืบค้นเมื่อ 22 April 2015.
  9. 9.0 9.1 9.2 "Gianluca Vialli". Eurosport. สืบค้นเมื่อ 20 December 2015.
  10. 1994–95 All matches UEFA Cup – season at UEFA website*Official Site
  11. 1990 FIFA World Cup Italy, FIFA
  12. "1986: Spagna di rigore sull'Italia" (ภาษาอิตาลี). UEFA. สืบค้นเมื่อ 18 January 2015.
  13. "1988 team of the tournament". UEFA. 19 September 2011. สืบค้นเมื่อ 5 June 2015.
  14. Roberto Di Maggio; Davide Rota (4 June 2015). "Italy – Coppa Italia Top Scorers". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2015. สืบค้นเมื่อ 5 June 2015.
  15. Jarek Owsianski; Davide Rota (18 December 2013). "Cup Winners Cup Topscorers". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 20 November 2015.
  16. Roberto Di Maggio; Igor Kramarsic; Alberto Novello (11 June 2015). "Italy – Serie A Top Scorers". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 October 2015. สืบค้นเมื่อ 2 December 2015.
  17. Jamie Rainbow (14 December 2012). "World Soccer Awards – previous winners". World Soccer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 June 2016. สืบค้นเมื่อ 21 November 2015.
  18. "Hall of fame, 10 new entry: con Vialli e Mancini anche Facchetti e Ronaldo" [Hall of fame, 10 new entries: with Vialli and Mancini also Facchetti and Ronaldo] (ภาษาอิตาลี). La Gazzetta dello Sport. 27 October 2015. สืบค้นเมื่อ 27 October 2015.
  19. Gianluca Pasini (25 February 2019). "Candido-Day, a Vialli il Premio Facchetti: "Il cancro? Non mollo. Grato al calcio"" (ภาษาอิตาลี). La Gazzetta dello Sport. สืบค้นเมื่อ 25 February 2019.
  20. Paolo Menicucci (21 May 2008). "Vialli tips Chelsea for greatness". UEFA. สืบค้นเมื่อ 2 March 2017.
  21. "Hall of Fame del Calcio Italiano: 2015 Incudctees". FIGC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2017. สืบค้นเมื่อ 2 March 2017.
  22. "Onoreficenze". quirinale.it (ภาษาอิตาลี). 30 September 1991. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2015. สืบค้นเมื่อ 19 March 2015.
  23. "Mattarella ha conferito onorificenze motu proprio ai giocatori e allo staff della Nazionale vincitrice del campionato europeo" (ภาษาอิตาลี). quirinale.it. 16 July 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-16. สืบค้นเมื่อ 2023-01-20.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้